ตีตาอัว แซลเมิน

เจ้าหญิงตีตาอัว มารามาแห่งตาฮีตี (Titaua Marama; 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1842 – 25 กันยายน ค.ศ. 1898) หรือ เตตัวนูอี เรเอียอีเตราอีอาเตอา ตีตาอัว แซลเมิน (Tetuanui Reiaitera'iatea Titaua Salmon) เป็นเจ้าหญิงแห่งตาฮีตี ผู้เดินทาง 10,000 ไมล์ จากตาฮีตีไปสกอตแลนด์เมื่อ ค.ศ. 1892[1]

เจ้าหญิงตีตาอัว
เจ้าหญิงตีตาอัวที่เรือนมาฮีนาในตาฮีตี เมื่อ ค.ศ. 1883
ประสูติ3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1842(1842-11-03)
โมโอเรอา ราชอาณาจักรตาฮีตี
สิ้นพระชนม์25 กันยายน ค.ศ. 1898(1898-09-25) (55 ปี)
สกอตแลนด์ จักรวรรดิบริเตน
พระสวามีจอห์น แบรนเดอร์ (ค.ศ. 1859–1877)
จอร์จ ดาร์ซี (ค.ศ. 1878–1898)
พระบุตร15 พระองค์
ราชวงศ์โปมาเร
พระบิดาแอลิกแซนเดอร์ แซลเมิน
พระมารดาเจ้าหญิงอาร์รีโอเอฮาอูแห่งตาฮีตี
ศาสนาโรมันคาทอลิก

พระประวัติ แก้

เจ้าหญิงตีตาอัวประสูติเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1842 ที่ปาเปโตไอ (Papetoai) บนเกาะโมโอเรอา (Mo'orea) ในหมู่เกาะโซไซเอตี เป็นพระธิดาของเจ้าหญิงอาร์รีโอเอฮาอู (Arrioehau) กับแอลิกแซนเดอร์ แซลเมิน (Alexander Salmon)[2][3] พระบิดาเป็นพ่อค้าชาวอังกฤษเชื้อสายยิว และเป็นชาวยิวคนแรกที่ตั้งถิ่นฐานในตาฮีตี[4] เมื่อเจริญชันษาขึ้นก็ดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำแห่งฮาอาปีตี เธอได้พบกับรอเบิร์ต หลุยส์ สตีเวนสัน (Robert Louis Stevenson) นักเขียน และคอนสแตนซ์ กอร์ดอน-คัมมิง (Constance Gordon-Cumming) จิตรกร เมื่อพวกเขามาที่เกาะ[1]

เมื่อพระชันษาได้ 14 ปี เจ้าหญิงตีตาอัวเสกสมรสครั้งแรกกับจอห์น แบรนเดอร์ (John Brander) พ่อค้าชาวสกอตแลนด์[2][3] และประสูติกาลพระโอรส-ธิดาด้วยกัน 9 พระองค์ ต่อมาแบรนเดอร์ถึงแก่กรรมใน ค.ศ. 1877[5][6] หลังจากนั้นเจ้าหญิงตีตาอัวเสกสมรสใหม่กับจอร์จ ดาร์ซี พระสวามีคนที่สอง เมื่อ ค.ศ. 1878 ในตาฮีตี[7][8] พระองค์มีพระโอรส-ธิดากับดาร์ซี 6 พระองค์ (แต่สิ้นพระชนม์ไปแต่ยังทรงพระเยาว์ 5 พระองค์)[9]

เจ้าหญิงตีตาอัวติดตามพระสวามีไปแอนสเทรอเดอร์ (Anstruther) สกอตแลนด์ ใน ค.ศ. 1892[1]

เจ้าหญิงตีตาอัวประทับอยู่แอนสเทรอเดอร์จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1898[10] หลังประสูติการพระบุตรลำดับที่ 15 คือเจ้าหญิงพาโลมา[9] พระศพของเจ้าหญิงตีตาอัวถูกฝังไว้คู่กับนายดาร์ซี พระสวามี ณ โบสถ์ประจำแพริชแอนสเทรอเดอร์[11][10]

เรื่องราวของพระองค์ปรากฏในหนังสือ From the South Seas to the North Sea (จากทะเลใต้สู่ทะเลเหนือ) เขียนโดยฟิโอนา เจ แมกอินทอช นักเขียนชาวสหราชอาณาจักร-สหรัฐ[12]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 reporter, News (July 30, 2011). "Blue plaque commemorates Anstruther's fascinating link to a South Seas princess". {{cite web}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  2. 2.0 2.1 Frank, Ben (2011-10-18). Scattered Tribe: Traveling the Diaspora from Cuba to India to Tahiti & Beyond. ISBN 9780762777471.
  3. 3.0 3.1 Tilburg, Joanne Van (2003). Among Stone Giants: The Life of Katherine Routledge and Her Remarkable Expedition to Easter Island. ISBN 9780743244800.
  4. The Virtual Jewish World Retrieved 1 February 2014.
  5. Delsing, Riet (2015-05-31). Articulating Rapa Nui: Polynesian Cultural Politics in a Latin American Nation-State. ISBN 9780824854614.
  6. Porteous, John Douglas (January 1981). The Modernization of Easter Island. ISBN 9780919838093.
  7. Brown, Campbell; Wiggins, Steven (1992-12-15). St Andrews and Fife Walks. ISBN 9781845029326.
  8. Stevenson, Stephanie (2004). Anstruther: A History. ISBN 9781904607441.
  9. 9.0 9.1 Rush, Christopher (July 1, 2010). A Twelvemonth and a Day. Canongate Books. ISBN 9781847675699 – โดยทาง Google Books.[ลิงก์เสีย]
  10. 10.0 10.1 "Anstruther from the Gazetteer for Scotland".
  11. "Anstruther Parish Church". 2017-07-04.
  12. Mackintosh, Fiona J (2011). From the South Seas to the North Sea. ISBN 9780953653850.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้