ตุลสีในศาสนาฮินดู

พระแม่ตุลสี หรือ พระแม่วฤนทา หรือ พระแม่พฤนทา เป็นเทวีในศาสนาฮินดู ผู้ดูแลและรักษาและสถิตในต้นกะเพราและต้นไม้ที่สำคัญใช้ในพิธีกรรมสักการะบูชาเทวดาในศาสนาฮินดู ได้แก่ พระพิฆเนศ, พระวิษณุ, พระกฤษณะ, หนุมาน ด้วยถือเป็นตัวแทนของพระแม่ลักษมี

พระแม่ตุลสี หรือ พระแม่วฤนทา
เทวรูปพระแม่วรินดาและต้นกะเพราศิลปะอินเดีย
ตำแหน่งตุลสี
ความรัก
ความบริสุทธิ์
จำพวกเทวีในศาสนาฮินดู, พระแม่ลักษมี
อาวุธดอกบัว, นกแก้ว, ตุลสี
สัตว์พาหนะนกแก้ว
คู่ครองชลันธร (ศิวะปุราณะ, รามายณะ)
พระวิษณุ (พรหมไววรรตปุราณะ, วิษณุปุราณะ, มหาภารตะ)
นับถือในอินเดีย
ศาสนา/ลัทธิศาสนาฮินดู
กะเพราในฐานะต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์รูปปรากฏของพระแม่วรินดา

เทพปกรณัม แก้

นางตุลสีกับพระวิษณุ แก้

ในคัมภีร์พรหมไววรรตปุราณะและวิษณุปุราณะ กล่าวว่าเดิมพระลักษมี พระสุรัสวดีและพระแม่คงคาทั้งสามพระองค์เป็นมเหสีของพระวิษณุ ครั้งหนึ่งทั้งสี่พระองค์ประทับอยู่ด้วยกันพระแม่คงคาทรงทอดพระเนตรพระวิษณุด้วยความรัก พระนารายณ์ทรงทอดพระเนตรกลับ ทำให้พระสุรัสวดีไม่พอพระทัย รับสั่งว่าพระวิษณุทรงลำเอียงแล้วทรงบริภาษพระแม่คงคา แต่พระลักษมีทรงห้ามปรามไว้ พระสุรัสวดีจึงทรงสาปพระลักษมีให้ต้องจากเกษียรสมุทรไปเป็นชายาของอสูรและกลายรูปเป็นกระเพราและแม่น้ำคัณฑกี พระแม่คงคาจึงทรงสาปพระสุรัสวดีให้ลงจากเทวโลกมาเป็นแม่น้ำสรัสวดีและต้องแห้งเหือดหายไปจากชมพูทวีป พระสุรัสวดีจึงทรงสาปพระแม่คงคาให้ลงจากเทวโลกมาเป็นแม่น้ำคงคาและคอยล้างบาปและพัดพาสิ่งสกปรกของมนุษย์เช่นกัน[1] ความทราบถึงพระนารายณ์จึงทรงถวายพระสุรัสวดีแด่พระพรหมและพระแม่คงคาแด่พระศิวะก่อนเทวีทั้งสามลงจากเทวโลกมาสถิตในชมพูทวีป[2] หลังจากนั้นพระลักษมีทรงมาจุติเป็นราชกุมารีของอสูรกาลเนมิ และอภิเษกกับอสูร ชลันธร ต่อมาเมื่ออสูรชลันธรก่อศึกกับเทวโลกและล่วงเกินพระปารวตี พระนางพิโรธมากจึงทูลขอให้พระนารายณ์ทำลายอสูรตนนี้[3] โดยพระวิษณุทรงเนรมิตพระองค์เป็นชลันธรร่วมอภิรมย์สังวาสกับนาง ด้วยอำนาจของตบะสมาธิแห่งนางวฤนทาทราบเข้าจึงสาปให้พระวิษณุกลายรูปเป็นหิน ศาลิรามต้องลงไปเกิดเป็นมนุษย์เข้าสู้รบกับรากษสโดยมีวานรช่วยเหลือ คณะเทวีและพระพรหมจึงปรากฏพระองค์และทูลขอชีวิตขององค์พระวิษณุโดยนางวฤนทาใช้ตบะ สมาธิทำลายร่างของตนด้วยพิธีสตีจนเหลือแต่เถ้าถ่าน คณะเทวีและพระพรหมจึงประทานพรให้นางวฤนทาปรากฏรูปเป็นกระเพราและแม่น้ำคัณฑกีพร้อมกับได้รับการบูชาในฐานะเทวี

ตุลสีเทวีกับพระคเณศ แก้

ในคเณศปุราณะ กล่าวว่าขณะที่พระคเณศกำลังทรงตบะ สมาธิบริเวณแม่น้ำคงคามีเจ้าหญิงนามว่าธรรมวาจา (en:Dharmadwaja) เกิดทอดพระเนตรเห็นและหลงรักพระคเณศเข้า แต่พระคเณศปฏิเสธ นางจึงสาปพระคเณศให้ต้องอภิเษกสมรส พระคเณศจึงสาปนางกลับให้นางเป็นกะเพราและห้ามนำใบไม้ชนิดนี้มาสักการะบูชาพระองค์นอกจากในเทศกาลคเณศจตุรถีเท่านั้น[4] ในอวตารทั้งแปดภาคของพระคเณศครั้งปราบอสูรวิกฏะ (en:Vikata) อันเกิดจากความลุ่มหลงแห่งพระวิษณุและนางวฤนทา

ตุลสีเทวีกับหนุมาน แก้

ในคัมภีร์รามายณะ หลังจากพระรามเสร็จการศึกในนครลงกาและเสด็จนิวัติสู่อโยธยาแล้ว พระนางสีดาทรงประทานขนมเลี้ยงหนุมาน แต่หนุมานทานเข้าไปไม่รู้จักอิ่ม พระนางสีดาจึงทูลขอคำแนะนำจากพระราม พระรามจึงทรงประทานใบตุลสีแด่หนุมานทำให้หนุมานอิ่มในทันที โดยแต่นั้นต่อมาชาวฮินดูจึงถวายตุลสีแด่หนุมานจากเหตุการณ์ในครั้งนี้[5]

ตุลสีเทวีกับพระกฤษณะ แก้

ในคัมภีร์พรหมไววรรตปุราณะและวิษณุปุราณะ กล่าวต่อว่าหลังจากพระวิษณุทรงอวตารเป็นพระกฤษณะและทรงนครทวารกาแล้ว ทรงอภิเษกชายาทั้งหมื่นหกพันองค์และมเหสีอีกแปดพระองค์ และทรงอวตารแบ่งภาคให้อยู่เท่ากับชายาทุกองค์ แต่พระแม่สัตยภามาไม่พอพระทัยและปราถนาพระกฤษณะพระองค์เดียว จึงทรงถามวิธีจากฤๅษีนารทมุนี ฤๅษีนารทมุนีจึงบอกว่าต้องยกพระกฤษณะให้เป็นศิษย์ของท่านก่อน พระแม่สัตยภามาทรงหลงเชื่อและยกให้เป็นศิษย์ของฤๅษีนารทมุนีและพากลับอาศรมนำไปรับใช้ ทำให้ชายาทั้งหมื่นหกพันองค์และมเหสีองค์อื่น ๆ ปริวิตกและหาวิธีไถ่ตัวพระราชสวามีคืน[6] โดยการจัดพิธีตุลาการบรรดาชายาทั้งหมื่นหกพันองค์และมเหสีอีกเจ็ดองค์ยกเว้นพระแม่รุกขมิณีต่างถวายทรัพย์สมบัติทองคำแด่ฤๅษีนารทมุนีในตุลาการแต่ไม่สามารถขยับได้เสียที จนสมบัติหมดท้องพระคลังพระแม่สัตยภามาจึงทูลถามพระแม่รุกขมิณีถึงวิธีแก้ พระแม่รุกขมิณีจึงให้นำทรัพย์สมบัติทองคำออกจากตุลาการนั้นถวายใบตุลสีในตุลาการนั้น น้ำหนักของตุลาการก็เท่ากับองค์พระกฤษณะและฤๅษีนารทมุนีถึงน้อมรับตุลสีนั้นและถวายพระกฤษณะคืนแด่ชายา ทั้งหมื่นหกพันองค์และมเหสีอีกแปดพระองค์ของพระกฤษณะด้วยเหตุนี้ในธรรมเนียมศาสนาฮินดูจึงมีการถวายใบตุลสีแด่พระกฤษณะอีกพระองค์หนึ่ง[7]

เทศกาลและพิธีกรรม แก้

อ้างอิง แก้

แม่แบบ:โครงฮินดู