ต่อมขี้หู (อังกฤษ: ceruminous gland) เป็นต่อมเหงื่อพิเศษใต้หนังส่วน 1/3 ด้านนอกของช่องหู เป็นต่อมไม่ซับซ้อน มีรูปขด เป็นท่อ ประกอบด้วยเซลล์หลั่ง (secretory cell) ชั้นใน และเซลล์ผิวหนังกล้ามเนื้อ (myoepithelial cell)[A] ชั้นนอก[1] จัดเป็นต่อม apocrine ต่อมจะหลั่งสารออกที่ท่อซึ่งใหญ่กว่า ซึ่งก็หลั่งออกที่ขนป้องกัน (guard hair) ในช่องหูชั้นนอก[2] แล้วผสมกับไขผิวหนัง (sebum) พร้อมเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว กลายเป็นขี้หู ขี้หูช่วยรักษาให้แก้วหูยืดหยุ่นได้ ช่วยหล่อลื่นและทำความสะอาดช่องหูชั้นนอก กันน้ำ ฆ่าแบคทีเรีย เคลือบขนป้องกันหูทำให้เหนียวและช่วยจับสิ่งแปลกปลอม (ฝุ่น สปอร์เชื้อรา เป็นต้น)[1]

ต่อมเหล่านี้อาจเกิดทั้งเนื้องอกไม่ร้ายและเนื้องอกร้าย เนื้องอกไม่ร้ายรวมทั้ง ceruminous adenoma, ceruminous pleomorphic adenoma และ ceruminous syringocystadenoma papilliferum เนื้องอกร้ายรวมทั้ง ceruminous adenocarcinoma, adenoid cystic carcinoma และ mucoepidermoid carcinoma[2]

เชิงอรรถ แก้

  1. myoepithelial cell หรือ myoepithelium เป็นเซลล์ในหนังต่อม (glandular epithelium) เป็นชั้นบาง ๆ เหนือเยื่อฐาน (basement membrane) แต่ปกติจะอยู่ใต้ luminal cell เซลล์อาจมีใยแอกตินของกล้ามเนื้อเรียบแบบอัลฟา (alpha smooth muscle actin) ที่สามารถหดเกร็งและขับสารหลั่งออกจากต่อมมีท่อ (exocrine gland) เป็นเซลล์ที่พบในต่อมเหงื่อ ต่อมน้ำนม ต่อมน้ำตา และต่อมน้ำลาย

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Saladin, KS (2010). Anatomy and Physiology: The Unity of Form and Function (5th ed.). New York: McGraw-Hill. Ceruminous Glands, p. 204 (220). ISBN 978-0-39-099995-5. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  2. 2.0 2.1 Pathology of Ceruminous Gland Tumors of the External Auditory Canal จาก eMedicine

แหล่งข้อมูลอื่น แก้