ตราแผ่นดินของอินโดนีเซีย

ตราแผ่นดินของอินโดนีเซีย มีชื่อว่า "ตราครุฑปัญจศีล" ลักษณะเป็นรูปครุฑมีขนปีกข้างละ 17 ขน หาง 8 ขน โคนหาง 19 ขน และคอ 45 ขน หมายถึง วันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ซึ่งเป็นวันประกาศเอกราช กลางตัวครุฑนั้นมีรูปโล่ ภายในโล่แบ่งเป็นสี่ส่วน และมีโล่ขนาดเล็กช้อนทับอีกชั้นหนึ่ง ดังบรรยายต่อไปนี้

  • ช่องซ้ายบนของโล่บรรจุรูปหัวควายป่า (ในภาษาอินโดนีเซียเรียกว่า "บันเต็ง") ถือเป็นสัญลักษณ์ของประชาชน
  • ช่องขวาบนบรรจุรูปต้นไทร (ในภาษาอินโดนีเซียเรียกว่า "เบอริงิน") หมายถึงลัทธิชาตินิยม
  • ช่องซ้ายล่างบรรจุรูปดอกฝ้ายและช่อรวงข้าว (ในภาษาอินโดนีเซียเรียกว่า "ปาดิ ดัน กา ปาส") ได้แก่ความยุติธรรมในสังคม
  • ช่องขวาล่างบรรจุสร้อยสีทองร้อยทรงสี่เหลี่ยมสลับทรงกลม (ในภาษาอินโดนีเซียเรียกว่า "รัน ไต้") คือหลักการของมนุษยธรรมและความผูกพันในสังคมมนุษย์ทื่ไม่มีจุดสิ้นสุด
  • พื้นโล่ของช่องซ้ายบนและขวาล่างนั้นมีสีแดง (ในภาษาอินโดนีเซียสีแดงเรียกว่า "เม รา") ส่วนช่องซ้ายล่างและขวาบนมีสีขาว (ในภาษาอินโดนีเซียสีขาวเรียกว่า "ปู ตี")
  • โล่ขนาดเล็กที่อยู่กลางนั้นมีสีดำ บรรจุรูปดาวสีทอง หมายถึง ความเชื่อในพระเจ้า
ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
ตราอาร์มรุ่นต่าง ๆ
รายละเอียด
ผู้ใช้ตราสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
เริ่มใช้11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493
โล่กลางตัวครุฑ ประกอบด้วยสัญลักษณ์แทนหลักปัญจศีล อันเป็นอุดมการณ์ชาติ
ประคองข้างครุฑ (ศิลปะชวา)
คำขวัญอินโดนีเซีย: Bhinneka Tunggal Ika (เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย)
ส่วนประกอบอื่นจำนวนขนในตัวครุฑ 45 ขน หมายถึง วันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ซึ่งเป็นวันประกาศเอกราช
การใช้ประทับที่หน้าปกหนังสือเดินทาง เอกสารทางราชการ และใช้ในวัตถุประสงค์อื่นของทางราชการ

เบื้องล่างของตราที่เท้าของครุฑนั้นจับแพรแถบสีขาว บรรจุคำขวัญประจำชาติซึ่งเขียนเป็นภาษาอินโดนีเซียอย่างเก่า ความว่า "Bhinneka Tunggal lka" (ในภาษาอินโดนีเซียเรียกว่า "บีเนก้า ตุงเกา อิกา") แปลได้ว่า "เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย"

เหตุที่เรียกว่าตราครุฑปัญจศีล เพราะในโล่กลางตรานี้ได้บรรจุสัญลักษณ์ของหลักการทางการเมือง 5 ข้อของอินโดนีเซีย (ปัญจศีล - ชื่อพ้องกับหลักปัญจศีลของพระพุทธศาสนา) ตรานี้ออกแบบโดยสุลต่านฮามิดที่ 2 แห่งปนตียานัก (Sultan Hamid II of Pontianak) และได้ประกาศใช้เป็นตราแผ่นดินของอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493

ประวัติ แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  • Department of Information, Republic of Indonesia (1999) Indonesia 1999: An Official Handbook

แหล่งข้อมูลอื่น แก้