ฌัก แนแกร์ (ฝรั่งเศส: Jacques Necker) เป็นนายธนาคารชาวสวิสซึ่งกลายเป็นรัฐบุรุษ รัฐมนตรีคลัง และหัวหน้ารัฐบาลฝรั่งเศสในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ในช่วงที่ราชสำนักฝรั่งเศสกำลังประสบวิกฤตทางการคลัง อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอและการปฏิรูปต่างๆที่เขาพยายามผลักดัน กลับถูกขัดขวางโดยกลุ่มอำนาจเก่า

ฌัก แนแกร์
Jacques Necker
มุขมนตรีแห่งรัฐฝรั่งเศส
ดำรงตำแหน่ง
16 กรกฎาคม 1789 – 3 กันยายน 1790
กษัตริย์พระเจ้าหลุยส์ที่ 16
ก่อนหน้าบารอนแห่งเบรอเตย
ถัดไปเคานต์แห่งมงมอแร็ง
ดำรงตำแหน่ง
25 สิงหาคม 1788 – 11 กรกฎาคม 1789
กษัตริย์พระเจ้าหลุยส์ที่ 16
ก่อนหน้าอาร์ชบิชอปแห่งบรีแยน
ถัดไปบารอนแห่งเบรอเตย
ขุนคลังเอก
ดำรงตำแหน่ง
25 สิงหาคม 1788 – 11 กรกฎาคม 1789
กษัตริย์พระเจ้าหลุยส์ที่ 16
ก่อนหน้าเอเตียน ชาร์ล เดอ บรีแยน
ถัดไปJoseph Foullon de Doué
อธิบดีพระคลัง
ดำรงตำแหน่ง
29 มิถุนายน 1777 – 19 พฤษภาคม 1781
กษัตริย์พระเจ้าหลุยส์ที่ 16
ก่อนหน้าหลุยส์ กาบรีแยล ตาบูโร
ถัดไปฌ็อง-ฟร็องซัว ฌอลี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 กันยายน ค.ศ. 1732(1732-09-30)
เจนีวา, สาธารณรัฐเจนีวา, สวิตเซอร์แลนด์
เสียชีวิต9 เมษายน ค.ศ. 1804(1804-04-09) (71 ปี)
กอแป, รัฐโว, สวิตเซอร์แลนด์
ศาสนาโปรเตสแตนต์

ประวัติ แก้

แนแกร์เกิดในเจนีวาในยุคที่เจนีวายังเป็นรัฐอิสระ เขาเป็นบุตรของคาร์ล ฟริดริช เน็คเคอร์ ชาวเยอรมันเชื้อสายปรัสเซีย แนแกร์เริ่มมีผลงานด้านกฎหมายระหว่างประเทศ เขาก็เป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายมหาชนที่เจนีวา ต่อมาในปี ค.ศ. 1747 เขาถูกส่งตัวไปเป็นเสมียนที่ธนาคารของเพื่อนบิดาในกรุงปารีส ต่อมาในปี 1762 เขากลายเป็นหุ้นส่วนในธนาคารแห่งนี้และกลายเป็นเศรษฐีในระยะเวลาอันรวดเร็วจากการเก็งราคา ไม่นานต่อมาเขาก็ร่วมกับปีเตอร์ เธลลุสสัน นายธนาคารชาวสวิส ก่อตั้งธนาคารเธลลุสสันขึ้นในกรุงลอนดอน โดยแนแกร์เป็นหุ้นส่วนที่บริหารสาขาในปารีส ธนาคารแห่งนี้ยังปล่อยเงินกู้จำนวนมากแก่ราชสำนักฝรั่งเศส

ราชการฝรั่งเศส แก้

ในปี 1777 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิบดีพระคลัง (directeur général du Trésor royal) ซึ่งเทียบเท่ารัฐมนตรีคลัง[1] ซึ่งในช่วงแรกเขาได้รับความเชื่อถืออย่างมากจากการปฏิรูปจัดเก็บภาษีรายหัวให้มีความเท่าเทียม และแทนที่จะขึ้นภาษี เขากลับกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้สูง[2] ทำให้ได้เงินฝากมหาศาลมาปล่อยกู้แก่ราชสำนักฝรั่งเศสมาใช้จ่าย เขายังสนับสนุนเงินกู้แก่การมีส่วนร่วมของฝรั่งเศสในสงครามปฏิวัติอเมริกา[3] อย่างไรก็ตาม การก่อหนี้มหาศาลไปกับสงครามในอเมริกาทำให้วิกฤตการคลังขึ้นในปี 1781[4] ขณะเดียวกัน นโยบายปฏิรูปต่าง ๆ ของเขาก็สร้างศัตรูไปทั่วราชสำนักโดยเฉพาะกับพระนางมารี อ็องตัวแน็ต ซึ่งคอยขัดขวางการปฏิรูปของแนแกร์ฝ่านทางพระราชสวามีมาตลอด ทำให้ท้ายที่สุด แนแกร์ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งอธิบดีครั้งแรกในเดือนกันยายน 1780 แต่พระเจ้าหลุยส์ไม่ยินยอม[5]

ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอธิบดีพระคลัง วิกฤตทางการคลังที่เกิดขึ้นทำให้แนแกร์ถูกโจมตีอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทั้งที่เขามีความพยายามจะแก้วิกฤตแต่ถูกขัดแข้งขัดขา แนแกร์จัดทำเอกสารที่ชื่อว่า รายงานถึงองค์กษัตริย์ (Compte rendu au roi) ซึ่งชี้ว่าค่าใช้จ่ายส่วนพระองค์ของบรรดาพระอนุชา สูงกว่าค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขของประเทศเสียอีก พระเจ้าหลุยส์สั่งให้แนแกร์อย่างแพร่งพรายงานฉบับนี้ แต่แนแกร์ไม่ทำตาม เขาตีพิมพ์รายง่านดังกล่าวและเผยแพร่ต่อสาธารณชนในเดือนกุมภาพันธ์ 1781 รายงานดังกล่าวถูกแปลเป็นภาษาเยอรมัน, อังกฤษ, อิตาลี, ดัตช์ และเดนมาร์กอย่างรวดเร็ว[6] ซึ่งสร้างความขุ่นเคืองให้แก่พระเจ้าหลุยส์ และแล้วแนแกร์ก็ยึ่นคำขาดต่อราชสำนัก ว่าเขาต้องได้เป็นรัฐมนตรีเต็มตัว ไม่ใช่เพียงอธิบดี อย่างไรก็ตาม เคานต์แห่งมอร์ปา (Maurepas) ผู้ดำรงตำแหน่งมุขมนตรีแห่งรัฐ และเคานต์แห่งแวร์แฌ็ง (Vergennes) ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ ก็ขู่พระเจ้าหลุยส์ว่าถ้าแนแกร์ได้เป็นรัฐมนตรี พวกเขาก็จะลาออกจากตำแหน่งเช่นกัน[7] ท้ายที่สุด พระเจ้าหลุยย์จึงให้แนแกร์ลาออก

ในปี 1788 แนแกร์ถูกเรียกตัวกลับมาดำรงตำแหน่งมุขมนตรีแห่งรัฐ (principal ministre d'État) และขุนคลังเอก (Contrôleur général des finances) ในห้วงเวลาที่วิกฤติทางการเมืองและสังคมกำลังก่อตัวในสังคมฝรั่งเศส เขาถูกมองว่าจะเป็นผู้ช่วยฝรั่งเศสให้พ้นภัย แต่ความพยายามต่าง ๆ ของเขาก็ไม่สามารถหยุดยั้งการปฏิวัติฝรั่งเศสไว้ได้ เขาถูกปลดจากตำแหน่งในวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 แต่หลังจากนั้นสามวันก็เกิดการทลายคุกบัสตีย์ขึ้นในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 วิกฤตที่เกิดขึ้นทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงเรียกตัวเขากลับมาเป็นมุขมนตรี เนื่องจากแนแกร์เป็นบุคคลที่ได้รับความนิยมจากชนชั้นกลางและชั้นล่าง

แนแกร์ยอมรับตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลโดยตั้งเงื่อนไขว่าเขาต้องได้รับอำนาจยับยั้งชั่วคราว (วีโต) แถมแนแกร์ปฏิเสธที่จะทำงานร่วมกับรัฐบุรุษคนอื่น ๆ อย่างมีราโบ หรือนายพลลา ฟาแย็ต แนแกร์ออกพระราชกฤษฎีกา 7 พฤศจิกายน ซึ่งเปิดทางให้คณะรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการสรรหาหรือเลือกโดยสภา กฎหมายฉบับนี้ปิดโอกาสไม่ให้เกิดฝ่ายบริหารที่มีอำนาจมากล้นจนเกินไป อย่างไรก็ตาม ความพยายามต่าง ๆ ของเขาดูจะไร้ผล จนผู้คนเริ่มหมดความเชื่อมั่นและศรัทธาในตัวเขาทำให้เขาตัดสินใจลาออกในปี 1790[8][9]

อ้างอิง แก้

  1. M. Adcock, Analysing the French Revolution, Cambridge University Press, Australia 2007.
  2. Donald F. Swanson and Andrew P. Trout, "Alexander Hamilton, 'the Celebrated Mr. Neckar,' and Public Credit," The William and Mary Quarterly 47, no. 3 (1990): 424.
  3. Nicola Barber, The French Revolution (London: Hodder Wayland, 2004), 11.
  4. George Taylor, review of Jacques Necker: Reform Statesman of the Ancien Regime, by Robert D. Harris, Journal of Economic History 40, no. 4 (1980): 878.
  5. Jean-Denis Bredin (2004) "Necker, La France et la Gloire,", p. 15 Cahiers staëliens, 55
  6. The Edinburgh Encyclopædia; Conducted by David Brewster, p. 316
  7. S. Schama, p. 93
  8. Furet and Ozuof, A Critical Dictionary,288.
  9. Doyle, William. The French Revolution. A Very Short Introduction.