ทศาวตาร (สันสกฤต: दशावतार, daśāvatāra) หมายถึง อวตารหลักทั้งสิบปางของพระวิษณุ เทพเจ้าในศาสนาฮินดู คำว่าทศาวตาร เป็นคำสมาสของคำว่า ทศ หมายถึง สิบ และ อวตาร หมายถึง การแบ่งภาคมาเกิด.

ภาพอวตารของพระวิษณุ โดยราชา รวิ วรรมา วาดในช่วงศตวรรษที่ 19.

รายละเอียด แก้

อวตาร ลำดับ ยุค[1]
มัตสยา 1 สัตยยุค
กูรมา 2
วราหะ 3
นรสิงห์ 4
วามนา 5 เตรตายุค
ปรศุราม 6
พระราม 7
พลราม (8) ทวาปรยุค
กฤษณะ (8, 9)
พระโคตมพุทธเจ้า (9) กลียุค
กัลกิ 10

นิรุกติศาสตร์ แก้

คำว่าทศาวตาร เป็นคำสมาสของคำว่า ทศ หมายถึง สิบ และ อวตาร หมายถึง การแบ่งภาคมาเกิด.

นี่คือจำนวนภาคที่พระวิษณุแบ่งภาคมาเกิดในยุคต่างๆ.

สัตยยุค - มีอยู่ 4 (มัตสยา, กูรมา, วราหะ และนรสิงห์)

เตรตายุค - มีอยู่ 3 (วามนา, ปรศุราม และพระราม)

ทวาปรยุค - มีอยู่ 1 (กฤษณะ)

กลียุค - มีอยู่ 1 และกำลังจะมีอีก 1 (พระโคตมพุทธเจ้า และกัลกิ)

ปางอวตาร แก้

 
อวตารลำดับที่ 1 ถึง 5 ในทศาวตารบนโคปุรัมของอุทุมปีมนเทียร กรณาฏกะ

รายชื่อยาว แก้

ในภาควัตปุราณะ ได้บอกว่า พระวิษณุมีอวตารไม่สิ้นสุดเพื่อรักษากฎของจักรวาล อย่างไรก็ตาม ก็มีอวตารของพระวิษณุอยู่ 22 อวตารในตอนที่ 1.3. [5]

  1. สี่กุมาร (Catursana) [BP 1.3.6]
  2. วราหะ [BP 1.3.7]
  3. ฤๅษีนารทมุนี [BP 1.3.8]
  4. นร-นารายณ [BP 1.3.9]
  5. กปิลมุณี [BP 1.3.10]
  6. พระทัตตาเตรยะ [BP 1.3.11]
  7. ยัชญเทพ [BP 1.3.12]
  8. ฤษภเทพ [BP 1.3.13] 
  9. ปฤถุ [BP 1.3.14]
  10. มัตสยะ [BP 1.3.15]
  11. กูรมะ [BP 1.3.16]
  12. ธันวันตรีแพทย์ [BP 1.3.17] 
  13. โมหิณี [BP 1.3.17] 
  14. นรสิงห์ [BP 1.3.18]
  15. วามนะ [BP 1.3.19]
  16. ปรศุราม [BP 1.3.20]
  17. พระราม [BP 1.3.22]
  18. ฤๅษีวยาส [BP] 1.3.21]
  19. พลราม [BP 1.3.23]
  20. กฤษณะ [BP 1.3.23]
  21. พระโคตมพุทธเจ้า [BP 1.3.24]
  22. กัลกิ [BP 1.3.25]

พระวิษณุมีอยู่ 39 อวตารในคัมภีร์ปัญจตระ เช่น ครุฑ[6][7] อย่างไรก็ตาม ได้มีการจัดการใหม่จนเหลือสิบอวตารในช่วงก่อนศตวรรษที่ 10[8]

ตามการวิวัฒนาการ แก้

นักเทวญาณชื่อว่า Helena Blavatsky ได้อธิบายเกี่ยวกับทศาวตารดังนี้:[9][10]

  • มัตสยะ - ปลา ขั้นแรกของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (รวมถึงบรรพบุรุษปลาในยุคไซลูเรียน)
  • กูรมะ - สัตว์ที่อาศัยได้ทั้งบนบกและใต้น้ำ อย่าสับสนกับสัตว์มีกระดูกสันหลัง (รวมถึงบรรพบุรุษสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในยุคดีโวเนียน)[9][10]
  • วราหะ -  สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในป่า (รวมถึงบรรพบุรุษสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในยุคไทรแอสซิก)[10]
  • นรสิงห์ - เป็นครึ่งสัตว์ครึ่งมนุษย์[9][10]
  • วามนะ - ตัวเตี้ย อาศัยอยู่ก่อนที่มนุษย์จะถือกำเนิด
  • ปรศุราม - มนุษย์ยุคแรกที่อาศัยในป่าและใช้อาวุธเป็น
  • พระราม - มนุษย์เริ่มอยู่กันเป็นสังคม เป็นจุดเริ่มต้นของประชาสังคม
  • กฤษณะ - มนุษย์เริ่มมีการใช้งานสัตว์ และการเมือง[9][10]
  • พระโคตมพุทธเจ้า - มนุษย์ต้องการปัญญา
  • กัลกิ - สิ่งมีชีวิตที่มีการทำลายล้างสูง[9][10]

Monier Monier-Williams ก็มีทัศนคติเหมือนกัน [11]  ส่วน J. B. S. Haldane อธิบายว่า ทศาวตารได้อธิบายเรื่องการวิวัฒนาการในแบบหยาบๆ : ปลา, เต่า, หมูป่า, ครึ่งมนุษย์ครึ่งสัตว์, คนแคระ และมนุษย์ทั้งสี่ (กัลกิยังไม่เกิด).[12] และ C. D. Deshmukh อธิบายว่ามีความคล้ายคลึงกันระหว่างทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินและทศาวตาร[13]

อ้างอิง แก้

  1. J.P. VASWANI (2017). Dasavatara. Jaico Publishing House. pp. 12–14.
  2. 2.0 2.1 Carman 1994.
  3. 3.0 3.1 Wuaku 2013.
  4. Literature review of secondary references of Buddha as Dashavatara which regard Buddha to be part of standard list:
  5. Bhag-P 1.3 เก็บถาวร 2013-05-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Canto 1, Chapter 3
  6. Sullivan 2001, p. 32.
  7. Schrader, Friedrich Otto (1916). Introduction to the Pāñcarātra and the Ahirbudhnya saṃhitā. Adyar Library. p. 42.
  8. Mishra, Vibhuti Bhushan (1973). Religious beliefs and practices of North India during the early mediaeval period, Volume 1. BRILL. pp. 4–5. ISBN 978-90-04-03610-9.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 Nanda, Meera (19 November 2010). "Madame Blavatsky's children: Modern Hinduism's encounters with Darwinism". ใน James R. Lewis; Olav Hammer (บ.ก.). Handbook of Religion and the Authority of Science. BRILL. pp. 308–309, context 279–344. ISBN 978-90-04-18791-7.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 Brown, C. Mackenzie (June 2007). "The Western roots of Avataric Evolutionism in colonial India". Zygon. 42 (2): 423–448. doi:10.1111/j.1467-9744.2007.00423.x.
  11. Brown, C Mackenzie (19 November 2010). "Vivekananda and the scientific legitimation of Advaita Vedanta". ใน James R. Lewis; Olav Hammer (บ.ก.). Handbook of Religion and the Authority of Science. BRILL. p. 227. ISBN 978-90-04-18791-7.
  12. "Cover Story: Haldane: Life Of A Prodigious Mind". Science Reporter. 29: 46. 1992.
  13. Chintaman Dwarkanath Deshmukh (1972). Aspects of Development. Young Asia Publication. p. 33.

เว็บที่เชื่อมโยง แก้