ตัวชี้วัดของไมเออร์ส-บริกส์

การประเมินตัวชี้วัดของไมเออร์ส-บริกส์ (อังกฤษ: Myers-Briggs Type Indicator, ย่อ: MBTI) เป็นแบบสอบถามทางจิตวิทยาที่ออกแบบมาเพื่อวัดความโน้มเอียงทางจิตว่าบุคคลรับรู้โลกและตัดสินใจอย่างไร[1]: 1  ความโน้มเอียงเหล่านี้ได้จากทฤษฎีการจัดกลุ่มที่เสนอโดยคาร์ล กุสทัฟ ยุง และตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือ ประเภททางจิตวิทยา (Psychological Types) ของเขาในปี 1921 ยุงตั้งทฤษฎีว่า มีการทำหน้าที่ทางจิตวิทยาหลักสี่อย่างที่เราได้รับประสบการณ์จากโลก ได้แก่ การสัมผัส การรู้เอง การรู้สึกและการคิด[2] ซึ่งการทำหน้าที่หนึ่งในสี่อย่างนี้จะโดดเด่นเป็นส่วนใหญ่

ผู้พัฒนาการประเมินบุคลิกภาพดั้งเดิม คือ แคทเธอริน คุก บริกส์ และบุตรี อิซาเบล บริกส์ ไมเออร์ส ทั้งสองได้ศึกษางานของคาร์ล ยุงอย่างกว้างขวาง และหันความสนใจในพฤติกรรมของมนุษย์มาเป็นอุทิศให้แก่การเปลี่ยนทฤษฎีประเภททางจิตวิทยามาใช้ภาคปฏิบัติ[3] ทั้งสองเริ่มสร้างตัวชี้วัดระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเชื่อว่าความรู้ความโน้มเอียงทางบุคลิกภาพจะช่วยหญิงที่เข้าสู่กำลังแรงงานอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรกระบุประเภทอาชีพยามสงครามที่จะ "สบายและมีประสิทธิภาพที่สุด"[1]: xiii  แบบสอบถามเริ่มต้นได้เติบโตเป็นตัวชี้วัดของไมเออร์ส-บริกส์ ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1962 MBTI เน้นประชากรปกติและให้ความสำคัญต่อคุณค่าของความแตกต่างที่เกิดตามธรรมชาติ[4] โรเบิร์ต แคปแลน และเดนนิส แซกคุสโซ เชื่อว่า "ข้อสันนิษฐานเบื้องหลังของ MBTI คือ เราต่างมีความโน้มเอียงเฉพาะในทางที่เราวิเคราะห์ประสบการณ์ของเรา และความโน้มเอียงเหล่านี้ที่เป็นฐานแห่งความสนใจ ความต้องการ ค่านิยมและแรงจูงใจของเรา"[5]: 499 

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Myers, Isabel Briggs with Peter B. Myers (1980, 1995). Gifts Differing: Understanding Personality Type. Mountain View, CA: Davies-Black Publishing. ISBN 0-89106-074-X. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  2. Kaplan, R.M., & Saccuzzo, D.P. (2009). Psychological testing: Principle, applications, and issues. Belmont, CA: Wadsworth
  3. Center for Applications of Psychological Type. (2012). The story of Isabel Briggs Myers. Retrieved from http://www.capt.org/mbti-assessment/isabel-myers.htm
  4. Pearman, Roger R. (1997). I'm Not Crazy, I'm Just Not You (First ed.). Palo Alto, California: Davies-Black Publishing. xiii. ISBN 0-89106-096-0. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  5. Kaplan, R.M., & Saccuzzo, D.P. (2009). Psychological testing: Principle, applications, and issues. Belmont, CA: Wadsworth