ดอเจแห่งเวนิส (อิตาลี: Doge di Venezia; เวนิส: Doxe de Venexia) มาจาก “Doge” (ภาษาเวนิส) หรือ “Doxe” ที่มาจากภาษาละติน “Dux” ที่หมายถึงผู้นำทางทหาร ภาษาอิตาลีใช้ “Duce” ดยุกแห่งเวนิสเป็นตำแหน่งประมุขของสาธารณรัฐเวนิส[1]ที่ใช้กันมากว่าหนึ่งพันปี เป็นตำแหน่งเลือกตั้งตลอดชีพโดยชนชั้นเจ้านายในนครรัฐ ผู้ที่ได้รับเลือกมักจะเป็นผู้มีอาวุโสสูงที่สุดและเป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบดีที่สุด ความสามารถในการรักษาดุลยภาพระหว่างการมีพิธีรีตองอย่างเจ้านายและความเป็นสาธารณรัฐที่ทำให้เวนิสเป็นตัวอย่างที่ดีของ "สาธารณรัฐพาณิชยนาวี" (Maritime republics) หรือสาธารณรัฐที่เหล่าพ่อค้าและชนชั้นสูงมีอิทธิพลอย่างชัดเจน

ดอเจแห่งเวนิส
ตราแผ่นดิน
ลูโดวิโก มานอิน
(คนสุดท้าย)
จวนปาลัซโซดูกาเล
ผู้ประเดิมตำแหน่งเปาโล ลูจิโอ อนาเฟสโต
สถาปนาค.ศ. 697
คนสุดท้ายลูโดวิโก มานอิน
ยกเลิก12 พฤษภาคม ค.ศ. 1797
ภายเหมือนของดยุกเลโอนาร์โด โลเรดันแต่งกายตามธรรมเนียม “corno ducale” (จิโอวานนี เบลลินี หลัง ค.ศ. 1501, หอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอน)

ที่มา แก้

จากบทบันทึกของจอห์น ดีคอนแห่งเวนิส (John, deacon of Venice) ผู้ประพันธ์ “พงศาวดารเวนิส” (Chronicon Venetum) ที่เขียนในปี ค.ศ. 1000 สำนักของดยุกก่อตั้งเป็นครั้งแรกในเวนิสราว ค.ศ. 700 แทนที่ระบบองค์กร (tribune) ที่ปกครองเวนิสในสมัยแรก แต่ไม่เป็นที่ทราบว่าดยุกองค์แรกๆ จะเป็นผู้ที่แทนของจักรวรรดิไบแซนไทน์หรือไม่ ดยุกก็เช่นเดียวกับพระจักรพรรดิมีตำแหน่งตลอดชีพและเป็นประมุขทั้งทางด้านการเมือง การศาสนา และการสงคราม

อ้างอิง แก้

  1. CATHOLIC ENCYCLOPEDIA: Venice[1]

ดูเพิ่ม แก้