ซุคฮอย ซู-7 (อังกฤษ: Sukhoi Su-7 Fitter-A) (นาโต้ใช้ชื่อรหัสว่าฟิตเตอร์-เอ) เป็นเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิดปีกลู่เครื่องยนต์ไอพ่นที่ใช้โดยสหภาพโซเวียตและพันธมิตร

ซู-7
บทบาทเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด
ชาติกำเนิด สหภาพโซเวียต
บริษัทผู้ผลิตซุคฮอย
บินครั้งแรก7 กันยายน พ.ศ. 2498
เริ่มใช้พ.ศ. 2502
ปลดประจำการพ.ศ. 2529 (โซเวียต)
สถานะประจำการอย่างจำกัด
ผู้ใช้งานหลักกองทัพอากาศโซเวียต
ช่วงการผลิตพ.ศ. 2500-2515
จำนวนที่ผลิต1,847 ลำ
พัฒนามาจากไม่มี
แบบอื่นดูที่นี่

การออกแบบและการพัฒนา แก้

ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 สำนักงานออกแบบทดลองซุคฮอยได้เริ่มทำการเลียนแบบเครื่องบินขับไล่เอฟ-86 เซเบอร์ของสหรัฐอเมริกา[1] ในฤดูร้อนทางสำนักงานได้เริ่มสร้างเครื่องบินขับไล่ปีกลู่ขึ้นมาเพื่อความได้เปรียบเหนือสมรภูมิ ต้นแบบแรกใช้ชื่อว่าเอส-1 ถูกออกแบบมาเพื่อใช้เครื่องยนต์เทอร์โบไอพ่นไลยูก้า เอแอล-7 และมันกลายเป็นเครื่องบินลำแรกของโซเวียตที่ใช้หางที่แพนได้ทั้งหมด กรวยที่เคลื่อนที่ได้ในช่องรับลมมีไว้เพื่อนำอากาศเข้าสู่เครื่องยนต์เพื่อทำความเร็วเหนือเสียง[2] เครื่องบินนั้นมีปีกที่ทำมุม 60 องศาและเก้าอี้ดีดตัว[1]

เอส-1 ทำการบินครั้งแรกในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2498 โดยมีนักบินชื่อเอ. จี. โคเชทคอฟเป็นผู้ควบคุม หลังจากทำการบินมา 11 ครั้งมันก็เปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์เอแอล-7 ที่มีสันดาปท้าย ต้นแบบของโซเวียตได้ทำสถิติความเร็วไว้ที่ 2,170 กิโลเมตรต่อชั่วโมงหรือ 2.04 มักในเดือนเมษายน พ.ศ. 2499[2] ต้นแบบถูกติดอาวุธเป็นปืนใหญ่อากาศนูเดลแมน เอ็น-37 ขนาด 37 ม.ม.และจรวดไม่นำวิถีขนาด 57 ม.ม.[2] ต้นแบบลำที่สองชื่อเอส-2 ได้มีการนำระบบไฮดรอลิกมาใช้งาน การทดสอบนั้นยากมากเพราะเครื่องยนต์นั้นไว้ใจไม่ได้และเอส-1 ได้ตกลงในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ทำให้นักบินไอ. เอ็น. โซโลคอฟเสียชีวิต[1] เครื่องบินนั้นเข้าประจำการในชื่อซู-7

ในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 การบินทางยุทธวิธีของโซเวียตได้มอบหมายงานให้ซุคฮอยในการพัฒนาซู-7 สำหรับโจมตีภาคพื้นดินขึ้นมา มันทำให้เกิดซู-22 ที่ยังคงเอกลักษณ์ของเอส-2 เอาไว้ มันมีโครงสร้างที่ออกแบบมาเพื่อการบินในระดับต่ำด้วยความเร็วสูง มันทำการบินครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2502 และเริ่มเข้าประจำการในปีพ.ศ. 2504 โดยใช้ชื่อว่าซู-7บี[2]

มีซู-7 ทั้งสิ้น 1,874 ลำที่ถูกผลิตออกมา โดยมี 691 ลำถูกส่งออก[1]

ประวัติการใช้งาน แก้

ซู-7 ได้ทำการรบในอียิปต์ในสงครามหกวันเมื่อปีพ.ศ. 2510 กองทัพอากาศอินเดียได้ใช้ซู-7 บ่อยครั้งในการต่อสู้กับปากีสถานเมื่อปีพ.ศ. 2514 ฝูงบินซู-7 หกฝูงบินของอินเดียทำการบินเกือบ 1,500 เที่ยวในสงคราม และทำหน้าที่โจมตีในตอนกลางวันบ่อยครั้ง กองทัพอากาศอินเดียนั้นใช้ซู-7 อย่างหนัก โดยให้ทำการบินในอัตรานักบิน 6 คนหนึ่งทำการบินถึง 6 ครั้งต่อวัน มีเครื่องบินทั้งหมด 14 ลำที่ถูกยิงตก ส่วนมากมาจากการยิงของปืนต่อต้านอากาศยาน ซู-7 ยังได้ยิงเครื่องเช็งยาง เจ-6 ที่ผลิตโดยจีนตกหนึ่งลำ หลังจากที่สงครามสิ้นสุดลงก็พบว่าเครื่องบินได้รับความเสียหายจากปืนต่อต้านอากาศเสียส่วนใหญ่ แต่ก็ยังคงบินกลับฐานได้อย่างปลอดภัย มีรายงานที่ยังไม่ได้รับการยืนยันอ้างว่านักบินนายหนึ่งได้ยิงเอฟ-86 เซเบอร์ลำหนึ่งตก อย่างไรก็ตามไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้ในกองทัพอากาศอินเดียเพราะว่าไม่มีการรายงานจากนักบินเอง ในเหตุการณ์คล้ายกันมีซู-7 ลำหนึ่งถูกยิงเสียหายหนักจากขีปนาวุธไซด์ไวน์เดอร์ที่มาจากมิก-19 การกระแทกทำให้แฟล็บ แพนปีก และขีปนาวุธได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตามนักบินก็สามารถกลับฐานได้ ในขณะที่ปากีสถานรายงานว่านักบินถูกยิงตก[3]

ซู-7 นั้นได้รับความเสียหายจากการบินขึ้นสูงและความเร็วในการลงจอด ความเร็วในการลงจอดคือ 450 กิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งเมื่อรวมกับห้องนักบินที่มองได้ยากและการขาดระบบช่วยการลงจอดจึงทำให้มันยากมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพอากาศที่เลวร้าย[4] ในปีพ.ศ. 2504-2505 ซุคฮอยได้ทดสอบโบลวน์แฟล็บ (blown flap) กับเอส-25 แต่มันก็มีประโยชน์น้อยเกินไปที่จะนำมาใช้งานจริง จรวดแบบใหม่ถูกพบว่ามีประโยชน์มากกว่าและนำไปใช้กับซู-7บีเคแอล การพยายามพัฒนาการบินขึ้น-ลงทำให้เกิดซุคฮอย ซู-17

รุ่นต่างๆ แก้

 
ซู-7บีเคแอลที่มีล้อลงจอดพร้อมสกี และเครื่องยิงจรวดยูบี-16 ขนาด 57 ม.ม.
ซู-7
เป็นรุ่นมาตรฐานการผลิตแบบแรก มันคือเครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธี ใช้ชื่อว่าเอส-2 ทำการผลิตตั้งแต่ปีพ.ศ. 2500-2503 โดยผลิตออกมา 132 ลำ มันประจำการจนถึงปีพ.ศ. 2508
ซู-7บี
เป็นรุ่นโจมตีภาคพื้นดิน ใช้ชื่อว่าเอส-22 ผลิตตั้งแต่ปีพ.ศ. 2503-2505
ซู-7บีเอ็ม
เป็นรุ่นที่ใช้เครื่องยนต์ เอแอล-7เอฟ-1 ที่มีการพัฒนาระบบเชื้อเพลิง มีถังเชื้อเพลิงที่ปีก มันสามารถบรรทุกระเบิดนิวเคลียร์ได้ด้วย ถูกผลิตตั้งแต่ปีพ.ศ. 2506-2508
ซู-7บีเคแอล
เป็นรุ่นที่สามารถลงจอดบนพื้นที่หยาบได้โดยใช้สกีที่ติดอยู่ข้างล้อ มันใช้จรวดจาโต้เอสพีอาร์ดี-110 ที่มีแรงขับ 13,300 ปอนด์ และร่มสำหรับเบรกสองชุด ในเริ่มใช้งานในปีพ.ศ. 2508 โรงงานเรียกมันว่าเอส-22เคแอล ทำการผลิตทั้งแต่ปีพ.ศ. 2508-2515
ซู-7บีเอ็มเค
เป็นรุ่นส่งออกของซู-7บีเอ็ม ทำการผลิตตั้งแต่ปีพ.ศ. 2510-2514
ซู-7ยู
เป็นรุ่นสำหรับการฝึกที่มีสองที่นั่งโดยลดความจุเชื้อเพลิงลง ทำการบินครั้งแรกในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2508 ผลิตตั้งแต่ปีพ.ศ. 2509-2515 โดยมีรุ่นส่งออกที่ใช้ชื่อซู-7ยูเอ็มเค
ซู-7ยูเอ็ม
เป็นรุ่นฝึกที่มีสองที่นั่งของซู-7บีเอ็ม
ซู-7ยูเอ็มเค
เป็นรุ่นฝึกที่มีสองที่นั่งของซู-7บีเอ็มเค
ซู-7ไอจี
เป็นรุ่นทดลองปีกแบบพับได้ซึ่งทำการพัฒนาเป็นซุคฮอย ซู-17

ประเทศผู้ใช้งาน แก้

 
สีแดงคือผู้ใช้งาน สีน้ำเงินคืออดีตผู้ใช้งาน
  อัฟกานิสถาน
  • มีทั้งหมด 46 ลำรวมทั้งแบบสำหรับฝึก 16 ลำ กองทัพอากาศอัฟกานิสถานได้รับเครื่องบินในปีพ.ศ. 2515 การส่งกำลังทดแทนเกิดขึ้นในทศวรรษที่ 2523 ทำให้มีเพิ่มเป็น 120 ลำ ปัจจุบันถูกปลดประจำการหมดแล้ว
  แอลจีเรีย
  บังกลาเทศ
  • อาจยังอยู่ในประจำการ
  เชโกสโลวาเกีย
  ฮังการี
  อียิปต์
  อินเดีย
  อิรัก
  เกาหลีเหนือ
  โปแลนด์
  สหภาพโซเวียต
  เยเมนใต้
  ซีเรีย
  เวียดนาม

รายละเอียด ซุคฮอย ซู-7 แก้

ข้อมูลจำเพาะ[2][1]

  • ลูกเรือ 1 นาย
  • ความยาว 16.80 เมตร
  • ระยะระหว่างปลายปีกทั้งสอง 9.31 เมตร
  • ความสูง 4.99 เมตร
  • พื้นที่ปีก 34 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 8,330 กิโลกรัม
  • น้ำหนักพร้อมอาวุธ 13,570 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 15,210 กิโลกรัม
  • ขุมกำลัง เครื่องยนต์ไอ่พ่นเทอร์โบพร้อมสันดาปท้าย ไลยูก้า เอแอล-7เอฟ-1 หนึ่งเครื่อง
  • * ให้แรงขับ 14,980 ปอนด์
  • * เมื่อใช้สันดาปท้าย 22,150 ปอนด์
  • ความจุเชื้อเพลิง 3,220 กิโลกรัม
  • ความเร็สูงสุด ที่ระดับน้ำทะเล 1,150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (0.94 มัค) ที่ระดับความสูง 2,150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • พิสัย 1,650 กิโลเมตร
  • เพดานบินทำการ 57,740 ฟุต
  • อัตราการไต่ระดับ 31,500 ฟุตต่อนาที
  • น้ำหนักบรรทุกบนปีก 434.8 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
  • อัตราแรงขับต่อน้ำหนัก 0.71
  • ระยะบินขึ้น 950 เมตร
  • ระยะลงจอด 700 เมตร
  • อาวุธ
  • * ปืนใหญ่อากาศนูเดลแมน-ริกห์เตอร์ เอ็นอาร์-30 ขนาด 30 ม.ม. 2 กระบอก พร้อมกระสุนกระบอกละ 80 นัด
  • * จุดติดตั้งอาวุธ 6 จุด (2,000 กิโลกรัม) ปกติมักเป็นถังเชื้อเพลิงใต้ลำตัวขนาด 600 ลิตรสองถัง และระเบิดขนาด 500 หรือ 250 กิโลกรัมผสมกับกระเปาะยิงจรวดขนาด 57 ม.ม.ยูบี-16-57ยู ระเบิดนิวเคลียร์ 8ยู69 ขนาด 5 กิโลตันสามารถถูกติดตั้งไว้ที่ใต้ลำตัวได้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Sukhoi Su-7". Sukhoi Company Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-21. สืบค้นเมื่อ 2007-04-15.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Green, W (2001). The great book of fighters. MBI Publishing. ISBN 0760311943. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  3. "A whale of a fighter: Su-7 in IAF service". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-30. สืบค้นเมื่อ 2009-11-10.
  4. Nijboer, Donald, and Patterson, Dan (2003). Cockpits of the Cold War. The Boston Mills Press. ISBN 1-55046-405-1.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

ดูเพิ่ม แก้

การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
อากาศยานเทียบเท่า