อะบูมูซา ญาบิร บินฮัยยาน ที่ชาวตะวันตกเรียกว่า เกเบอร์ (Geber) ขึ้นชื่อลือชาว่าเป็นบิดาแห่งเคมี ท่านเป็นนักเคมีที่ยิ่งใหญ่มาก ตำราชื่อ Kitab al-Kimya, Kitab al-Sab'een เป็นตำราถูกแปลเป็นภาษาของยุโรปหลายภาษา เช่น ภาษาลาติน ภาษาฮีบรู ภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส มีอิทธิผลต่อนักเคมีชาวยุโรปต่อมาอีกหลายศตวรรษ

อะบูมูซา ญาบิร บินฮัยยาน
15th century European portrait of "Geber", Codici Ashburnhamiani 1166, Biblioteca Medicea Laurenziana, Florence
เกิดค.ศ. 721
รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์
เสียชีวิตค.ศ. 815
เมืองกูฟะหฺ ประเทศอิรัก
สัญชาติอาหรับ
ชื่ออื่นญาบิร หรือ เกเบอร์ (Geber)
ผลงานเด่นตำราชื่อ Kitab al-Kimya, Kitab al-Sab'een ซึ่งแปลเป็นภาษาอื่นหลายภาษา เช่น ภาษาลาติน ภาษาฮีบรู ภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส
ตำแหน่งนักเคมี
หมวดหมู่:นักเคมี

ญาบิร บินฮัยยานเกิดราวปี ค.ศ. 721 และเสียชีวิตในเมืองกูฟะหฺ ประเทศอิรักราวปี ค.ศ. 815 (บ้างก็ว่า 803) หลังจากเกิดมาได้ไม่นาน บิดาของเขา ซึ่งพัวพันกับการก่อกบฏล้มรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ ก็ถูกประหารชีวิต ญาบิรถูกส่งไปแผ่นดินอาระเบีย ที่นั่นเขาได้เข้านับถือมัซฮับชีอะหฺ และเข้าสมัครเป็นลูกศิษย์ของอิมามญะอฺฟัร อัศศอดิก ในเมืองมะดีนะหฺ เนื่องจากท่านมีความสนใจในเรื่องเคมีและคณิตศาสตร์เป็นทุนเดิม อิมามญะอฺฟัรจึงประสิทธิ์ประสาทวิชาของนบีมุฮัมมัดที่ไม่เคยเผยแพร่ให้ใครมาก่อนแก่ญาบิร จนได้กลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เด่นที่สุดในสมัยนั้น และภายหลังได้กลายเป็นนักเคมีแห่งราชสำนักของฮารูน อัรรอชีด

ญาบิร บินฮัยยานได้แต่งหนังสือและบทบันทึกเกี่ยวกับเคมี และวิทยาศาสตร์รวมทั้งหมดราว 2,000 เล่ม ในวิทยาการต่าง ๆ รวมทั้งแผนที่ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นบันทึกข้อมูลที่เขาเรียนรู้มาจากท่านอิมามญะอฺฟัร และส่วนหนึ่งแปลจากภาษาสันสกฤต ชาวยุโรปได้เริ่มแปลหนังสือของเขาเป็นภาษาละตินในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 13 หลายเล่ม และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นหนังสือที่เขียนได้ดีมาก และกว่าจะหาผู้ที่เขียนได้เทียมเท่าก็อีก 8 ศตวรรษต่อมา

แม้ว่าเขาจะลือชื่อว่าเป็นบิดาแห่งแห่งนักเคมีอาหรับเปอร์เซีย แต่นักวิชาการเชื่อว่า บุคคลที่อยู่เบื้องหลังเขาก็คือยอดอัจฉริยะ นั่นคือท่านอิมามญะอฺฟัร ผู้เป็นปรมาจารย์

ตำราและการแปล แก้

  • M. Berthelot: La chimie au moyen age (vol. 3,L'alehimie arabe, Paris,1893. The Arabic text of a few of Jabir's writings is edited by Octave Houdas. French translation, p. 126-224. See E. J.Holmyard's criticism in Isis, XI, 479-499, 1924).
  • Ernst Darmstaedter: Die Alehemie des Geber (212 p., 10pl.; Berlin, 1922. German translation of the Latin treatises ascribed to Geber;reviewed by J. Ruska in Isis, V, 451-455, concluding that these Latin treatisesare apocryphal); Liber misericordiae Geber. Eine lateinisehe ubersetzung desgrosseren Kitab al-rahma (Archive fur Gesehichte der Medizin, vol. 17,181-197, 1925; Isis, VIII, 737).