ตะวันเดือด เป็นละครโทรทัศน์ในปี พ.ศ. 2554 ผลิตโดย บริษัท เมตตาและมหานิยม จำกัด บทประพันธ์และบทละครโทรทัศน์โดย ณพุทธ สุศรี กำกับการแสดงโดย อรรถพร ธีมากร นำแสดงโดย ปริญ สุภารัตน์, อุรัสยา เสปอร์บันด์, ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ และ ชาลิดา วิจิตรวงศ์ทอง[1][2] ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ทุกวันศุกร์เวลา 20.30–22.30 น. เสาร์–อาทิตย์ เวลา 20.15–22.15 น.

ตะวันเดือด
สร้างโดยบริษัท เมตตาและมหานิยม จำกัด
เขียนโดยณพุทธ สุศรี
กำกับโดยอรรถพร ธีมากร
แสดงนำปริญ สุภารัตน์
อุรัสยา เสปอร์บันด์
ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ
ชาลิดา วิจิตรวงศ์ทอง
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดตะวันเดือด – คงเดช จาตุรันต์รัศมี
ดนตรีแก่นเรื่องปิดนาฬิกาตาย – อุรัสยา เสปอร์บันด์
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย ประเทศไทย
ภาษาต้นฉบับไทย ภาษาไทย
จำนวนตอน16 ตอน
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างฉัตรชัย เปล่งพานิช
ออกอากาศ
เครือข่ายสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
ออกอากาศ14 สิงหาคม พ.ศ. 2554 –
18 กันยายน พ.ศ. 2554
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
4+1 แชนแนลทรี ซูเปอร์สตาร์

ก่อนหน้านี้ ตะวันเดือด เคยสร้างเป็นฉบับภาพยนตร์เมื่อปี พ.ศ. 2532 กำกับการแสดงโดย สุรพล อุระชื่น นำแสดงโดย ฉัตรชัย เปล่งพานิช, ไพชญิน เอี่ยมนาค, ศิริพร มารอนนี่, ลักษณ์ อภิชาติ และ ภูมิ พัฒนายุทธ[3]

นักแสดง แก้

บทบาทนำ แก้

บทบาทสมทบ แก้

รับเชิญ แก้

การผลิต แก้

ตะวันเดือด ผลิตโดยบริษัทเมตตาและมหานิยม จำกัด ของนักแสดง ฉัตรชัย เปล่งพานิช กำกับโดย อรรถพร ธีมากร และประพันธ์บทละครโทรทัศน์โดย ณพุทธ สุศรี มีฉากหลังเป็นคาวบอยตะวันตก ใช้เวลาถ่ายทำนาน 8–9 เดือน ส่วนใหญ่มีการถ่ายทำในจังหวัดสระบุรี เช่น ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ก ไร่ลำภูทอง บ่อลูกรังนนท์ศิลา-สองโทน รวมถึงมีการเซ็ตฉากขึ้นมาใหม่เป็นเมืองสมมุตินามว่า ภูพระกาฬ ในไร่ไบคาน อำเภอแก่งคอย ซึ่งใช้เวลาในการสร้างทั้งหมด 5 เดือน และอีกส่วนหนึ่งมีการถ่ายทำในอำเภอวังน้ำเขียว อำเภอพระนครศรีอยุธยา ส่วนการคัดตัวนักแสดงนั้น เกิดจากการทดสอบหน้ากล้องทั้งหมด (casting)[4][5]

ยานพาหนะที่สำคัญในละครคือ ม้า ซึ่งต้องเตรียมเข้าฉากทุกวันถึง 20 ตัวในหลากหลายสายพันธุ์เช่น ลูกผสมไทย, ควอเตอร์-อาราเบียน เป็นต้น รวมถึงมีการใช้อาวุธเป็นปืนรวม 100 กระบอกทั้งปืนสั้น ปืนยาว ปืนคาวบอย และปืนพกลูเกอร์ นอกจากนี้ยังมีอาวุธอื่น ๆ ที่ใช้ในการประกอบฉาก เช่น มีดสั้น คาตานะ และดาวกระจาย[4]

เพลงประกอบละคร แก้

คงเดช จาตุรันต์รัศมี เป็นผู้ประพันธ์เพลง "ตะวันเดือด" ซึ่งเป็นเพลงเปิดที่เขาร้องร่วมกับบิ๊ก ธานัท ส่วนเพลงปิดคือเพลง "นาฬิกาตาย" ขับร้องโดยอุรัสยา เสปอร์บันด์ ส่วนเพลงอื่น ๆ ในละครได้แก่เพลง "หีบเล็ก หีบใหญ่" ร้องโดยนครินทร์ กิ่งศักดิ์ และ "นาฬิกาตาย" ร้องโดยบอดี้สแลม

การตอบรับ แก้

เรตติง แก้

ในตารางด้านล่าง ตัวเลขสีฟ้า แสดงถึงเรตติงที่ได้รับต่ำที่สุด และ ตัวเลขสีแดง แสดงถึงเรตติงที่ได้รับสูงที่สุด

ตอน วันที่ออกอากาศ เรตติง
ทั่วประเทศ
1 14 สิงหาคม 2554 7.8%
2 19 สิงหาคม 2554 8.6%
3 20 สิงหาคม 2554 10.8%
4 21 สิงหาคม 2554 11.2%
5 26 สิงหาคม 2554 10.2%
6 27 สิงหาคม 2554 10.6%
7 28 สิงหาคม 2554 10.8%
8 2 กันยายน 2554 11.4%
9 3 กันยายน 2554 11.8%
10 4 กันยายน 2554 12.6%
11 9 กันยายน 2554 10.9%
12 10 กันยายน 2554 11.6%
13 11 กันยายน 2554 12.9%
14 16 กันยายน 2554 13.4%
15 17 กันยายน 2554 14.2%
16 18 กันยายน 2554 16.0%
เรตติงเฉลี่ย 11.55%[6]

รางวัล แก้

รางวัล สาขา ผล ผู้ได้รับการเสนอชื่อ
รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 3 กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง ยุทธนา โพธิโชติ
กำกับภาพยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง ภัทรกฤช ธนาบำรุงเรือง
ลำดับภาพยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง วัชระ หงสยาภรณ์
จินตนา เงินเจือ
เครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง ฐิติกรณ์ ศรีชื่น
บทโทรทัศน์ยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง ณพุทธ สุศรีเจริญสุข
ทีมนักแสดงยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง ตะวันเดือด
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง อุรัสยา เสปอร์บันด์
สีสันบันเทิงอวอร์ด ดาวรุ่งชายแห่งปี ได้รับรางวัล ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ
บทพ่อพระแห่งปี ได้รับรางวัล
ดาวร้ายแห่งปีฝ่ายชาย ได้รับรางวัล จอนนี่ แอนโฟเน่
โปรดักชั่นแห่งปี ได้รับรางวัล อรรถพร ธีมากร
คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 9 บทโทรทัศน์ยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง ณพุทธ สุศรีเจริญสุข
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง จอนนี่ แอนโฟเน่
ผู้กำกับละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม ได้รับรางวัล อรรถพร ธีมากร
ละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง ตะวันเดือด
นักแสดงหญิงยอดนิยม ได้รับรางวัล อุรัสยา เสปอร์บันด์
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ผู้กำกับละครดีเด่น เสนอชื่อเข้าชิง อรรถพร ธีมากร
บทละครโทรทัศน์ดีเด่น เสนอชื่อเข้าชิง ณพุทธ สุศรีเจริญสุข
องค์ประกอบศิลป์ดีเด่น เสนอชื่อเข้าชิง ตะวันเดือด
นักแสดงสนับสนุนชายดีเด่น เสนอชื่อเข้าชิง ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 24 องค์ประกอบศิลป์เมขลามหานิยมแห่งปี ได้รับรางวัล ตะวันเดือด
เอ็มไทยท็อปทอล์กอะเบาต์ 2012 ละครที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด ได้รับรางวัล[7] ตะวันเดือด

อ้างอิง แก้

  1. ญาญ่า พบ หมาก มิ้นต์ โป๊ป ลงละครใหม่ ตะวันเดือด kapook.com
  2. 'นก'ปลื้ม'ตะวันเดือด'แรง[ลิงก์เสีย] komchadluek.net
  3. ภาพยนตร์ ตะวันเดือด (2532) thaifilmdb.com
  4. 4.0 4.1 "รายการ เปิดกองวิก 3 ตะวันเดือด" ช่องสาม วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554
  5. "" หมาก - ญาญ่า" บู๊กระหน่ำอีกครั้งใน" ตะวันเดือด"". ผู้จัดการออนไลน์. 26 กันยายน 2562. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. ""หมาก-ญาญ่า" สลัดภาพทุ่มสุดตัวบู๊กระหน่ำเดือดหน้าจอ! กับมาดคาวบอย-คาวเกิร์ล ใน "ตะวันเดือด"". นิวส์พลัส. 27 กันยายน 2562. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ผลการประกาศรางวัลเอ็มไทยท็อปทอล์กอะเบาต์ เก็บถาวร 2015-03-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน mthai.com

แหล่งข้อมูลอื่น แก้