ในวิชาวิทยาการระบาด ตัวนำโรค (อังกฤษ: vector) เป็นตัวการใด ๆ ที่นำและแพร่จุลชีพก่อโรคไปยังสิ่งมีชีวิตอีกตัวหนึ่ง[1][2] ตัวนำโรคส่วนใหญ่เป็นสิ่งมีชีวิต เช่น ปรสิตมัธยันตร์หรือจุลินทรีย์ แต่บ้างเป็นตัวกลางการติดเชื้อที่ไม่มีชีวิต เช่น อนุภาคฝุ่น[3]

ยุงไม่นานหลังดูดเลือดจากมนุษย์ (สังเกตหยดพลาสมาเลือดถูกขับออกมาเมื่อยุงบีบไล่น้ำส่วนเกิน) ยุงเป็นตัวนำโรคหลายโรค ที่เด่นที่สุดคือ มาลาเรีย

สัตว์ขาปล้อง แก้

 
เห็บกวาง ตัวนำโรคสำหรับจุลชีพก่อโรคไลม์

สัตว์ขาปล้องเป็นตัวนำจุลชีพกลุ่มสำคัญ ได้แก่ ยุง แมลงวัน แมลงวันทราย เหา หมัด เห็บและไรซึ่งแพร่เชื้อจุลชีพจำนวนมาก สัตว์ขาปล้องหลายชนิดดังกล่าวเป็นสัตว์ดื่มเลือดในบางระยะหรือทุกระยะของชีวิต เมื่อแมลงเหล่านี้ดูดเลือด จุลชีพจะเข้าสู่กระแสเลือดของตัวถูกเบียน ทั้งนี้ การเข้าสู่กระแสเลือดเกิดขึ้นได้หลายทาง[4][5]

ยุงก้นปล่องซึ่งเป็นพาหะมาลาเรีย โรคเท้าช้าง และไวรัสที่ติดต่อทางสัตว์ขาปล้องหลายชนิด (ไวรัสอาร์โบ) แทรกส่วนปากที่ละเอียดอ่อนเข้าไปใต้ผิวหนังและดื่มเลือดของตัวถูกเบียน ปรสิตที่มากับยุงปกติพบในต่อมน้ำลาย (ซึ่งยุงใช้เพื่อระงับความรู้สึกของตัวถูกเบียน) ฉะนั้น ปรสิตจึงมีการแพร่เข้าสู่กระแสเลือดของตัวถูกเบียนโดยตรง สัตว์ที่อาศัยอยู่ในหนองบึงอย่างแมลงวันทราย และแมลงวันดำ ตัวนำโรคที่ก่อโรคติดเชื้อลิชมาเนีย (leishmaniasis) และโรคพยาธิตาบอด (onchocerciasis) ตามลำดับ จะเคี้ยวบ่อในผิวหนังของตัวถูกเบียน ก่อให้เกิดบ่อเลือดขนาดเล็กซึ่งจะใช้ดูดกิน ปรสิตสกุล Leishmania จะติดต่อตัวถูกเบียนผ่านทางน้ำลายของแมลงวันทราย ส่วน Onchocerca จะออกมาเองจากหัวของแมลงเข้าสู่แอ่งเลือด

แมลงไทรอะทอมินี (Triatomine) เป็นตัวส่งผ่าน้เชื้อ Trypanosoma cruzi ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคชากาส แมลงไทรอะทอมินีขับถ่ายระหว่างกินอาหารและมูลของมันมีปรสิตซึ่งจะเกลี่ยเข้าสู่แผลเปิดเมื่อตัวถูกเบียนถูหรือเกาเพราะรอยกัดของแมลงเจ็บและระคายเคือง

พืชและเห็ดรา แก้

พืชและเห็ดราบางชนิดเป็นตัวนำโรคหลายชนิด ตัวอย่าเช่น โรคเส้นใยขยายใหญ่ (big-vein disease) ของกะหล่ำปลีเชื่อว่าเกิดจากเห็ดรา Olpidium brassicae มาช้านาน จนสุดท้ายพบว่าเกิดจากไวรัส ต่อมา ปรากฏว่าไวรัสนั้นแพร่เชื้อโดยซูสปอร์ (zoospore) ของเชื้อราและยังมีชีวิตอยู่ได้ในสปอร์ที่ยังพักอยู่ นับแต่นั้น เห็ดราอื่นอีกหลายชนิดในไฟลัม Chytridiomycota ก็พบว่าเป็นตัวนำโรคไวรัสพืชหลายชนิดเช่นเดียวกัน[6]

ศัตรูพืชหลายชนิดที่สร้างความเสียหายแก่พืชผลสำคัญอาศัยพืชอื่น ซึ่งมักเป็นวัชพืช เพื่อเป็นที่อาศัยและเป็นตัวพา ตัวอย่างเช่น Berberis และสกุลที่เกี่ยวข้องเป็นตัวถูกเบียนทางเลือดในวัฏจักรการติดเชื้อเมล็ดในกรณีของ Puccinia graminis[7]

เมื่อพืชปรสิตอย่าง Cuscuta และ Cassytha พันรอบต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง พบว่าสามารถถ่ายทอดโรคไฟโตพลาสมาและไวรัสระหว่างพืชได้[8][6]

องค์การอนามัยโลกกับโรคที่มากับตัวนำโรค แก้

องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าการควบคุมและป้องกันโรคที่มากับตัวนำโรคกำลังเน้นย้ำ "การจัดการตัวนำโรคแบบบูรณาการ (IVM)"[9] ซึ่งเป็นแนวทางซึ่งมองความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพกับสิ่งแวดล้อม โดยให้เกิดประโยชน์ทั้งสองด้านอย่างสูงสุด[10]

ในเดือนเมษายน 2557 WHO เปิดตัวการรณรงค์ชื่อ "กัดคำเล็ก ภัยคุกคามใหญ่" (small bite, big threat) เพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคที่มากับตัวนำโรค WHO ออกรายงานที่ระบุว่าโรคที่มากับตัวนำโรคมีผลกระทบต่อคนยากจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ระดับสุขาภิบาล น้ำดื่มและที่อยู่อาศัยไม่เพียงพอ[11]

โรครับจากสัตว์ที่มากับตัวนำโรคและกิจกรรมมนุษย์ แก้

หลายบทความ ซึ่งล่าสุดเมื่อต้นปี 2557 เตือนว่ากิจกรรมของมนุษย์กำลังแพร่โรครับจากสัตว์ที่มากับตัวนำโรค หลายบทความจัดพิมพ์ในวารสารการแพทย์ เดอะแลนซิต และอภิปรายว่าการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินแย่างรวดเร็ว โลกาภิวัฒน์ด้านการค้า และ "กลียุคทาสังคม" ก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของโรครับจากสัตว์ทั่วโลกได้อย่างไร[12]

ตัวอย่างโรครับจากสัตว์ที่มากับตัวนำโรค ได้แก่ โรคไลม์ กาฬโรค ไวรัสเวสต์ไนล์[13] มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่ออุบัติการณ์ของโรคที่มากับตัวนำโรค ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่สัตว์ที่เป็นตัวถูกเบียนของโรค ตัวนำโรค และมนุษย์[13]

 
รูปแสดงวิธีการที่ไวรัสฟลาวีมียุงพาในโรคไข้ไวรัสเวสต์ไนล์และไข้เด็งกี กรณีนี้ยุงถือเป็นตัวนำโรค

อ้างอิง แก้

  1. "Vector". WordNet Search 3.1. Princeton University. สืบค้นเมื่อ 7 April 2014.
  2. Last, James, บ.ก. (2001). A Dictionary of Epidemiology. New York: Oxford University Press. p. 185. ISBN 978-0-19-514169-6. OCLC 207797812.
  3. Roberts, Larry S.; John, Janovy; Gerald D., Schmidt (2008). Foundations of Parasitology. McGraw Hill. ISBN 978-0-07-302827-9. OCLC 226356765.
  4. "Classification of Animal Parasites". plpnemweb.ucdavis.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-06. สืบค้นเมื่อ 2020-05-10.
  5. Garcia, Lynne S. (August 15, 1999). "Classification of Human Parasites, Vectors, and Similar Organisms". Clinical Infectious Diseases. 29 (4): 734–736. doi:10.1086/520425 – โดยทาง academic.oup.com.
  6. 6.0 6.1 R. S. Mehrotra (2013). Fundamentals of Plant Pathology. Tata McGraw-Hill Education. pp. 342–. ISBN 978-1-259-02955-4.
  7. Peter W. Price (1980). Evolutionary Biology of Parasites. Princeton University Press. pp. 61–. ISBN 0-691-08257-X.
  8. Haynes, A R. et al. Comparison of two parasitic vines: Dodder (Cuscuta) and Woe vine(Cassytha). Florida Dept Agric & Consumer Services. Division of Plant Industry. Botany Circular No. 30. January/February 1996
  9. "Handbook for Integrated Vector Management" (PDF). World Health Organization. สืบค้นเมื่อ 3 December 2015.
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ heli
  11. Parrish, Ryan (7 April 2014). "WHO focuses on vector-borne diseases for World Health Day 2014". Vaccine News Daily. Chicago, Illinois. สืบค้นเมื่อ 7 April 2014.
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ lancet
  13. 13.0 13.1 University of California - Santa Cruz (30 November 2012). "Emerging vector-borne diseases create new public health challenges". Science Daily. Rockville, Maryland. สืบค้นเมื่อ 7 April 2014.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้