ตาเหล่ หรือ ตาเข[4] (อังกฤษ: Strabismus, crossed eyes, squint, cast of the eye[5][6][7]) เป็นภาวะที่ตาทั้งสองไม่มองตรงที่เดียวกันพร้อม ๆ กันเมื่อกำลังจ้องดูวัตถุอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยตาข้างหนึ่งจะเบนไปในทางใดทางหนึ่งอย่างไม่คล้องจองกับตาอีกข้างหนึ่ง/หรือกับสิ่งที่มอง[8] และตาทั้งสองอาจสลับเล็งมองที่วัตถุ[3] และอาจเกิดเป็นบางครั้งบางคราวหรือเป็นตลอด[3] ถ้ามีอาการเป็นช่วงเวลานานในวัยเด็ก ก็อาจทำให้ตามัวหรือเสียการรู้ใกล้ไกล[3] แต่ถ้าเริ่มในวัยผู้ใหญ่ ก็มักจะทำให้เห็นภาพซ้อนมากกว่า[3]

ตาเหล่
(Strabismus)
ชื่ออื่นHeterotropia, crossed eyes, squint[1]
ตาเหล่มีอาการเป็นตาสองข้างที่ไม่เล็งมองไปทางเดียวกัน รูปแสดงแบบเหล่ออก (exotropic)
การออกเสียง
สาขาวิชาจักษุวิทยา
อาการตาส่อน[2]
ภาวะแทรกซ้อนตามัว เห็นภาพซ้อน[3]
ประเภทesotropia (เหล่เข้า) exotropia (เหล่ออก) hypertropia (เหล่ขึ้น)[3]
สาเหตุปัญหากล้ามเนื้อตา สายตายาว ปัญหาในสมอง บาดเจ็บ ติดเชื้อ[3]
ปัจจัยเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด อัมพาตสมองใหญ่ ประวัติครอบครัว[3]
วิธีวินิจฉัยสังเกตไฟสะท้อนจากรูม่านตา[3]
โรคอื่นที่คล้ายกันโรคเส้นประสาทสมอง[3]
การรักษาแว่นตา การผ่าตัด[3]
ความชุก~2% (เด็ก)[3]
ตามองเบนเข้าพอดี
ตามองเบนเข้าพอดี
ตาเหล่เข้า
ตาเหล่เข้า (Esotropia)
ตาเหล่ออก
ตาเหล่ออก (Exotropia)
เส้นขาดเป็นระยะที่ตรึงตา คนทั้งสามตรึงตาด้วยตาขวา

อาการอาจมีเหตุจากการทำงานผิดปกติของกล้ามเนื้อตา สายตายาว ปัญหาในสมอง การบาดเจ็บ หรือการติดเชื้อ[3] ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งการคลอดก่อนกำหนด อัมพาตสมองใหญ่ และประวัติการเป็นโรคในครอบครัว[3] มีแบบต่าง ๆ รวมทั้ง เหล่เข้า (esotropia) ที่ตาเบนเข้าหากัน เหล่ออก (exotropia) ที่ตาเบนออกจากกัน และเหล่ขึ้น (hypertropia) ที่ตาสูงต่ำไม่เท่ากัน[3] อาจเป็นแบบเหล่ทุกที่ที่มอง (comitant คือตาเหล่กลอกคู่) หรืออาจเหล่ไม่เท่ากันแล้วแต่มองที่ไหน (incomitant)[3] การวินิจฉัยอาจทำโดยสังเกตว่าแสงสะท้อนที่ตาไม่ตรงกับกลางรูม่านตา[3] มีภาวะอีกอย่างที่ทำให้เกิดอาการคล้าย ๆ กัน คือ โรคเส้นประสาทสมอง (cranial nerve disease)[3]

การรักษาจะขึ้นอยู่กับรูปแบบและเหตุ[3] ซึ่งอาจรวมการใช้แว่นตาและการผ่าตัด[3] มีบางกรณีที่มีผลดีถ้าผ่าตัดตั้งแต่ต้น ๆ[3] เป็นโรคที่เกิดในเด็กประมาณ 2%[3]

คำภาษาอังกฤษมาจากคำกรีกว่า strabismós ซึ่งแปลว่า "เหล่ตา"[9]

อาการ แก้

เมื่อสังเกตคนตาเหล่ อาจจะเห็นได้ชัด คนไข้ที่ตาหันไปผิดทางมากและตลอดจะมองเห็นได้ง่าย แต่ถ้าผิดทางน้อย หรือเป็นบางครั้งบางคราว อาจจะสังเกตตามปกติได้ยาก ในทุก ๆ กรณี แพทย์พยาบาลเกี่ยวกับตาสามารถทดสอบด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นปิดตา เพื่อตรวจดูว่าเป็นมากน้อยขนาดไหน

อาการของตาเหล่รวมทั้งการเห็นภาพซ้อน และ/หรือตาล้า/ตาเพลีย (asthenopia) เพื่อจะไม่ให้มีภาพซ้อน สมองอาจจะไม่สนใจข้อมูลจากตาข้างหนึ่ง (Suppression) ในกรณีนี้ อาจจะไม่เห็นอาการอะไรในคนไข้ยกเว้นการเสียการรู้ใกล้ไกล และความบกพร่องนี้อาจมองไม่เห็นในคนไข้ที่ตาเหล่แต่กำเนิดหรือตั้งแต่วัยเด็กต้น ๆ เพราะคนไข้อาจได้เรียนรู้การรู้ระยะใกล้ไกลโดยใช้ตาเดียว[ต้องการอ้างอิง] ตาเหล่อย่างสม่ำเสมอที่ทำให้ใช้ตาข้างเดียวตลอดอาจทำให้เสี่ยงตามัวในเด็ก ส่วนตาที่เหล่น้อยหรือเป็นบางครั้งบางคราวอาจทำให้เห็นผิดปกติอย่างเฉียบพลัน นอกจากปวดหัวและเมื่อยตาแล้ว อาการอาจรวมการอ่านหนังสือไม่สบาย ความเมื่อยล้าเมื่ออ่านหนังสือ หรือการเห็นที่ไม่คงเส้นคงวา

ผลทางจิต-สังคม แก้

 
ตาเหล่ของดาราชายไรอัน กอสลิง ทำให้ดูไม่เหมือนใคร

คนทุกวัยที่มีอาการตาเหล่อาจมีปัญหาทางจิต-สังคม[10][11][12] และนักวิชาการก็อ้างว่า ผู้ที่มีตาเหล่อย่างมองเห็นได้อาจได้รับผลทางสังคม-เศรษฐกิจด้วย ดังนั้น การตัดสินรักษาจึงต้องพิจารณาปัญหาเหล่านี้ด้วย[10][11][12] นอกเหนือไปจากการรักษาให้เห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา[13]

งานศึกษาหนึ่งแสดงว่า เด็กตาเหล่มักจะมีพฤติกรรมช่างอาย วิตกกังวล และเป็นทุกข์ บ่อยครั้งทำให้มีความผิดปกติทางอารมณ์ ซึ่งเป็นอาการที่สัมพันธ์กับการที่เพื่อนมองในแง่ลบ โดยไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องสวย ๆ งาม ๆ เท่านั้น แต่จะเกี่ยวกับธรรมชาติของตาและการมองที่เป็นเครื่องหมายในการสื่อสารอีกด้วย ซึ่งมีบทบาททางสังคมที่สำคัญต่อชีวิตของบุคคล โดยเฉพาะก็คือ การมีตาเหล่จะขัดการสบตากับผู้อื่น ซึ่งสร้างความอับอาย ความโกรธเคือง และความเคอะเขิน และดังนั้นจึงมีผลต่อการสื่อสารทางสังคมโดยพื้นฐาน ซึ่งอาจมีผลลบต่อความภูมิใจในตน[14] สำหรับบางคน ปัญหาเหล่านี้จะดีขึ้นอย่างสำคัญหลังจากการผ่าตัด[15]

มีสิ่งที่บ่งชี้ว่า เด็กที่ตาเหล่ โดยเฉพาะแบบเหล่ออก มีโอกาสมีความผิดปกติทางจิตใจมากกว่าเด็กปกติ โดยนักวิจัยก็ยังเชื่อด้วยว่า ที่ตาเหล่เข้าไม่ปรากฏว่าสัมพันธ์กับโรคจิตก็เพราะพิสัยอายุของเด็กที่ร่วมงานวิจัย และเพราะระยะติดตามผลที่สั้นกว่า คือเด็กที่ตาเหล่เข้าได้ติดตามจนถึงอายุเฉลี่ยที่ 15.8 ปี เทียบกับเด็กตาเหล่ออกที่ติตตามจนถึง 20.3 ปี[16][17]

ต่อมา งานศึกษากับเด็กในเขตภูมิภาคเดียวกันที่มีตาเหล่เข้าแต่กำเนิด จึงได้ติดตามผลในระยะที่ยาวกว่า แล้วพบว่า เด็กตาเหล่เข้ามีโอกาสเกิดโรคจิตบางอย่างเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ต้น ๆ คล้ายกับเด็กตาเหล่ออก โดยเด็กที่ตาเหล่ออกเป็นบางครั้ง และเด็กที่ตาเบนเข้าไม่พอ (convergence insufficiency) มีโอกาสเกิดโรคจิตเป็น 2.6 เท่าของเด็กกลุ่มควบคุม แต่ก็ไม่สัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนด และไม่มีหลักฐานสัมพันธ์โรคจิตที่เกิดขึ้นทีหลัง กับตัวสร้างความเครียดทางจิต-สังคมที่คนไข้ตาเหล่มักจะมี

งานศึกษาต่าง ๆ ได้เน้นผลทั่วไปของความตาเหล่ต่อคุณภาพชีวิต[18] มีงานศึกษาซึ่งผู้ร่วมการทดลองดูภาพของคนตาเหล่และไม่เหล่ แล้วแสดงความเอนเอียงในเชิงลบอย่างสำคัญต่อคนที่ตาเหล่อย่างเห็นได้ ซึ่งแสดงผลที่เป็นไปได้ทางสังคมเศรษฐกิจต่อคนตาเหล่ในเรื่องการหางาน และในเรื่องความสุขทั่วไปในชีวิตอื่น ๆ[19][20]

ทั้งผู้ใหญ่และเด็กเห็นการเหล่ขวา (right heterotropia) ว่า น่ารังเกียจมากกว่าตาเหล่ไปทางด้านซ้าย และเด็ก ๆ จะเห็นว่าตาเหล่เข้าจะแย่กว่าตาเหล่ออก[21] การผ่าตัดรักษาตาเหล่ที่สำเร็จผลทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ พบว่าช่วยทำให้ความรู้สึกทางจิตใจดีขึ้น[22][23]

มีงานวิจัยน้อยมากว่า ผู้ใหญ่มีกลยุทธ์การรับมือกับการมีตาเหล่ได้อย่างไร แต่งานศึกษาหนึ่งแบ่งกลยุทธ์ออกเป็น 3 หมวด คือ การหลีกเลี่ยงร่วมทำกิจกรรม การเบนความสนใจของคนอื่นไปในเรื่องอื่น และการปรับตัวทำกิจกรรมโดยวิธีอื่น ๆ นักวิจัยเสนอว่า คนไข้อาจได้ประโยชน์จากการสนับสนุนทางจิต-สังคม เช่นการฝึกทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล[24]

ยังไม่มีงานศึกษาว่า การแทรกแซงทางจิต-สังคมมีประโยชน์ต่อคนไข้ที่ผ่าตัดรักษาตาเหล่หรือไม่[25]

เหตุ แก้

ตาเหล่สามารถเห็นได้ในคนไข้กลุ่มอาการดาวน์, Loeys-Dietz syndrome, อัมพาตสมองใหญ่, และ Edwards syndrome คนที่ครอบครัวมีประวัติก็จะมีโอกาสเสี่ยงสูงขึ้น[ต้องการอ้างอิง]

เหตุของตาเหล่ในผู้ใหญ่รวมทั้ง[26]

  • การจำกัดการทำงานของกล้ามเนื้อตา (extraocular muscles)
    • thyroid eye disease/Graves' ophthalmopathy ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อตาขยายตัวได้ถึง 6 เท่า ซึ่งขัดขวางการทำงานของตา
    • blowout fractures ซึ่งเป็นการบาดเจ็บเนื่องด้วยวัตถุที่ไม่คม เช่น กำปั้น ข้อศอก หรือลูกบอล ซึ่งปกติจะรวมความบาดเจ็บที่พื้นและ/หรือผนังใกล้กลาง (medial) ของเบ้าตา ซึ่งอาจทำให้กล้ามเนื้อตาติดขัด
    • ความบาดเจ็บของเส้นประสาททรอเคลียร์ (CN IV) ซึ่งจะทำให้เห็นภาพซ้อนเหนือและใต้แถบที่มองเห็นเป็นปกติ
    • การผ่าตัดแก้จอตาลอกที่มีผลจำกัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อตา เช่น superior oblique
  • เหตุที่เกิดจากกล้ามเนื้อ
    • Myasthenia gravis เป็นภาวะภูมิต้านตนเองที่มีผลทำลายตัวรับ acetylcholine ที่ neuromuscular endplate ของกล้ามเนื้อ
    • Myositis ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ
  • เหตุที่เกิดจากเส้นประสาท
    • อัมพาตเส้นประสาทที่ 3 (Third nerve palsy)
    • อัมพาตเส้นประสาทที่ 4 (Fourth nerve palsy)
  • เหตุอื่น ๆ
    • ตาเบนเข้าไม่พอ (convergence insufficiency) ในคนไข้ที่บาดเจ็บที่ศีรษะ เป็นโรคพาร์คินสันหรือโรคฮันติงตัน
    • skew deviation เป็นการวินิจฉัยเลือกของ inferior oblique overreaction โดยไม่จำกัดที่กล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งมักจะปรากฏพร้อมกับอาการของ posterior fossa disease อื่น ๆ

พยาธิสรีรวิทยา แก้

กล้ามเนื้อตา (extraocular muscle) เป็นตัวควบคุมตำแหน่งของตา ดังนั้น ปัญหาที่กล้ามเนื้อหรือเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อ สามารถทำให้ตาเหล่ได้ เส้นประสาทสมอง Oculomotor nerve (III), Trochlear nerve (IV), และ Abducens nerve (VI) เป็นเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อตา ปัญหาที่เส้น III จะทำให้ตาที่ได้รับผลเบี่ยงลงและออก และอาจจะมีผลต่อขนาดรูม่านตา ส่วนปัญหาของเส้น IV ซึ่งอาจเป็นแต่กำเนิด อาจทำให้ตาเบี่ยงขึ้นและอาจจะเบนเข้าหน่อย ๆ ส่วนปัญหาของเส้น VI อาจทำให้ตาเบี่ยงเข้า โดยมีเหตุที่เป็นไปได้มากมายเพราะเป็นเส้นประสาทที่ค่อนข้างยาว เช่น ความดันที่เพิ่มขึ้นในกะโหลกศีรษะอาจกดเส้นประสาทเมื่อมันวิ่งผ่านระหว่างส่วน clivus และก้านสมอง[27][ต้องการเลขหน้า] นอกจากนั้น ถ้าแพทย์ไม่ระวังไปบิดคอของทารกเมื่อคลอดโดยใช้ปากคีม (forceps delivery) ก็จะทำให้เส้นประสาท VI เสียหายได้[ต้องการอ้างอิง] แพทย์บางท่านยังเห็นหลักฐานด้วยว่า เหตุของตาเหล่อาจอยู่ที่สัญญาณประสาทที่ส่งไปยังเปลือกสมองส่วนการเห็น[28] ซึ่งทำให้ตาเหล่โดยไม่มีความเสียหายโดยตรงต่อเส้นประสาทสมองหรือกล้ามเนื้อตา

ตาเหล่ยังอาจทำให้ตามัว เพราะสมองไม่สนใจกระแสประสาทจากจอประสาทตาข้างหนึ่ง อาการตามัวเป็นการที่ตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้างไม่สามารถเห็นชัดเจนได้ตามปกติแม้จะไม่มีโครงสร้างอะไรที่ผิดปกติ ในช่วง 7-8 ปีแรกแห่งชีวิต สมองจะเรียนรู้การตีความสัญญาณประสาทที่มาจากตาทั้งสองผ่านกระบวนการพัฒนาการการเห็น แต่ความตาเหล่อาจขัดกระบวนการนี้ได้ถ้าเด็กตรึงตาข้างเดียวโดยไม่ตรึงตาหรือตรึงตาอีกข้างหนึ่งน้อย เพื่อไม่ให้เห็นภาพซ้อน สัญญาณที่ส่งมาจากตาที่ผิดปกติสมองจะไม่รับ (Suppression) ซึ่งเมื่อเกิดตลอดที่ตาข้างเดียว ก็จะทำให้เกิดพัฒนาการทางการเห็นที่ผิดปกติ[ต้องการอ้างอิง]

นอกจากนั้น ตามัวก็ยังสามารถเป็นเหตุให้ตาเหล่ได้อีกด้วย ถ้าความชัดเจนต่างกันมากระหว่างตาขวาซ้าย สัญญาณที่ได้อาจจะไม่เพียงพอให้ปรับตาไปยังตำแหน่งที่ถูกต้อง เหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เห็นต่างกันระหว่างซ้ายขวา รวมทั้งต้อกระจกที่ไม่เท่ากัน ความหักเหของแสงที่คลาดเคลื่อน (refractive error) หรือโรคตา ซึ่งอาจเป็นเหตุหรือทำให้ตาเหล่มากขึ้น[27]

Accommodative esotropia เป็นตาเหล่เข้าที่มีเหตุจากความหักเหของแสงที่คลาดเคลื่อน (refractive error) ที่ตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง เมื่อบุคคลเปลี่ยนการมองจากวัตถุไกล ๆ มาที่วัตถุที่ใกล้ ๆ ก็จะเกิด accommodation reflex ซึ่งเปลี่ยนการเบนตา (vergence) เปลี่ยนรูปร่างของเลนส์ตา และเปลี่ยนขนาดรูม่านตา โดยการเบนตาจะเป็นแบบเบนเข้า ถ้ารีเฟล็กซ์นี้มีมากกว่าปกติ เช่นบุคคลที่มีสายตายาว การเบนตาที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ดูตาเหล่[ต้องการอ้างอิง]

การวินิจฉัย แก้

แพทย์อาจตรวจโดยให้ปิดตาหรือตรวจแบบ Hirschberg test ที่ใช้แสงสะท้อน เพื่อวินิจฉัยและวัดความตาเหล่และผลที่มีต่อสายตา นอกจากนั้น การตรวจแบบ Retinal birefringence scanning ยังสามารถใช้ตรวจคัดตาเหล่ในเด็กเล็ก ๆ โดยแพทย์จะวินิจฉัยแยกแยะความตาเหล่ออกเป็นแบบต่าง ๆ

ภาวะแฝง แก้

ตาเหล่อาจปรากฏอย่างชัดเจน (ภาษาอังกฤษลงท้ายด้วย -tropia) หรืออาจเป็นภาวะแฝง (ภาษาอังกฤษลงท้ายด้วย -phoria) ตาเหล่แบบชัดเจน หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า heterotropia (ซึ่งอาจขึ้นต้นด้วยคำอุปสรรค eso-, exo-, hyper-, hypo-, cyclotropia หรือขึ้นด้วยอุปสรรคผสม) จะเกิดเมื่อคนไข้มองที่วัตถุด้วยสองตา โดยไม่ได้ปิดหรือบังตาข้างใดข้างหนึ่ง แล้วคนไข้ไม่สามารถปรับตาเพื่อให้เห็นเป็นภาพเดียว (fusion) ได้

ภาวะแฝง หรือที่เรียกว่า heterophoria (ซึ่งอาจขึ้นด้วยคำอุปสรรค eso-, exo-, hyper-, hypo-, cyclophoria หรืออุปสรรคผสม) จะปรากฏต่อเมื่อขัดการเห็นด้วยสองตา เช่นปิดตาข้างหนึ่ง คนไข้ประเภทนี้ปกติจะมองเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาได้ แม้ตาจะมองไม่ตรงเมื่อปล่อยตามสบาย ตาที่เหล่เป็นบางครั้งบางคราวจะเกิดจากรูปแบบสองอย่างนี้ผสม ที่คนไข้จะสามารถมองเห็นเป็นภาพเดียว แต่บางครั้งหรือบ่อยครั้งจะปรากฏว่าเหล่อย่างชัดเจน

การเริ่มต้น แก้

แพทย์อาจจัดหมู่ตาเหล่ตามเวลาที่เริ่มอาการ คือเป็นแต่กำเนิด เป็นทีหลัง หรือเป็นอาการทุติยภูมิของโรคอื่น ๆ ทารกจำนวนมากเกิดโดยมีตาเหล่หน่อย ๆ แต่เด็กจะพัฒนาปรับตาเป็นปกติภายใน 6-12 เดือน[29] ประเภทที่เหลือจะเกิดขึ้นทีหลัง Accommodative esotropia ซึ่งเป็นการเบนเข้าของตาเกินเนื่องจาก accommodation reflex จะเกิดโดยมากในวัยเด็กต้น ๆ ส่วนตาเหล่ที่เกิดทีหลัง จะเกิดหลังจากการมองเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาได้พัฒนาเต็มที่แล้ว ในผู้ใหญ่ที่ตอนแรกมองเป็นปกติ การเกิดตาเหล่มักจะทำให้เห็นภาพซ้อน โรคที่ทำให้การเห็นเสียหายก็อาจเป็นเหตุให้ตาเหล่ด้วย[30] และก็อาจเกิดจากความบาดเจ็บต่อตาที่เหล่

ส่วน Sensory strabismus เป็นอาการตาเหล่เนื่องจากเสียหรือพิการทางการเห็น แล้วทำให้ตาเหล่ไปทางด้านข้าง ด้านตั้ง แบบบิด (torsional) หรือแบบผสม โดยตาที่เห็นแย่กว่าจะค่อย ๆ เหล่ไปในระยะยาว แม้มักจะเป็นการเหล่ทางด้านข้างมากที่สุด แต่ก็ขึ้นอยู่กับอายุที่เกิดความเสียหายด้วย คนไข้ที่พิการทางสายตาตั้งแต่กำเนิดมีโอกาสตาเหล่เข้า (esotropia) มากที่สุด เทียบกับคนไข้ที่การเห็นพิการทีหลังมักจะตาเหล่ออก (exotropia)[31][32][33] ในแบบสุดโต่งอย่างหนึ่ง ตาที่บอดสิ้นเชิงข้างหนึ่งจะทำให้ตาข้างนั้นอยู่ในตำแหน่งพักตลอด[34]

แม้จะรู้เหตุที่ทำให้ตาเหล่หลายอย่างแล้ว รวมทั้งการบาดเจ็บที่ตาซึ่งเหล่ แต่ก็ยังมีกรณีที่ไม่รู้เหตุ โดยเฉพาะที่เป็นตั้งแต่วัยเด็กต้น ๆ[35]

งานศึกษาตามแผนในสหรัฐอเมริกาพบว่า ความชุกของอาการตาเหล่ในผู้ใหญ่จะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะหลังจากอายุ 60 ปีโดยจะถึงจุดสูงสุดในช่วงทศวรรษที่ 8 และความเสี่ยงตาเหล่ตลอดชีวิตในวัยผู้ใหญ่อยู่ที่ 4%[36]

ข้าง แก้

ตาเหล่สามารถจัดว่าเป็นข้างเดียว (unilateral) ถ้ามีตาข้างเดียวเท่านั้นที่เหล่ หรือเป็นสลับข้าง (alternating) ถ้าตาทั้งสองข้างเหล่ การสลับข้างอาจเกิดเองโดยที่คนไข้ก็ไม่รู้ตัว หรืออาจสลับเนื่องจากการตรวจตา[37][ต้องการเลขหน้า] ตาเหล่ข้างเดียวมักจะมาจากการบาดเจ็บต่อตาที่มีปัญหา[31]

ทิศทาง แก้

การเหล่ออกข้าง ๆ สามารถแบ่งออกเป็นสองแบบ คำอังกฤษที่ขึ้นด้วยอุปสรรค Eso หมายถึงการเหล่เข้า ที่ขึ้นด้วย Exo หมายถึงการเหล่ออก

การเหล่ขึ้นลงก็สามารถแบ่งเป็นสองแบบได้เหมือนกัน คำอุปสรรค Hyper จะใช้กับตาที่เหล่ขึ้นโดยเทียบกับตาอีกข้าง ในขณะที่ hypo จะใช้กับตาที่เหล่ลง ส่วนคำว่า Cyclo หมายถึงตาเหล่บิด คือตาที่เหล่โดยหมุนรอบ ๆ แกนหน้าหลัง ซึ่งมีน้อยมาก[โปรดขยายความ]

การตั้งชื่อ แก้

คำอุปสรรคอังกฤษที่แสดงทิศทางจะใช้ประกอบกับคำว่า -tropia และ -phoria เพื่อกำหนดตาเหล่ประเภทต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น constant left hypertropia หมายถึงตาข้างซ้ายจะอยู่สูงกว่าตาด้านขวาเสมอ ส่วนคนไข้ที่มี intermittent right esotropia จะมีตาขวาที่บางครั้งบางคราเหล่ไปทางจมูก แต่ในเวลาที่เหลือจะมองเป็นปกติ คนไข้ที่มี mild exophoria จะดูปกติในสถานการณ์ทั่วไป แต่เมื่อระบบเกิดขัดข้อง ตาที่ปล่อยตามสบายจะเหล่ออกหน่อย ๆ

เรื่องอื่น ๆ แก้

ความตาเหล่ยังสามารถจัดหมู่ดังต่อไปนี้

  • Paretic strabismus เป็นตาเหล่เกิดจากกล้ามเนื้อตาหนึ่ง ๆ หรือหลายมัดอัมพาต
  • Nonparetic strabismus เป็นตาเหล่ที่ไม่ได้เกิดจากความอัมพาตของกล้ามเนื้อตา
  • Comitant/concomitant strabismus เป็นอาการตาเหล่แบบเท่า ๆ กันไม่ว่าจะมองไปที่ตรงไหน
  • Noncomitant/incomitant strabismus เป็นตาที่เหล่ไม่เท่ากันแล้วแต่จะมองขึ้นลงหรือมองข้าง ๆ

Nonparetic strabismus ปกติจะเป็นแบบเท่า ๆ กันไม่ว่าจะมองไปในที่ใด (concomitant)[38] ตาเหล่ของทารกและเด็กโดยทั่วไปจะเป็นแบบเท่า ๆ กัน[39] ส่วน Paretic strabismus อาจเป็นแบบเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้ แบบไม่เท่ากันมักจะเมีเหตุจากตาที่หมุนได้ไม่เต็มที่เนื่องจากปัญหาทางกล้ามเนื้อ เช่น ocular restriction หรือจาก extraocular muscle paresis[39] ตาเหล่แบบไม่เท่ากัน/ตาเหล่เหตุอัมพาตจะไม่สามารถแก้ได้ด้วยแว่นตาปริซึม เพราะจะต้องใช้ปริซึมที่ต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับที่ที่มอง[40]

แบบต่าง ๆ ของตาเหล่ไม่เท่ากันรวมทั้ง Duane syndrome, horizontal gaze palsy, และ congenital fibrosis of the extraocular muscles[41]

ถ้าตาเหล่ออกมากและชัดเจน ก็จะเรียกว่า large-angle (มุมกว้าง) โดยหมายถึงมุมที่เหล่ออกจากเส้นที่ควรมอง ตาที่เหล่ออกน้อยกว่าเรียกว่า small-angle (มุมแคบ) แต่มุมอาจต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับว่ามองใกล้หรือไกล

ตาเหล่ที่เกิดหลังจากผ่าตัดแก้ไขจะเรียกว่า consecutive strabismus

การวินิจฉัยแยกโรค แก้

Pseudostrabismus เป็นอาการตาเหล่เทียม ซึ่งปกติเกิดขึ้นในทารกหรือเด็กหัดเดินที่ดั้งจมูกกว้างและแบน แล้วทำให้ดูเหมือนตาเหล่เข้า (esotropia) เนื่องจากเห็นตาขาวทางด้านจมูกน้อยกว่าปกติ แต่เมื่ออายุมากขึ้น ดั้งจมูกก็จะแคบลงและหนังคลุมหัวตาก็จะลดลงแล้วทำให้เห็นตาขาวเป็นปกติ

มะเร็งจอตา (Retinoblastoma) ก็อาจเป็นเหตุให้ตาสะท้อนแสงผิดปกติได้ด้วย

 
การผ่าตัดแก้ไขตาเหล่ในทารกอายุ 8 เดือน

การบริหาร แก้

เหมือนกับโรคเกี่ยวกับการเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาอื่น ๆ จุดมุ่งหมายหลักของการรักษาก็เพื่อให้เห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาอย่างสบายตาและเป็นปกติ ในทุก ๆ ระยะและทุก ๆ มุมมอง[42]

ตาเหล่ในประเทศตะวันตกมักจะรักษาแบบผสมโดยใช้แว่นตา การบำบัดการเห็น (vision therapy) และการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับสาเหตุ เทียบกับตามัว/ตาขี้เกียจ (amblyopia) ซึ่งถ้าเล็กน้อยและตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะสามารถแก้ได้โดยใช้ผ้าปิดตาอีกข้างหนึ่งหรือการบำบัดการเห็น แต่การใช้ผ้าปิดตามีโอกาสเปลี่ยนมุมตาเหล่ได้น้อย

แว่นตา แก้

ในคนไข้ Accommodative esotropia ตาจะเหล่เข้าเพื่อพยายามโฟกัสตาที่มีสายตายาว และการรักษากรณีเช่นนี้จะต้องแก้ไขการหักเหของแสง ซึ่งปกติจะทำโดยใช้แว่นตาหรือเลนส์สัมผัส ในกรณีที่อำนาจการหักเหแสงของนัยน์ตาสองข้างต่างกันมาก (anisometropia) เลนส์สัมผัสอาจดีกว่าแว่นตาเพื่อเลี่ยงปัญหาการเห็นวัตถุเดียวแต่มีขนาดต่างกัน (aniseikonia) ซึ่งอาจเกิดจากแว่นตาที่มีอำนาจการหักเหแสงที่ต่างกันมากระหว่างสองตา ในกรณีเด็กตาเหล่จำนวนหนึ่งที่มี anisometropic amblyopia แพทย์จะลองใช้เลนส์หักเหแสงระดับต่าง ๆ กันก่อนผ่าตัดแก้ตาเหล่[43]

การรักษาตาเหล่ตั้งแต่เนิ่น ๆ ในวัยทารกอาจลดโอกาสตามัว (amblyopia) หรือมีปัญหาการรู้ความใกล้ไกล แต่งานทบทวนการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมสรุปว่า การใช้แว่นสายตาเพื่อป้องกันตาเหล่ไม่มีหลักฐานสนับสนุน[44]

เด็กโดยมากจะหายจากตามัวถ้าได้ผ้าปิดตาและแว่นสายตา[ต้องการอ้างอิง] แพทยศาสตร์พิจารณามานานแล้วว่า ปัญหาจะเป็นอย่างถาวรถ้าไม่รักษาในช่วงระยะเวลาสำคัญ ซึ่งก็คือก่อนอายุประมาณ 7 ขวบ[29] แต่งานศึกษาเมื่อไม่นานก็ให้เหตุผลคัดค้านมุมมองนี้ และเสนอให้เปลี่ยนช่วงระยะสำคัญ เพื่ออธิบายการกลับรู้ความใกล้ไกลได้ในวัยผู้ใหญ่

ตาที่คงเหล่สามารถมีปัญหาทางการเห็นอื่น ๆ เพิ่มขึ้น แม้จะแก้ตาเหล่ไม่ได้ แว่นปริซึมสามารถใช้ทำให้สบายและป้องกันไม่ให้เห็นภาพซ้อน

การผ่าตัด แก้

การผ่าตัดแก้ตาเหล่ไม่ได้ช่วยให้เด็กไม่ต้องใส่แว่นตา สำหรับเด็ก ปัจจุบันยังไม่รู้ว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ ระหว่างการผ่าตัดแก้ตาเหล่ก่อนหรือหลังการรักษาตามัว[45]

การผ่าตัดแก้ตาเหล่จะพยายามปรับตาให้ตรงโดยลดความยาว เพิ่มความยาว หรือเปลี่ยนตำแหน่งของกล้ามเนื้อตามัดหนึ่งหรือมากกว่านั้น ซึ่งสามารถทำได้ภายใน ชม. หนึ่ง โดยใช้เวลาฟื้นตัว 1-8 อาทิตย์ ไหมที่แก้ปรับได้อาจใช้เพื่อช่วยให้ปรับตาให้ตรงยิ่งขึ้นหลังการผ่าตัดในระยะต้น ๆ[46]

การมองเห็นเป็นสองภาพอาจเกิดแม้น้อยมาก โดยเฉพาะทันทีหลังผ่าตัด[ต้องการอ้างอิง] และการเสียการเห็นก็มีน้อยมาก แว่นตาจะมีผลต่อตำแหน่งตาเพราะเปลี่ยนรีเฟล็กซ์เนื่องกับการโฟกัสสายตา ส่วนปริซึมจะเปลี่ยนรูปแบบที่แสงและภาพจะมากระทบกับจอตา โดยเป็นการเลียนการเปลี่ยนตำแหน่งของตา[30]

ยา แก้

ยาจะใช้รักษาตาเหล่ในบางกรณี ในปี 2532 องค์การอาหารและยาสหรัฐอนุมัติการบำบัดด้วยโบทูลินั่ม ท็อกซิน สำหรับคนไข้ตาเหล่อายุมากกว่า 12 ขวบ[47][48] เป็นการรักษาที่ใช้สำหรับผู้ใหญ่โดยมาก แต่ก็ใช้ในเด็กด้วยโดยเฉพาะที่มี infantile esotropia[49][50][51] แพทย์จะฉีดท็อกซินเข้าในกล้ามเนื้อตามัดที่แข็งแรงกว่า ซึ่งทำให้อัมพาตชั่วคราว และอาจจะต้องฉีดซ้ำ 3-4 เดือนหลังจากที่ความอัมพาตหายไป ผลข้างเคียงสามัญรวมทั้งการเห็นภาพซ้อน หนังตาตก แก้เกิน และไร้ผล แต่ผลข้างเคียงปกติจะหมดไปภายใน 3-4 เดือน การรักษานี้รายงานว่า ได้ผลดีเท่ากับการผ่าตัดสำหรับคนไข้ที่สามารถเห็นภาพเดียวด้วยสองตา และได้ผลดีน้อยกว่าสำหรับคนไข้ที่เห็นภาพซ้อนด้วยสองตา[52]

พยากรณ์โรค แก้

ถ้าตาเหล่ตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดในช่วงวัยทารก อาจจะเป็นเหตุให้ตามัว (amblyopia) ที่สมองจะไม่สนใจข้อมูลสายตาจากตาที่มีปัญหา แม้จะบำบัดรักษาตามัว การไม่รู้ใกล้ไกล (stereoblindness) ก็ยังอาจเกิดได้ ตาเหล่ยังทำให้เกิดปัญหาภาพพจน์ส่วนบุคคล งานศึกษาหนึ่งแสดงว่า คนไข้ผู้ใหญ่ 85% "รายงานว่ามีปัญหาในที่ทำงาน ในสถาบันการศึกษา และการกีฬาเพราะตาที่เหล่ของตน" คนไข้งานศึกษาเดียวกัน 70% รายงานว่า ตาเหล่ "มีผลลบต่อภาพพจน์ของตนเอง"[53] บ่อยครั้ง คนไข้ต้องผ่านการผ่าตัดเป็นครั้งที่สองเพื่อทำตาให้ตรง[27][ต้องการเลขหน้า]

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Strabismus noun - Definition, pictures, pronunciation and usage notes | Oxford Advanced Learner's Dictionary". www.oxfordlearnersdictionaries.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-08-01.
  2. "Visual Processing: Strabismus". National Eye Institute. National Institutes of Health. 2010-06-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-05. สืบค้นเมื่อ 2016-10-02.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 3.15 3.16 3.17 3.18 3.19 3.20 3.21 Gunton, KB; Wasserman, BN; DeBenedictis, C (2015). "Strabismus". Primary care. 42 (3): 393–407. doi:10.1016/j.pop.2015.05.006. PMID 26319345.
  4. "Strabismus", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) ตาเหล่ ตาเข
  5. Brown, Lesley (1993). The New shorter Oxford English dictionary on historical principles. Oxford: Clarendon. pp. Strabismus. ISBN 0-19-861271-0.
  6. "strabismus". English: Oxford Living Dictionaries. Oxford University Press. 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-21. สืบค้นเมื่อ 2016-04-06.
  7. "wall eye". English: Oxford Living Dictionaries. Oxford University Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-05. สืบค้นเมื่อ 2017-05-16.
  8. Huether, Sue E; Rodway, George; DeFriez, Curtis (2014). "16 - Pain, Temperature Regulation, Sleep, and Sensory Function". ใน McCance, Kathryn L; Huether, Sue E; Brashers, Valentina L; Neal S, Rote. (บ.ก.). Pathophysiology: the biologic basis for disease in adults and children (7th ed.). Mosby. Chapter 16 Pain, Temperature Regulation, Sleep, and Sensory Function, pp. 509. ISBN 978-0-323-08854-1. Strabismus is the deviation of one eye from the other when a person is looking at an object; it results in failure of the two eyes to simultaneously focus on the same image and therefore loss of binocular vision.
  9. "strabismus (n.)". Online Etymology Dictionary. Douglas Harper. สืบค้นเมื่อ 2016-10-02.
  10. 10.0 10.1 Satterfield, Denise; Keltner, John L.; Morrison, Thomas L. (1993). "Psychosocial Aspects of Strabismus Study". Archives of Ophthalmology. 111 (8): 1100–5. doi:10.1001/archopht.1993.01090080096024 – โดยทาง JAMA Network.
  11. 11.0 11.1 Olitsky, S.E.; Sudesh, S.; Graziano, A.; Hamblen, J.; Brooks, S.E.; Shaha, S.H. (1999). "The negative psychosocial impact of strabismus in adults". Journal of American Association for Pediatric Ophthalmology and Strabismus. 3 (4): 209–211. doi:10.1016/S1091-8531(99)70004-2. PMID 10477222.
  12. 12.0 12.1 Uretmen, Onder; Egrilmez, Sait; Kose, Süheyla; Pamukçu, Kemal; Akkin, Cezmi; Palamar, Melis (2003). "Negative social bias against children with strabismus". Acta Ophthalmologica Scandinavica. 81 (2): 138–42. doi:10.1034/j.1600-0420.2003.00024.x.
  13. See peer discussion in: Mets, Marilyn B.; Beauchamp, Cynthia; Haldi, Betty Anne (2003). "Binocularity following surgical correction of strabismus in adults". Transactions of the American Ophthalmological Society. 101: 201–7. PMC 1358989. PMID 14971578.
  14. "Strabismus". All About Vision. Access Media Group.
  15. Bernfeld, A. (1982). "Les repercussions psychologiques du strabisme chez l'enfant" [Psychological repercussions of strabismus in children]. Journal francais d'ophtalmologie (ภาษาฝรั่งเศส). 5 (8–9): 523–30. PMID 7142664.
  16. Tonge, Bruce J.; Lipton, George L.; Crawford, Gwen (1984). "Psychological and Educational Correlates of Strabismus in School Children". Australian and New Zealand Journal of Psychiatry. 18 (1): 71–7. doi:10.3109/00048678409161038 – โดยทาง Taylor & Francis Online.
  17. Mohney, B.G.; McKenzie, J.A.; Capo, J.A.; Nusz, K.J.; Mrazek, D.; Diehl, N.N. (2008). "Mental Illness in Young Adults Who Had Strabismus as Children". Pediatrics. 122 (5): 1033–1038. doi:10.1542/peds.2007-3484. PMC 2762944. PMID 18977984.
  18. Beauchamp, George R.; Felius, Joost; Stager, David R.; Beauchamp, Cynthia L. (2005). "The utility of strabismus in adults". Transactions of the American Ophthalmological Society. 103 (103): 164–172. PMC 1447571. PMID 17057800.
  19. Mojon-Azzi, Stefania M.; Mojon, Daniel S. (2009). "Strabismus and employment: the opinion of headhunters". Acta Ophthalmologica. 87 (7): 784–788. doi:10.1111/j.1755-3768.2008.01352.x. PMID 18976309.
  20. Mojon-Azzi, Stefania M.; Mojon, Daniel S. (2007). "Opinion of Headhunters about the Ability of Strabismic Subjects to Obtain Employment". Ophthalmologica. 221 (6): 430–3. doi:10.1159/000107506. PMID 17947833.
  21. Mojon-Azzi, Stefania Margherita; Kunz, Andrea; Mojon, Daniel Stephane (2011). "The perception of strabismus by children and adults". Graefe's Archive for Clinical and Experimental Ophthalmology. 249 (5): 753–7. doi:10.1007/s00417-010-1555-y. PMID 21063886.
  22. Burke, J.P.; Leach, C.M.; Davis, H. (1997). "Psychosocial implications of strabismus surgery in adults". Journal of Pediatric Ophthalmology and Strabismus. 34 (3): 159–64. PMID 9168420.
  23. Durnian, Jonathan M.; Noonan, Carmel P.; Marsh, Ian B. (2011). "The psychosocial effects of adult strabismus: a review". British Journal of Ophthalmology. 95 (4): 450–3. doi:10.1136/bjo.2010.188425. PMID 20852320.
  24. Jackson, Sue; Gleeson, Kate (2013). "Living and coping with strabismus as an adult". European Medical Journal Ophthalmology. 1: 15–22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-21. สืบค้นเมื่อ 2017-11-30.
  25. MacKenzie, K; Hancox, J; McBain, H; Ezra, DG; Adams, G; Newman, S (2016). "Psychosocial interventions for improving quality of life outcomes in adults undergoing strabismus surgery". Cochrane Database of Systematic Reviews. 5: CD010092. doi:10.1002/14651858.CD010092.pub4. PMID 27171652.
  26. Billson 2003, Restrictive causes of adult strabismus, pp. 50-53
  27. 27.0 27.1 27.2 Riordan-Eva, Paul; Whitcher, John P, บ.ก. (2007). "12 Strabismus". Vaughan & Asbury's General Ophthalmology (17th ed.). McGraw-Hill Medical. ISBN 978-0071104456.
  28. Tychsen, Lawrence (2012). "The Cause of Infantile Strabismus Lies Upstairs in the Cerebral Cortex, Not Downstairs in the Brainstem". Archives of Ophthalmology. 130 (8): 1060–1. doi:10.1001/archophthalmol.2012.1481 – โดยทาง JAMA Network.
  29. 29.0 29.1 Nield, Linda S.; Mangano, Linn M. (2009). "Strabismus: What to Tell Parents and When to Consider Surgery". Consultant. 49 (4).
  30. 30.0 30.1 "Strabismus". MedlinePlus Encyclopedia. US National Library of Medicine, National Institutes of Health. สืบค้นเมื่อ 2013-04-05.
  31. 31.0 31.1 Rosenbaum, Arthur L.; Santiago, Alvina Pauline (1999). Clinical Strabismus Management: Principles and Surgical Techniques. David Hunter. p. 193-194. ISBN 978-0-7216-7673-9. สืบค้นเมื่อ 2016-06-21 – โดยทาง Google Books.
  32. Havertape, S.A.; Cruz, O.A.; Chu, F.C. (2001). "Sensory strabismus—eso or exo?". Journal of Pediatric Ophthalmology and Strabismus. 38 (6): 327–30. PMID 11759769.
  33. Havertape, Susan A.; Cruz, Oscar A. (2001). "Sensory Strabismus: When Does it Happen and Which Way Do They Turn?". American Orthopic Journal. 51 (1): 36–38. doi:10.3368/aoj.51.1.36.
  34. Albert, Daniel M.; Perkins, Edward S.; Gamm, David M. (2017-03-24). "Eye disease". Encyclopædia Britannica. Strabismus (squint).
  35. Rubin, Melvin L.; Winograd, Lawrence A. (2003). "Crossed Eyes (Strabismus) : Did you really understand what your eye doctor told you?". Taking Care of Your Eyes: A Collection of the Patient Education Handouts Used by America's Leading Eye Doctors. Triad Communications. ISBN 0-937404-61-6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-25. สืบค้นเมื่อ 2017-11-30.
  36. Martinez-Thompson, Jennifer M.; Diehl, Nancy N.; Holmes, Jonathan M.; Mohney, Brian G. (2014). "Incidence, Types, and Lifetime Risk of Adult-Onset Strabismus". Ophthalmology. 121 (4): 877–82. doi:10.1016/j.ophtha.2013.10.030. PMC 4321874. PMID 24321142 – โดยทาง ScienceDirect.
  37. Friedman, Neil J.; Kaiser, Peter K.; Pineda, Roberto (2009). The Massachusetts Eye and Ear Infirmary illustrated manual of ophthalmology (3rd ed.). Saunders/Elsevier. ISBN 978-1-4377-0908-7.
  38. "concomitant strabimus". TheFreeDictionary. Farlex.
  39. 39.0 39.1 Wright, Kenneth Weston; Spiegel, Peter H. (2003). Pediatric Ophthalmology and Strabismus. Springer Science & Business Media. p. 155. ISBN 978-0-387-95478-3 – โดยทาง Google Books.
  40. "Adult Strabismus Surgery - 2013". ONE Network. American Association of Ophthalmology. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-07. สืบค้นเมื่อ 2014-09-06.
  41. Engle, Elizabeth C. (2007). "Genetic Basis of Congenital Strabismus". Archves of Ophthalmology. 125 (2): 189–195. doi:10.1001/archopht.125.2.189. PMID 17296894.
  42. Eskridge, JB (1993). "Persistent diplopia associated with strabismus surgery". Optom Vis Sci. 70 (10): 849–53. doi:10.1097/00006324-199310000-00013. PMID 8247489.
  43. William F. Astle; Jamalia Rahmat; April D. Ingram; Peter T. Huang (2007). "Laser-assisted subepithelial keratectomy for anisometropic amblyopia in children: Outcomes at 1 year". Journal of Cataract & Refractive Surgery. 33 (12): 2028–2034. doi:10.1016/j.jcrs.2007.07.024.
  44. Jones-Jordan, L; Wang, X; Scherer, RW; Mutti, DO (2014). "Topical Spectacle correction versus no spectacles for prevention of strabismus in hyperopic children". Cochrane Database Syst Rev. 8 (8): CD007738. doi:10.1002/14651858.CD007738.pub2. PMC 4259577. PMID 25133974.
  45. Korah, S; Philip, S; Jasper, S; Antonio-Santos, A; Braganza, A (2014). "Strabismus surgery before versus after completion of amblyopia therapy in children". Cochrane Database Syst Rev. 10 (10): CD009272. doi:10.1002/14651858.CD009272.pub2. PMC 4438561. PMID 25315969.
  46. Parikh, RK; Leffler, CT (2013). "Loop suture technique for optional adjustment in strabismus surgery". Middle East African Journal of Ophthalmology. 20 (3): 225–8. doi:10.4103/0974-9233.114797. PMC 3757632. PMID 24014986. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-01. สืบค้นเมื่อ 2017-11-30.
  47. "Re: Docket No. FDA-2008-P-0061" (PDF). Food and Drug Administration. United States Department of Health and Human Services. 2009-04-30. สืบค้นเมื่อ 2014-04-06.
  48. Kowal, Lionel; Wong, Elaine; Yahalom, Claudia (2007-12-15). "Botulinum toxin in the treatment of strabismus: A review of its use and effects". Disability and Rehabilitation. 29 (23): 1823–31. doi:10.1080/09638280701568189. PMID 18033607.
  49. Thouvenin, D; Lesage-Beaudon, C; Arné, JL (2008). "Injection de toxine botulique dans les strabismes precoces. Efficacite et incidence sur les indications chirurgicales ulterieures. A propos de 74 cas traites avant l'age de 36 mois" [Botulinum injection in infantile strabismus. Results and incidence on secondary surgery in a long-term survey of 74 cases treated before 36 months of age]. Journal Francais d'Ophtalmologie (ภาษาฝรั่งเศส). 31 (1): 42–50. PMID 18401298.
  50. de Alba Campomanes, AG; Binenbaum, G; Campomanes Eguiarte, G (2010). "Comparison of botulinum toxin with surgery as primary treatment for infantile esotropia". Journal of American Association for Pediatric Ophthalmology and Strabismus. 14 (2): 111–116. doi:10.1016/j.jaapos.2009.12.162. PMID 20451851.
  51. Gursoy, Huseyin; Basmak, Hikmet; Sahin, Afsun; Yildirim, Nilgun; Aydin, Yasemin; Colak, Ertugrul (2012). "Long-term follow-up of bilateral botulinum toxin injections versus bilateral recessions of the medial rectus muscles for treatment of infantile esotropia". Journal of American Association for Pediatric Ophthalmology and Strabismus. 16 (3): 269–273. doi:10.1016/j.jaapos.2012.01.010. ISSN 1091-8531. PMID 22681945.
  52. Rowe, FJ; Noonan, CP (2017). "Botulinum toxin for the treatment of strabismus". Cochrane Database Syst Rev (3): CD006499. doi:10.1002/14651858.CD006499.pub4. PMID 28253424.
  53. "Treatment for "lazy eye" is more than cosmetic". Scribe/Alum Notes. Wayne State University. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-26.

แหล่งอ้างอิงอื่น ๆ แก้

  • Billson, Frank (2003). Lightman, Susan (บ.ก.). Strabismus. Fundamentals of Clinical Ophthalmology series. BMJ Books. ISBN 0727915622.
  • Donahue, Sean P.; Buckley, Edward G.; Christiansen, Stephen P.; Cruz, Oscar A.; Dagi, Linda R. (2014). "Difficult problems: strabismus". Journal of American Association for Pediatric Ophthalmology and Strabismus (JAAPOS). 18 (4): e41. doi:10.1016/j.jaapos.2014.07.132.
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก