ตระกูลภาษาไนเจอร์-คองโก

ตระกูลภาษาไนเจอร์-คองโก (อังกฤษ: Niger–Congo languages) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นกลุ่มภาษาที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกาในแง่ของการกระจายทางภูมิศาสตร์ จำนวนผู้พูด และจำนวนภาษา[1] และมักจะนับว่าเป็นตระกูลภาษาที่ใหญ่ที่สุดในเรื่องความแตกต่างของภาษา[2][3] นำหน้าตระกูลภาษาออสโตรนีเชียน ใน Ethnologue มีรายชื่อภาษาในตระกูลภาษานี้ทั้งหมด 1,540 ภาษา[4] เป็นตระกูลภาษาที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก โดยมีจำนวนผู้พูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 700 ล้านคนในปี 2015 โดยกลุ่มภาษาบันตูอย่างเดียวมีผู้พูดประมาณครึ่งหนึ่งคือ 350 ล้านคน

ตระกูลภาษาไนเจอร์-คองโก
ไนเจอร์-คอร์โดฟาน
ภูมิภาค:แอฟริกา
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
หนึ่งในตระกูลของภาษาที่สำคัญของโลก
กลุ่มย่อย:
ISO 639-2 / 5:nic
กลอตโตลอก:None
{{{mapalt}}}
แผนที่ของภาษาหลักในตระกูลภาษาไนเจอร์-คองโก

หนึ่งในเอกลักษณ์สำคัญของภาษาในกลุ่มภาษานี้คือมีระบบชั้นของคำนาม (noun class)[5] ภาษาที่มีผู้พูดจำนวนมากได้แก่ ภาษาโยรูบา, ภาษาอิกโบ, ภาษาฟูลา และภาษาโชนา และภาษาสวาฮีลีมีจำนวนผู้พูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด

อ้างอิง แก้

  1. Irene Thompson, “Niger-Congo Language Family”, ”aboutworldlanguages”, March 2015
  2. Heine, Bernd; Nurse, Derek (2000-08-03). African Languages: An Introduction (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. p. 11. ISBN 9780521666299.
  3. Ammon, Ulrich (2006). Sociolinguistics: An International Handbook of the Science of Language and Society (ภาษาอังกฤษ). Walter de Gruyter. p. 2036. ISBN 9783110184181.
  4. Simons, Gary F. and Charles D. Fennig (eds.). 2018. Ethnologue: Languages of the World, Twenty-first edition. Dallas, Texas: SIL International.
  5. “Niger-Congo Languages”, ”The Language Gulper”, March 2015