ฐานความรู้ (อังกฤษ: knowledge base ย่อว่า KB หรือ kb[1][2]) เป็นฐานข้อมูลชนิดพิเศษสำหรับการจัดการความรู้ ฐานความรู้เป็นแหล่งเก็บสารสนเทศที่มีวิธีการรวบรวม จัดการ แบ่งปัน สืบค้น และนำสารสนเทศมาใช้ให้เป็นประโยชน์ มันอาจเป็นฐานความรู้ที่เครื่องอ่านได้หรือตั้งใจให้มนุษย์ใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง

ฐานความรู้ที่เครื่องอ่านได้ แก้

ฐานความรู้ที่เครื่องอ่านได้เก็บบันทึกความรู้ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้ โดยปกติใช้เพื่อจุดประสงค์ของการใช้เหตุผลนิรนัยอัตโนมัติในตัว พวกมันมีกลุ่มของข้อมูลที่มักจะอยู่ในรูปแบบของกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่อธิบายความรู้ในแบบต้องกันเชิงตรรกศาสตร์ ภววิทยาสามารถนิยามขึ้นได้จากโครงสร้างของข้อมูลที่เก็บบันทึกว่า ประเภทใดของหน่วยข้อมูลถูกบันทึกอยู่และความสัมพันธ์ของพวกมันเป็นอย่างไร ตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ต่าง ๆ อย่างเช่น แอนด์ (การเชื่อม) ออร์ (การเลือก) การมีเงื่อนไข และนิเสธ อาจถูกใช้เพื่อสร้างฐานข้อมูลขึ้นมาจากสารสนเทศส่วนที่เรียบง่ายกว่า ต่อจากนั้นก็ใช้การนิรนัยแบบดั้งเดิมเพื่อคิดคำนวณความรู้ให้เป็นฐานความรู้ ฐานความรู้ที่เครื่องอ่านได้บางชนิดถูกนำไปใช้กับปัญญาประดิษฐ์ ตัวอย่างเช่น บางส่วนของระบบผู้เชี่ยวชาญที่ให้ความสนใจไปที่ขอบเขตเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่นยาตามใบสั่งหรือกฎหมายศุลกากรเป็นต้น ฐานความรู้บางชนิดก็ถูกนำไปใช้กับเว็บเชิงความหมาย

ฐานความรู้ที่มนุษย์อ่านได้ แก้

ฐานความรู้ที่มนุษย์อ่านได้ออกแบบขึ้นมาเพื่อให้บุคคลค้นคืนและใช้ความรู้ที่มันบรรจุอยู่ ตามปกติมันจะถูกใช้เพื่อเติมเต็มแผนกช่วยเหลือ (help desk) หรือเพื่อแบ่งปันสารสนเทศระหว่างพนักงานภายในองค์การ มันอาจเก็บบันทึกสารสนเทศการแก้ไขปัญหา บทความ สมุดปกขาว คู่มือ ป้ายความรู้ หรือคำตอบของคำถามที่ถามบ่อย โดยทั่วไปจะใช้เสิร์ชเอนจินเพื่อค้นหาสารสนเทศในระบบ หรือผู้ใช้สามารถสืบค้นผ่านทางแผนการจำแนกประเภท

ระบบที่ใช้พื้นฐานบนข้อความ ซึ่งสามารถรวมกลุ่มเอกสารที่มีการเชื่อมโยงหลายมิติระหว่างกัน เรียกว่า ระบบข้อความหลายมิติ (hypertext system) [3] ระบบข้อความหลายมิติช่วยสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจ โดยลดภาระความพยายามที่มีนัยสำคัญของผู้ใช้ ซึ่งต้องสร้างความสัมพันธ์และจดจำสิ่งต่าง ๆ [4] ซอฟต์แวร์วิกิสามารถนำมาใช้เป็นฐานความรู้ชนิดระบบข้อความหลายมิติได้ ฐานความรู้สามารถมีได้บนทั้งคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ในรูปแบบข้อความหลายมิติ [5]

ฐานความรู้ที่มนุษย์อ่านได้สามารถเชื่อมต่อกับฐานความรู้ที่เครื่องอ่านได้ ผ่านทางการสำเนาทิศทางเดียวหรือสองทิศทาง หรือส่วนต่อประสานในเวลาจริงบางชนิด จากนั้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็จะสามารถใช้เทคนิคเชิงปัญญาประดิษฐ์กับส่วนของข้อมูลที่คอมพิวเตอร์อ่านได้ เพื่อเตรียมผลลัพธ์การค้นหาที่ดีที่สุด เพื่อตรวจสอบบูรณภาพของข้อเท็จจริงที่พบในเอกสารต่างชนิดกัน และเพื่อจัดหาเครื่องมือการประพันธ์ที่ดีกว่า ตัวอย่างหนึ่งคือ ดีบีพีเดีย (DBPedia) เป็นฐานความรู้ที่เครื่องอ่านได้ ซึ่งดึงข้อมูลไปจากวิกิพีเดียที่มนุษย์อ่านได้

หมวดหมู่ของสารสนเทศในฐานความรู้ แก้

ฐานความรู้ที่มนุษย์อ่านได้สามารถมีสารสนเทศตามประเภทดังนี้

การวิเคราะห์และการออกแบบฐานความรู้ แก้

การวิเคราะห์และการออกแบบฐานความรู้ (knowledge base analysis and design: KBAD) เป็นกระบวนการที่ช่วยให้บุคคลสามารถชักนำการวิเคราะห์และการออกแบบของสารสนเทศด้วยแนวทางที่ให้ผลลัพธ์เป็นฐานความรู้ แนวเข้าสู่การศึกษานี้ได้นำมาใช้ให้เกิดผลเป็นครั้งแรกโดย สตีเฟน เอช. แดม [6]

อ้างอิงและเชิงอรรถ แก้

  1. Argumentation in Artificial Intelligence by Iyad Rahwan, Guillermo R. Simari
  2. "OWL DL Semantics". สืบค้นเมื่อ 10 December 2010.
  3. "Knowledge Base Template". Matthewb.id.au. สืบค้นเมื่อ 2012-05-18.
  4. Marakas, George. Decision Support Systems in the 21st Century. Prentice Hall, 1999, p.29
  5. Shared Knowledge Base for Mobile Phone and Computer
  6. Steven H. Dam, Ph.D. KBAD – A Cost-Effective Way to Conduct Design and Analysis. Systems and Proposal Engineering Company (SPEC), 2009

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้