ตำนานทอง (ละติน: Legenda Aurea) เป็นชีวประวัตินักบุญที่บุญราศียาโกโปแห่งวารัซเซรวบรวมขึ้นราวปี ค.ศ. 1260 ซึ่งกลายมาเป็นหนังสือขายดีติดอันดับในสมัยกลาง

Legenda Aurea, 1290 circa, Biblioteca Medicea Laurenziana, Florence
ภาพนักบุญจอร์จ ฆ่ามังกรเป็นเรื่องหนึ่งที่รวบรวมในตำนานทอง
ภาพนักบุญคริสโตเฟอร์แบกพระเยซูข้ามแม่น้ำ โดยคอนราด วิทซ-หนึ่งในนักบุญในตำนานทอง
นักบุญมาร์กาเร็ตแห่งอันติโอก ดึงดูดความสนใจนายทหารโรมัน โดย ฌอง โฟเคท์ (Jean Fouquet) จากหนังสือวิจิตร (Illuminated manuscript)
“การพลีชีพของนักบุญไพรมัส และนักบุญเฟลิซิอานัส” จากตำนานทองของคริสต์ศตวรรษที่ 14
ภาพนักบุญอันดรูว์ผู้ที่ถูกตรึงกางเขนบนกางเขนเอ็กซ์-หนึ่งในนักบุญในตำนานทอง
Legenda Aurea, 1499.

หนังสือยอดนิยมในยุคกลาง แก้

ตำนานทอง เดิมมีชื่อง่ายๆ ว่า “Legenda sanctorum” ซึ่งแปลว่า “ตำนานนักบุญ” และเป็นที่รู้จักกันในชื่อนั้น ปัจจุบันมีเหลือด้วยกันมากกว่าพันเล่ม และเมื่อมีการพิมพ์หนังสือราวปี ค.ศ. 1450 งานนี้ก็แพร่หลายมากขึ้นไม่แต่ในภาษาละตินเท่านั้นแต่ทั้งภาษาอื่น ๆ ในทวีปยุโรปด้วย และเป็นหนังสือเล่มแรกๆ ที่พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษโดยวิลเลียม แค็กซ์ตัน (William Caxton) เมื่อปี ค.ศ. 1483

ชีวิตของนักบญ แก้

หนังสือรวบรวมมาจากตำนานที่เกี่ยวกับนักบุญที่เป็นที่นิยมสักการะกันในขณะสมัยที่ทำการรวบรวม จาโคบัส เดอ โวราจิเน มักจะเริ่มเรื่องโดยกล่าวถึงที่มาของชื่อนักบุญที่ออกทางจินตนาการ ซึ่งจะเห็นจากตัวอย่างที่แค็กซ์ตันแปล

สมเด็จพระสันตะปาปาซิลเวสเตอร์ที่ 1 ตรัสว่าเป็น “sile” “sol” ซึ่งคือ “แสง”, และเป็น “terra” ซึ่งคือ “ดิน”, ซึ่งเป็นแสงสว่างของโลก, ซึ่งเป็นแสงสว่างของสถาบันศาสนา. หรือ ซิลเวสเตอร์เป็น “silvas” และ “trahens” ซึ่งหมายความว่าเป็นผู้สามารถเปลี่ยนคนที่ยากต่อการเปลี่ยนให้มามีความเลื่อมใส. หรือเป็น “in glossario” ซิลเวสเตอร์หมายถึง เขียว ที่เรียกว่าเป็นผู้มีสติปัญญา, เขียวในความเคร่งครัดในทางศาสนา, และเป็นผู้ทำงานที่ใช้แรงงานหนักด้วยตนเอง; เป็น “umbrous” หรือ “shadowous” ที่หมายความว่าเป็นผู้หุ้มห่อตัวด้วยความเย็นจากตัณหาทางร่างกาย, เต็มไปด้วยกิ่งก้านสาขาเช่นต้นไม้แห่งสรวงสวรรค์

โวราจิเนผู้เป็นนักประพันธ์ภาษาละตินก็น่าจะทราบว่า “ซิลเวสเตอร์” เป็นชื่อพื้นๆ ที่ใช้กันแพร่หลายซึ่งมีความหมายง่ายๆ เพียงว่า “มาจากป่า” ซึ่งโวราจิเนก็กล่าวไว้บ้างแต่ขยายความจนนักภาษาศาสตร์เห็นว่าเป็นการตีความที่เลิศลอยและเกินเลยไปจากรากศัพท์เดิมของคำเป็นอันมาก แม้ว่าการใช้คำว่า “silvas” และ “forest” ของโวราจิเนจะถูกต้อง ตามที่ตีความหมายว่าเป็นกิ่งไม้ แต่เป็นการตีความหมายแบบอุปมานิทัศน์มิใช่การตีความหมายของที่มาของคำ การใช้ที่มาของคำเช่นที่จาโคบัส เดอ โวราจิเนใช้เป็นการใช้อย่างมีจุดประสงค์ที่แตกต่างจากศัพทมูลวิทยาในปัจจุบัน ซึ่งไม่อาจจะเอามาตีคุณค่าโดยใช้มาตรฐานปัจจุบันเป็นกำหนดได้ การใช้ที่มาของคำในลักษณะนี้ของจาโคบัส เดอ โวราจิเนคล้ายคลึงกับคำอธิบายในหนังสือ “ศัพทมูลวิทยา” (Etymologiae) ที่นักบุญอิซิโดโรแห่งเซบิยาเขียนเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 ที่กล่าวว่าความหมายของที่มาของคำในทางภาษาศาสตร์เป็นสิ่งที่ต้องแยกจากการบรรยายที่มาของคำในการใช้สำหรับ “สัญลักษณ์แฝงคติ”

ชีวิตของนักบุญ แก้

หลังจากเขียนบทนำแล้วโวราจิเนก็เริ่มเล่าประวัติชีวิตของนักบุญซึ่งรวบรวมมาจากเอกสารของนิกายโรมันคาทอลิกที่เป็นเพลงสวดสรรเสริญนักบุญ จากนั้นโวราจิเนก็เพิ่มเนื้อหาด้วยเรื่องอัศจรรย์ต่างๆ ที่เกิดกับนักบุญที่นำมาจากแหล่งที่หลักฐานอื่นๆที่ไม่ค่อยเป็นที่น่าเชื่อถือ ตำนานทองใช้แหล่งอ้างอิงทั้งสิ้น 130 แหล่ง นอกจากคัมภีร์ไบเบิลแล้วโวราจิเนก็ใช้คัมภีร์นอกสารบบ เช่น “พระวรสารนิโคเดมัส” (Gospel of Nicodemus), ประวัติของนักบุญเกรกอรีแห่งตูร์ และนักบุญจอห์น คาสเซียน, และ “Speculum historiale” ซึ่งเขียนโดยแวนซองท์เดอโบเวส์ (Vincent de Beauvais) นักบวชคณะดอมินิกัน และบางเรื่องก็ไม่มีแหล่งอ้างอิงใด ๆ เช่นตัวอย่างของนักบุญซิลเวสเตอร์ที่กล่าว เล่าถึงเหตุการณ์ที่ท่านได้รับคำสอนอย่างปาฏิหาริย์จากนักบุญปีเตอร์ที่ทำให้ท่านสามารถไล่มังกรจากโรมได้:

“ในขณะนี้ที่โรมมีมังกรในหลุมถ้ำ ทุกวันมังกรนี้ก็จะพ่นไฟฆ่าคนกว่าสามร้อยคน นักบวชของพวกนอกศาสนาของพระจักรพรรดิก็กล่าวว่า พระองค์ผู้มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นหนึ่ง, ถึงเวลาแล้วที่พระองค์จะนับถือศาสนาคริสต์ ด้วยมังกรได้ฆ่าประชาชนด้วยการพ่นไฟวันละกว่าสามร้อยคน แล้วก็ส่งพระจักรพรรดิไปหานักบุญซิลเวสเตอร์เพื่อปรึกษาว่าควรจะทำเช่นใด นักบุญซิลเวสเตอร์ก็ว่าด้วยอำนาจของพระเป็นเจ้าพระองค์ทรงสัญญาว่าจะทำให้มังกรหยุดฆ่าคน แล้วนักบุญซิลเวสเตอร์ก็เริ่มสวดมนต์ต์ต์ นักบุญปีเตอร์ก็มาปรากฏตัวและกล่าวว่า “เจ้าจงไปหามังกรกับพระอีกสององค์เป็นเพื่อน, และเมื่อไปถึงเจ้าจงกล่าวกับมังกรว่า “พระเยซูบุตรของพระนางมารีย์พรหมจารี, ผู้ทรงถูกตรึงกางเขน, ผู้ทรงถูกฝังและคืนชีพ, และปัจจุบันสถิตอยู่ทางขวาของพระเป็นเจ้า, พระองค์คือผู้ที่จะลงมาตัดสินทั้งผู้มีชีวิดและไม่มี, ข้าสั่งให้เจ้า Sathanas จงคอยอยู่ที่นี่จนกว่าพระองค์จะเสด็จมา” เจ้าจงผูกปากมังกรด้วยเชือกและปิดปากด้วยตราของเจ้าซึ่งจะปรากฏเป็นรอยกางเขน แล้วเจ้าและพระอีกสององค์จงกลับมาหาข้าทั้งเนื้อทั้งตัวอย่างปลอดภัย, ข้าจะทำขนมปังเตรียมไว้เพื่อเจ้าจะได้กิน”
เมื่อนักบุญปีเตอร์พูดจบนักบุญซิลเวสเตอร์ก็ปฏิบัติตาม เมื่อนักบุญซิลเวสเตอร์ไปถึงถ้ำก็ลงบันไดไปร้อยห้าสิบขั้น, ถือตะเกียงลงไปสองดวง, และพบมังกร, และกล่าวคำที่นักบุญปีเตอร์สอนไว้, และผูกปากมังกรด้วยเชือก, และประทับตรา, และหลังจากกลับมา, ก็พบคนสองคนผู้ติดตามลงไป(เพื่อดูมังกร) ซึ่งกำลังใกล้ตายเต็มไปด้วยกลิ่นเหม็น, ผู้ซึ่งนักบุญซิลเวสเตอร์นำกลับมาด้วยอย่างปลอดภัย, ผู้ซึ่งได้รับศีลจุ่ม, รวมทั้งผู้คนอื่นๆ ที่มาด้วยกันอีกมากมายด้วย ฉะนั้นเมืองโรมจึงปลอดภัยจากความตายสองอย่าง, จากความตายจากการนับถือรูปต้องห้าม และจากพิษของมังกร”

ปาฏิหาริย์และตำนานของวัตถุมงคล แก้

ตำนานของนักบุญหลายเรื่องจบด้วยปาฏิหาริย์ต่างๆของผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือจากนักบุญหรือผู้ใช้เรลิกที่มาจากหรือเป็นของนักบุญ เช่นประวัติของ นักบุญอากาธา โวราจิเนเล่าว่าผู้นอกศาสนาที่คาทาเนีย ในซิซิลีใช้วัตถุมงคลของนักบุญอากาธาเพื่อจะหยุดยั้งไฟที่มาจากภูเขาไฟเอตนา

และเพื่อจะเป็นการพิสูจน์ว่า(นักบุญอากาธา)สวดมนต์เพื่อความปกป้องสถานที่นี้, เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์, หนึ่งปีหลังจากที่ทรงพลีชีพเพื่อศาสนา, ก็เกิดมีไฟไหม้ใหญ่, และมาจากภูเขาไฟสู่ตัวเมืองคาทาเนีย และเผาทั้งแผ่นดินและหิน, เผาอย่างรุนแรง. พวกนอกศาสนาวิ่งมาที่ที่ฝังศพของนักบุญอากาธาและฉวยผ้าที่วางบนหลุมศพ, แล้วขีงผ้ากั้นไฟ, เก้าวันหลังจากนั้นเป็นวันสมโภช(ของนักบุญอากาธา), ไฟก็หยุดเมื่อมาถึงผ้าที่พวกนอกศาสนานำมาจากหลุมศพ, แสดงว่าพระเป็นเจ้าปกป้องเมืองจากไฟโดยคุณความดีของนักบุญอากาธา

แต่โวราจิเนเองก็ยอมแพ้เมื่อมาถึงเรื่องของนักบุญมาร์กาเรตแห่งแอนติออกผู้รอดมาจากการถูกกลืนโดยมังกรโดยยอมรับว่า “จากตำนานและไม่ควรจะเป็นที่น่าเชื่อถือเท่าใด” (แปล ไรอัน 1.369)

คุณค่าสำหรับผู้ศึกษาวัฒนธรรมยุคกลาง แก้

ตำนานทองเขียนเป็นภาษาละตินแบบที่เข้าใจง่าย ผู้อ่านในสมัยกลางอ่านเพื่อเอาเรื่องแต่เมื่อดูรวมๆ แล้วเรื่องการพลีชีพ และปาฏิหาริย์ต่างๆ ก็จะซ้ำๆ กัน ตำนานทองเป็นสิ่งที่ใกล้ที่สุดในการเป็นสารานุกรมของตำนานและชีวิตนักบุญของยุคกลางตอนปลาย ฉะนั้นจึงเป็นหนังสือที่มีค่าที่นักประวัติศาสตร์ใช้แยกตัวนักบุญในภาพเขียนโดยใช้เหตุการณ์ในชีวิตที่บรรยายในตำนานทอง การที่เรื่องมักจะซ้ำกันอาจจะเป็นเพราะโวเรจินเนตั้งใจเขียนขึ้นสำหรับการเทศนามิใช่เขียนขี้นสำหรับให้เป็นที่นิยมอย่างที่เกิดขึ้น

ในหนังสือ “การปฏิรูปศาสนา: ประวัติศาสตร์” (The Reformation: A History) ค.ศ. 2003, ไดอาร์เมด แมคคัลลอคกล่าวว่าตำนานทองเป็นสาเหตุหนึ่งที่มีส่วนทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนาโดยมิได้จงใจ โดยการทำให้เพิ่มความแคลงใจให้กับผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อลัทธิบูชานักบุญ เช่นจะเห็นได้จากงานเขียน “Praise of Folly” โดย เดซิเดอเรียส อิราสมัส (Desiderius Erasmus)

อ้างอิง แก้

  • “ตำนานทอง” ฉบับแปล โดย วิลเลียม เกรนเจอร์ ไรอัน ISBN 0-691-00153-7 and ISBN 0-691-00154-5 (2 เล่ม)
  • “ตำนานทอง” ฉบับละติน ตรวจแก้ไขโดยจิโอวานนี เพาโล มาจิโอนี (ฟลอเรนซ์: SISMEL ค.ศ. 1998)

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้