ติ่งหู (อังกฤษ: Earlobe) เป็นชื่อเรียกของอวัยวะส่วนของหู โดยเป็นส่วนของปลายสุดของใบหู [1]

ลักษณะ แก้

ดูเพิ่มเติม หู

ติ่งหูมีลักษณะโค้งมนในรูปแบบของครึ่งวงกลม เป็นส่วนที่ไม่มีกระดูกอ่อนและเป็นส่วนที่นิยมทพการเจาะตกแต่งเพื่อใส่ ต่างหูหรือเครื่องประดับประเภทจิวหรือการทำตามแนวพังคร็อกโดยใช้แกนเหล็กขนาดใหญ่เพื่อขยายขนาดของรูให้มีขนาดใหญ่ โดยมีปลายประสาทอยู่น้อยจึงไม่ค่อยได้รับความเจ็บปวดมากนักสามารถยืดหยุ่นได้ดีเช่นเดียวกับผิวหนัง[2]

การดูแลรักษา แก้

การรักษาความสะอาดเป็นสิ่งที่สำคัญมากของหู เพราะเป็นส่วนเดียวที่มีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อโดยไม่มีแกนกระดูกและมีต่อมเหงื่อเช่นเดียวกับใบหน้า ความทำความสะอาดอยู่ตลอด [3]หากมีการเจาะหู ควรดูแลไม่ให้มีสิ่งอุดตันเพื่อป้องกันการประสานของติ่งหู[4]

การเจาะหู แก้

การเจาะเป็นค่านิยมว่าเด็กผู้หญิงเท่านั้นที่จะสามารถเจาะหูได้ แต่ด้วยโลกที่เปลี่ยนไปทั้งชายและหญิงก็มีความต้องการในการเจาะหูตามกระแสนิยมเกาหลี ญี่ปุ่น ที่มีดาราเจาะหูใส่จิวหรือต่างหูที่มีเอกลักษณ์เพื่อแสดงค่านิยมของตนเองให้สังคมรับรู้ โดยสามารถแบ่งการเจาะหูเป็น 3 แบบ ดังนี้[5]

เจาะตามนิยม แก้

เป็นวิธีการเจาะตาปกติคือส่วนของติ่งหู โดยจะเป็นการเจาะเพื่อใส่ต่างหู โดยเจาะข้างละรู หรือ ข้างเดียว รูเดียว

เจาะแบบพังค์ แก้

การเจาะแบบนี้มักมีการเจาะข้างละหลายรูแต่ในสวนที่ไม่มีกระดูกอ่อนอาจเจาะตั้งแต่ติ่งหูไปจนใบหูด้านนอก สามารถเจาะแบบด้านใดด้านหนึ่ง หรือเจาะทั้งสองข้างก็ได้

เจาะแบบเมโท แก้

การเจาะแบบนี้มีความอันตรายสูง โดยมีการเจาะเข้าไปทางด้านบนของติ่งหูมีความเสี่ยงต่อการทำให้กระดูดอ่อนแตกและมีความเจ็บปวดมากกว่าในส่วนของติ่งหูได้

สแลง แก้

เด็กติ่งหู หรือ พวกติ่งหู (นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า "ติ่ง"[6]) เป็นคำสแลงในสังคมของเด็กหรือสังคมโลกออนไลน์ โดยเป็นการแสดงความหมายว่าเด็กที่ไม่มีสัมมาคารวะ ไร้ความอ่อนน้อม [7] และแสดงตนว่าเหนือกว่า หรือใช้เรียกนักเรียนหญิงชั้นมัธยมต้นที่ตัดผมเท่าติ่งหู[8] (เทียบได้เท่ากับเกรียน อันหมายถึง เด็กผู้ชายที่มีพฤติกรรมเหมือนกัน) การเป็นติ่งคือการชื่นชอบบุคคล สื่อบันเทิง หรือวัฒนธรรมต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะรู้อย่างละเอียด และติดตามตลอด เวลาที่มีคนมากล่าวว่าสิ่งที่ตนเองรักหรือชื่นชอบ เป็นธรรมดาที่เราจะโกรธ และคนที่เป็นติ่ง เมื่อมีคนมากล่าวว่ามักจะตอบโต้ เพื่อเป็นการปกป้องสิ่งที่เขาชอบ ด้วยคำไม่สุภาพ รุนแรง แก้ต่างให้ รวมถึงอาจเกินเลยไปถึงกรณีอื่น แต่มักจะปฏิเสธว่าตนไม่ได้มีพฤติกรรมเช่นนี้[9][6] นั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คำว่า 'ติ่ง' ในความคิด ความรู้สึกของคนทั่วไปเป็นไปในความหมายลบ ถึงกระนั้น มีหลายคนที่มีวุฒิภาวะพอที่จะระงับอารมณ์เมื่อมีคนมากล่าวว่าสิ่งที่ตนเองชอบ เพราะฉะนั้นอย่าเหมารวมไปเสียทีเดียวว่ากลุ่มคนพวกนี้จะนิสัยเสีย

การเป็นติ่ง อะไรบางอย่าง ทำให้คนในสังคมไม่ค่อยชอบนัก เช่น การเป็นติ่งวัฒนธรรมของชาติอื่น เพราะทำให้คนในสังคมมีความคิด ความรู้สึกว่า คนพวกนี้ไม่รักชาติ แต่ความคิดนี้ไม่ถูกเสียเท่าไหร่ เพราะการที่ไปชอบวัฒนธรรมของชาติอื่น ไม่ได้หมายความว่าไม่รักชาติ เอาตรงนี้มาตัดสินไม่ได้

รายการอ้างอิง แก้

  1. [1][ลิงก์เสีย]
  2. [2]
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-31. สืบค้นเมื่อ 2010-05-27.
  4. [3]
  5. http://woman.kapook.com/view13260.html[ลิงก์เสีย]
  6. 6.0 6.1 หน้า 9 ข่าวเศรษฐกิจ, ติ่งซีรีส์เกาหลีสุดช้ำ "โคตรฮิต"แจ้งปิดตัว. ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21486: วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 แรม 4 ค่ำ เดือน 12 ปีวอก
  7. "น้องติ่งหูคืออะไร รู้จักกันไหม?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-06. สืบค้นเมื่อ 2010-09-26.
  8. คำแสลงวัยรุ่น.....พลังสื่อสารวัยโจ๋ที่ต้องเงี่ยหูฟัง
  9. "รู้จักวิถีติ่งถ้าบ้าเกาหลีจริงต้องแบบนี้!". ผู้จัดการออนไลน์. 2014-10-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-13. สืบค้นเมื่อ 2016-11-18.

ลิงก์อื่น ๆ แก้