ตราแผ่นดินของตรินิแดดและโตเบโก

ตราแผ่นดินของตรินิแดดและโตเบโก เป็นตราอาร์มที่สืบทอดรูปแบบมาจากดวงตราสหพันธรัฐอินดีสตะวันตก ออกแบบโดยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1962 เพื่อคัดเลือกแบบดวงตราแผ่นดินที่สื่อถึงประชาชนชาวตรินิแดดและโตเบโก คณะกรรมการได้มีมติเลือกแบบดวงตราที่ออกแบบโดย คาร์ลิสต์ ชาง (1921–2001) และ ผู้ออกแบบชุดคาร์นิวัล จอร์จ ไบเลย์ (1935–1970)[1][2]

ตราแผ่นดินของตรินิแดดและโตเบโก
ตราอาร์มรุ่นต่าง ๆ
ตราแผ่นดินของสหพันธรัฐอินดีสตะวันตก (ค.ศ. 1958-1962)
รายละเอียด
ผู้ใช้ตราสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (ประกาศใช้ครั้งแรก)
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (แก้ไขเพิ่มเติมและประกาศใช้แบบตราปัจจุบัน)
เริ่มใช้พ.ศ. 2432 (ประกาศใช้ครั้งแรก)
พ.ศ. 2501 (สหพันธรัฐอินดีสตะวันตก)
พ.ศ. 2505
เครื่องยอดสหพันธรัฐอินดีสตะวันตก :มือถือคบเพลิงเหนือผ้าโพกประดับหมวกเกราะสีขาว-แดง
ใหม่:ต้นปาล์มประกอบสมอเรือเหนือผ้าโพกประดับหมวกเกราะสีขาว-แดง.
โล่สหพันธรัฐอินดีสตะวันตก :สามเหลี่ยมสีขาวโดยมีแง่งคว่ำสีแดงคั่นอยู่บนโล่สีเหลือง ขอบภายนอกมีวงกลมสีเหลือง 10 วง บนแถบสีขาว-น้ำเงิน 8 แถบเรียงสลับกันอยู่ด้านล่าง ด้านบนสุดของโล่มีรูปสิงโตอังกฤษโบราณสีเหลืองบนแถบสีแดง
ตรินิแดดและโตเบโก : โล่สีแดงมีรูปเรือใบสามลำ ซึ่งเสากระโดงเรือทุกลำนั้นกางผ้าใบรูปกางเขนปลายบาน และ ด้านบนสุดของโล่มีแถบสีดำภายในมีรูปนกฮัมมิงเบิร์ดสีเหลืองสองตัวหันเข้าหากัน โดยมีแง่งสีขาวคั่นอยู่
ประคองข้างA scarlet ibis and a cocrico, both proper.
ฐานรองข้างภูเขาสามลูกที่สูงที่สุด หมายถึง ทรินิตีฮิลล์, และ กลุ่มโขดหิน หมายถึง โตเบโก, ประกอบคลื่นทะเล.
คำขวัญสหพันธรัฐอินดีสตะวันตก :"To dwell together in unity" ()
ตรินิแดดและโตเบโก :"Together we aspire, together we achieve" (ร่วมกันเราปรารถนา ร่วมกันเราประสบความสำเร็จ)
การใช้รัฐบาลแห่งตรินิแดดและโตเบโก

ความหมาย แก้

ต้นปาล์มเดิมนั้นปรากฏอยู่บนตราแผ่นดินของอาณานิคมโตเบโก ก่อนที่จะเข้าร่วมสหภาพทางการเมืองกับตรินิแดด. สีของพื้นโล่นั้นมาจากสีของธงชาติ (สีดำ, แดง, และ ขาว). เรือใบสีทอง หมายถึง เรือเดินสมุทรทั้งสามลำที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ใช้ในการเดินทางสำรวจ “โลกใหม่” ได้แก่ : ซานตา มาเรีย, ลานิญญา และ ลาพินตา นกฮัมมิงเบิร์ดสีเหลืองสองตัวหันเข้าหากัน ตรินิแดดเป็นดินแดนที่ได้ชื่อว่า “ดินแดนแห่งฮัมมิงเบิร์ด” ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 18 สายพันธ์ที่ได้ค้นพบบนหมู่เกาะแห่งนี้ “ดินแดนแห่งฮัมมิงเบิร์ด” จึงมีความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับชาวตรินิแดดที่เป็นชนพื้นเมืองอเมริกา ด้านข้างโล่มีนกปากยาว(ข้างซ้าย) และ Cocrico (ข้างขวา) ประคองโล่ รองรับด้วยหุบเขาทั้งสามลูก ซึ่งสื่อถึง ทรินิตีฮิลล์ ในทางใต้ของหมู่เกาะตรินิแดด, ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเชื่อ เกี่ยวกับการสำรวจหมู่เกาะแห่งนี้ภายหลังจาก ตรีเอกภาพ และ หมู่เกาะที่ล้อมรอบด้วยท้องทะเลแคริบเบียน สื่อถึง โตเบโก "Together We Aspire, Together We Achieve." (ร่วมกันเราปรารถนา ร่วมกันเราประสบความสำเร็จ)

ประวัติ แก้

อาณานิคมตรินิแดดและโตเบโก
ตราแผ่นดิน ระยะเวลา ลักษณะ
  ค.ศ. 1889-1958 ตราแผ่นดินประจำดินแดนอาณานิคม ภาพพื้นหลังเป็นท่าเรือในพอร์ต-ออฟ-สเปน และ เทือกเขา El Tucuche โดยมีเรือฟริเกตสองลำของราชนาวี ลอยลำอยู่ที่ท่าเรือ ที่ท้ายเรือนั้นชักธงเรือขาว และ ลูกเรือกำลังพายเรือกรรเชียง ใต้ภาพมีคำขวัญประจำดินแดนอาณานิคม "MISCERIQUE PROBAT POPULOS ET FOEDERA JUNGI" คัดเลือกโดย เซอร์ Ralph Abercromby ผู้นำการบุกยึดตรินิแดดจากสเปนเมื่อ ค.ศ. 1797 คำขวัญดังกล่าวนำมาจาก Virgil's Aeneid (Book IV, Line 112): ‘Miscerive probet populos, aut foedera iungi ’(He approved of the mingling of peoples and their being joined together by treaties)
  ค.ศ. 1958-1962 โดยได้นำภาพตราอาณานิคมทั้งหมดบรรจุไว้ในโล่ โดยมีคำขวัญบรรจุอยู่ในแพรสีเหลือง ประกาศใช้โดย Letters patent เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1958 ใช้เป็นตราประจำอาณานิคม ในสมัยสหพันธรัฐ ตราดังกล่าวได้มาจนถึงการประกาศอิสรภาพเมื่อ ค.ศ. 1962

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Carlisle Chang (1921–2001)" เก็บถาวร 2015-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, NALIS.
  2. "Coat of Arms", The National Identity Guidelines of the Republic of Trinidad and Tobago (Ministry of National Diversity and Social Integration, Government of the Republic of Trinidad and Tobago), p. 4.