ซุคฮอย ซู-27 (อังกฤษ: Sukhoi Su-27) (นาโต้ใช้ชื่อรหัสว่าแฟลงเกอร์) เป็นเครื่องบินขับไล่เครื่องยนต์ไอพ่นหนึ่งและสองที่นั่ง ซึ่งเดิมผลิตโดยสหภาพโซเวียต และออกแบบโดยซุคฮอย มันเปรียบได้กับเครื่องบินรุ่นที่สี่ของสหรัฐอเมริกา พร้อมพิสัย 3,530 กิโลเมตร อาวุธขนาดหนัก ระบบอิเลคทรอกนิกอากาศที่ยอดเยี่ยม มีความคล่องแคล่ว ซู-27 มักทำภารกิจครองความได้เปรียบทางอากาศ แต่มันก็สามารถปฏิบัติภารกิจรบอื่นๆ ได้เช่นกัน มันมีรูปร่างคล้ายคลึงกับมิก-29 ที่เล็กกว่า และมีส่วนประกอบที่ใกล้เคียงกับเอฟ-15 อีเกิลของอเมริกาแต่มีความคล่องตัวเหนือกว่า

ซู-27
บทบาทเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศ
ชาติกำเนิด สหภาพโซเวียต
บริษัทผู้ผลิตซุคฮอย
บินครั้งแรก20 พฤษภาคม พ.ศ. 2520
เริ่มใช้เดือนธันวาคม พ.ศ. 2527
สถานะอยู่ในการผลิตและประจำการ
ผู้ใช้งานหลักกองทัพอากาศรัสเซีย
กองทัพอากาศจีน
กองทัพอากาศยูเครน
ผู้ใช้รายอื่นดูที่นี่
ช่วงการผลิตพ.ศ. 2527-ปัจจุบัน
จำนวนที่ผลิต680 ลำ[1]
มูลค่า30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( 960 ล้านบาท )
แบบอื่นซู-30
ซู-33
ซู-34
ซู-35
ซู-37
เช็งยาง เจ-11

มีการพัฒนามากมายของซู-27 ซู-30 เป็นแบบสองที่นั่งทำหน้าที่ทุกสภาพอากาศ ทำการสกัดกั้นทางอากาศและพื้นดินในระยะใกล้ เทียบได้กับเอฟ-15อี สไตรค์อีเกิล ซู-33 แฟลงเกอร์-ดีสำหรับการป้องกันในกองทัพเรือซึ่งใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบิน เทียบได้กับเอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท รุ่นนอกเหนือจากนั้นยังมีทั้งซู-34 ฟุลแบ็คสองที่นั่งคู่และซู-35 แฟลงเกอร์-อีสำหรับการป้องกันทางอากาศ

การพัฒนา แก้

เบื้องหลัง แก้

ในปีพ.ศ. 2512 สหภาพโซเวียตได้รับข่าวเกี่ยวกับการออกแบบครื่องบินแบบใหม่โดยแมคดอนเนลล์ ดักลาสในโครงการคัดเลือกเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ของกองทัพอากาศสหรัฐ (ซึ่งก่อให้เกิดเอฟ-15 อีเกิล) เพื่อที่ตอบโต้ภัยคุกคามใหม่ทางโซเวียตจึงเริ่มโครงการพีเอฟไอ (ย่อมาจาก perspektivnyi frontovoy istrebitel หรือเครื่องบินขับไล่แนวหน้าชั้นนำ) สำหรับเครื่องบินที่สามารถเทียบชั้นกับของอเมริกาได้

เมื่อข้อกำหนดถูกมองว่าท้าทายและแพงเกินไปสำหรับเครื่องบินขับไล่ลำเดียว ข้อระบุของพีเอฟไอจึงถูกแบ่งออกเป็นสอง คือ แอลพีเอฟไอ (ย่อมาจาก Lyogkyi PFI หรือเครื่องบินขับไล่แนวหน้าชั้นนำขนาดเบา) และทีพีเอฟไอ (ย่อมาจาก Tyazholyi PFI หรือเครื่องบินขับไล่แนวหน้าชั้นนำขนาดเบา) โครงการแรกทำให้เกิดมิก-29 ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธีพิสัยใกล้ ในขณะที่โครงการที่สองถูกมอบหมายให้กับบริษัทซุคฮอย ซึ่งได้สร้างซู-27 และแบบต่างๆ ออกมา โครงการทีพีเอฟไอนั้นคล้ายคลึงกับโครงการเอฟ-เอกซ์ ซึ่งทำให้เกิดเอฟ-15 อีเกิล ในขณะที่โครงการแอลพีเอฟไอคล้ายกับโครงการเครื่องบินขบไล่ขนาดเบาที่สร้างเอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอนและนอร์ธทรอป วายเอฟ-17ที่กลายมาเป็นเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท

การออกแบบ แก้

 
ซู-27 จากทีมบินผาดโผนของรัสเซีย

การออกแบบของซู-27 มีพื้นฐานอากาศพลศาสตร์ที่คล้ายคลึงกับมิก-29 เพียงแต่มีขนาดใหญ่กว่า มันเป็นอากาศยานที่มีขนาดใหญ่มากและเพื่อลดน้ำหนักโครงสร้างของมันจึงต้องใช้ไทเทเนียมในสัดส่วนที่สูง (ประมาณ 30% ซึ่งมากกว่าเครื่องบินลำใดๆ ในสมัยเดียวกัน) และมันไม่ใช้วัสดุผสม มีปีกลู่กลมกลืนเข้ากับลำตัวที่โคนปีกและเป็นแบบปีกสามเหลี่ยม แม้ว่าที่ปลายปีกถูกตัดให้สั้นเพื่อติดตั้งขีปนาวุธหรือกระเปาะตอบโต้อิเลคทรอนิก ซู-27 นั้นไม่ใช่เครื่องบินปีกสามเหลี่ยมอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามเพราะว่ามันมีส่วนหางคู่ที่ตั้งอยู่นอกเครื่องยนต์

เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนไลยูก้า เอแอล-31เอฟของซู-27 มีพื้นที่หน้าตัดมากนั่นก็เพื่อทั้งความปลอดภัยและเพื่อป้องกันไม่ให้มีการขัดขวางอากาศที่ไหลผ่านเข้าช่องรับลม พื้นที่ระหว่างเครื่องยนต์ยังเพิ่มแรงยกและลดน้ำหนักที่ปีกต้องรับ กังหันที่เคลื่อนที่ได้ในช่องรับลมทำให้มันทำความเร็วได้ถึง 2 มัคและช่วยการไหลเวียนของอากาศในเครื่องยนต์ในมุมปะทะระดับสูง ตะแกรงเหรือช่องรับลมมีเพื่อป้องกันไม่ให้มีเศษวัสดุถูกดูดเข้าเครื่องยนต์ขณะบินขึ้น

ซู-27 เป็นการใช้ระบบฟลาย-บาย-ไวร์ครั้งแรกของสหภาพโซเวียต มันพัฒนามาจากโครงการเครื่องบินทิ้งระเบิดซุคฮอย ที-4 ของซุคฮอย ด้วยการผสมกับน้ำหนักบนปีกที่น้อยและการควบคุมที่ทรงพลัง มันทำให้เครื่องบินมีความว่องไวและควบคุมได้ในความเร็วต่ำและมุมปะทะระดับสูง ในงานแสดงทางอากาศมันได้แสดงให้เห็นถึงความคล่องแคล่วโดยทำมุมปะทะ 120° แรงขับของมันทำให้เครื่องบินเลี้ยวได้แคบจนแทบไม่มีรัศมี

 
กระบวนท่าพูกาเชฟคอบร้าของ ซู-27

สำหรับรุ่นกองทัพเรือ ซู-27เค (หรือซู-33) มีการติดตั้งปีกเสริมเพื่อเพิ่มแรงยกและลดระยะที่ใช้บินขึ้น ปีกเสริมเหล่านี้ยังมีในซู-30 ซู-35 และซู-37 บางรุ่น

นอกจากความคล่องแคล่วของมันแล้วซู-27 ยังใช้พื้นที่ของมันเพิ่มความได้เปรียบในการบรรจุเชื้อเพลิงภายใน เพื่อเพิ่มพิสัยให้ได้มากที่สุดมันสามารถจุเชื้อเพลิง 9,400 กิโลกรัมไว้ภายในได้ แม้ว่าจะเป็นข้อจำกัดในความคล่องตัวของมัน และมักจุ 5,270 กิโลกรัมโดยปกติ

ซู-27 มีอาวุธเป็นปืนใหญ่อากาศเกรยาเซฟ-ชิปูนอฟ จีเอสเอช-30-1 หนึ่งกระบอกที่โคนปีก และมีจุดติดตั้งอาวุธ 10 จุดสำหรับขีปนาวุธและอาวุธอื่นๆ ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศที่มักใช้คือวิมเปล อาร์-73 วิมเปล อาร์-27 ในรุ่นที่ก้าวหน้ากว่าอย่างซู-30 -35 -37 ยังสามารถใช้วิมเปล อาร์-77 ได้อีกด้วย

ซู-27 มีจอฮัดและหมวกติดกล้อง ซึ่งจะคู่กับอาร์-77 และความว่องไวของเครื่องบินทำให้มันเป็นหนึ่งในเครื่องบินที่ทำการรบในระยะแบบด๊อกไฟท์ได้ดีที่สุดในโลก

ซู-27 ได้รับการติดตั้งระบบเรดาร์ของฟาโซตรอนรุ่น N001ซุค ซึ่งเป็นเฟสดอปเลอร์เรดาร์ที่ก้าวหน้ามาก สามารถตรวจจับวัตถุขนาด 3 ตารางเมตรได้ในระยะกว่า 100 กิโลเมตรในแนวรัศมีครึ่งวงกลมด้านหน้าและ 40 กิโลเมตรในแนวรัศมีครึ่งวงกลมทางด้านหลัง เรดาร์นี้มีความสามารถในการตรวจจับเป้าหมายได้ถึง 10 เป้าหมายและโจมตี 2 - 4 เป้าหมายนั้นได้ในเวลาเดียวกัน และสามารถประเมินระดับของภัยคุกคามได้โดยอัตโนมัติ

ในรุ่นหลังๆของซู-27 ได้มีการติดตั้งเรดาร์และระบบเตือนภัยแบบเอสพีโอ-15 (แอล-006) เบอร์โยซา เอาไว้ที่หางทางด้านหลัง พร้อมด้วยแฟลร์ลวงขีปนาวุธ 32 ชุด นอกจากนี้ยั้งมีการติดตั้งระบบลวงพรางทางสงครามอิเลคโทรนิคส์เอาไว้อีกด้วย

ซู-27 มีระบบติดตามและตรวจหาแบบอินฟราเรดหรือไออาร์เอสที (infrared search and track, IRST) ที่ติดตั้งอยู่บนส่วนจมูกเครื่องบินด้านหน้าห้องนักบิน ซึ่งทำงานร่วมกับตัวหาระยะแบบเลเซอร์ ระบบนี้สามารถเชื่อมต่อกับเรดาร์, หมวกติดกล้อง หรือใช้แบบแยกต่างหากสำหรับการโจมตีแบบ"ล่องหน"โดยใช้ขีปนาวุธอินฟราเรด มันยังทำหน้าที่ควบคุมปืนเพื่อเพิ่มความแม่นยำ

ในขณะที่ซู-27 และแบบต่อจากมัน (ซู-35 และ ซู-37) มีความคล่องตัวและการทำงานที่ยอดเยี่ยม แต่ขนาดที่ใหญ่โตของมันก็ทำให้อาจถูกตรวจจับโดยเรดาร์ได้ค่อนข้างง่ายเช่นเดียวกันกับ เอฟ-15

ในปีพศ. 2545 วารสาร Journal of Electronic Defense รายงานว่า ทางรัสเซียประสบผลสำเร็จในการพัฒนาระบบล่องหนพลาสมา (plasma-cloud-generation technology for stealth applications) และได้ทำการทดสอบกับซู-27ไอบี และสามารถลดขนาดที่สามารถถูกตรวจจับโดยเรดาร์ลงได้ถึงร้อยเท่า [2] ปัจจุบัน จำนวนเครื่องซู-27 ที่ได้รับการติดตั้งระบบนี้ยังเป็นความลับอยู่

การใช้ระบบล่องหนพลาสมา จะทำให้สามารถล่องหนจากเรดาร์ไปพร้อมกับรักษาความคล่องตัวในการบินเอาไว้ได้ในขณะเดียวกัน ทำให้เหนือกว่าเครื่องบินที่ต้องพึ่งพาวัสดุพรางเรดาร์ ซึ่งมักจะมีความแข็งแรงต่ำ ทำให้ความคล่องตัวต่ำลงอีกด้วย

ประวัติการใช้งาน แก้

ซู-27 ทำหน้าที่น้อยมากตั้งแต่ที่มันเข้าประจำการ แต่ก็ยังคงเป็นหนึ่งในเครื่องบินขับไล่ที่น่าเกรงขามที่สุดในโลก

ซู-27 ของเอธิโอเปียได้รายงานว่ายิงมิก-29 ห้าลำของเอริเทียตก[3] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 และอีกครั้งในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 [4][5] ซู-27 ยังถูกใช้ในภารกิจการบินรบรักษาเขต การกดดันการป้องกันทางอากาศ และคุ้มกันภารกิจทิ้งระเบิดหรือสอดแนม[6] ในสงครามโซมาเลียกองทัพอากาศเอริเทียใช้ซู-27 ได้อย่างร้ายกาจด้วยการทิ้งระเบิดใส่กองประจำการของอิสลามและบินลาดตระเวน ซู-27 เข้าประจำการในแอนโกลันเมื่อปีพ.ศ. 2543 มีการรายงานว่าซู-27 ลำหนึ่งถูกลอบยิงโดยขีปนาวุธประทับบ่าเอสเอ-14 ขณะทำการลงจอด โดยฝ่ายยูนิต้าในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543[3][7]

ในปีพศ. 2547 กองทัพอากาศสหรัฐได้ส่ง เอฟ-15ซี/ดี เข้าร่วมซ้อมรบกับกองทัพอากาศอินเดีย ในปฏิบัติการ Cope-India 04 ซึ่งทางอินเดียได้ใช้ Sukhoi Su-30MKI เป็นเครื่องครองอากาศ ผลปรากฏว่าชัยชนะเป็นของฝ่ายอินเดียในการประลอง [8]

ล่าสุดในสงครามออสเซเทียใต้ รัสเซียได้ใช้ซู-27 เพื่อครองอากาศเหนือทซฮินวาลีเมืองหลวงของออสเซเทียใต้[9][10]

พัฒนาการของระบบเรดาร์และปัญหาที่ประสบ แก้

ในช่วงแรกๆ ซู-27 เคยมีปัญหาใหญ่กับการพัฒนาระบบเรดาร์ ซึ่งเดิมนั้น โซเวียตต้องการให้มันดีมาก ปะทะได้หลายเป้าหมายพร้อมกัน และมีพิสัย 200 กิโลเมตรต่อเครื่องบินทิ้งระเบิด มันเป็นอะไรที่เหนือกว่าเรดาร์เอพีจี-63 ของเอฟ-15 อย่างมาก

เพื่อทำให้มันเป็นไปได้โดยที่ต้องไม่มีน้ำหนักมากเกินไป ทีมออกแบบจึงสร้างเรดาร์ที่ใช้การตรวจจับแบบอิเลคทรอนิกและแบบกลไกขึ้นมา โชคร้ายที่มันเป็นสิ่งที่ยากเกินไปที่อุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกของโซเวียตในทศวรรษที่ 1970 จะทำได้ และเมื่อถึงปีพ.ศ. 2525 โครงการมีสค์เดิมก็ถูกละทิ้งและเรดาร์ที่ด้อยกว่าก็ถูกเลือกใช้แทน เพื่อทดแทนเวลาที่เสียไปเทคโนโลยีมากมายจากเรดาร์เอ็น 019 โทปาซจึงถูกนำมาใช้ รวมทั้งเสาสัญญาณที่ใช้กับมิก-29 ซึ่งถูกทำใหญ่ขึ้น และผลที่ได้คือเรดาร์เอ็น 001 ที่ใช้ตัวประมวลสัญาณทีเอส 100 ที่ใช้กับเรดาร์เอ็น 019 โทปาซ ในขณะที่เรดาร์เอ็น 001 วีใช้ตัวประมวลสัญญาฯทีเอส 101 เอ็ม ในเวลานั้นเรดาร์มีพิสัยตรวจจับประมาณ 140 กิโลเมตรเมื่อเจอกับตู-16 และสามารถปะทะได้ทีละเป้าหมายเท่านั้น ในตอนแรกเรดาร์มีปัญหาที่ยังต้องแก้ไขอีกหลายอย่าง และทำให้เอ็น 001 ถูกเลือกใช้ประจำการในปี พ.ศ. 2534 ห้าปีหลังจากที่ซู-27 เข้าประจำการครั้งแรกในปีพ.ศ. 2529

เรดาร์ตระกูลเอ็น 001 แบบแรกเป็นเรดาร์คลื่นพัลส์ที่มีความสามารถในการติดตามพร้อมตรวจจับ แต่ตัวประมวลผลของมันนั้นเป็นแบบดั้งเดิม ทำให้มันเกิดความผิดพลาดได้เป็นบางครั้ง เช่นเดียวกับความยากในการใช้งาน แต่ในเวลาเพียงไม่กี่ปีเรดาร์เอ็น 001 ก็ได้รับการพัฒนามากมายจนทำให้เกิดเอ็น 001 วี เอ็น 001 วีอี เอ็น 001 วีอีพี ซึ่งทั้งหมดถูกนำเข้าประจำการ รวมทั้งซู-27 ที่ส่งออกด้วย หัวหน้าผู้ออกแบบซัลซัน เอส-800 ให้กับมิก-31 และผู้เชี่ยวชาญได้เสริมการออกแบบเพื่อแทนที่เรดาร์ตระกูลเอ็น 001

ปัจจุบัน ดูเหมือนว่าการพัฒนาเรดาร์ตระกูลเอ็น 001 นั้นไปถึงขีดจำกัดแล้ว ทำให้เครื่องบินรุ่นใหม่ขึ้น เช่นซู-30 และซู-35/37 ใช้เรดาร์ทิโคมิรอฟ เอ็น 011 เอ็มพร้อมกับพีอีเอสเอ พิสัยที่มากขึ้น ความสามารถในการจัดการได้หลายเป้าหมาย และการตอบสนองไว เรดาร์ดังกล่าวถูกกำหนดให้ถูกแทนที่โดยเรดาร์ไอร์บริส-อีในอนาคต คู่แข่งของทิโคมิรอฟ ฟาโซตรอน ยังได้เสนอเรดาร์ที่คล้ายคลึงกับพีอีเอสเอ

แบบต่างๆ แก้

ในยุคโซเวียต แก้

 
ภาพด้านซ้ายของซุคฮอย ซู-27 แฟลงเกอร์ บี เป็นซีรีส์สแรกในการผลิต
 
ภาพด้านซ้ายของซุคฮอย ซู-27 แฟลงเกอร์ บี เป็นซีรีส์สสุดท้ายในการผลิต
  • ที10 ("แฟลงเกอร์-เอ") : เป็นต้นแบบแรก
  • ที10เอส: เป็นต้นแบบที่ได้รับการพัฒนา คล้ายกับแบบที่ผลิต
  • พี-42: เป็นรุ่นพิเศษที่สร้างเพื่อทำลายสถิติการไต่ระดับ มันถูกนำเอาอาวุธทั้งหมด เรดาร์ และสีออกเพื่อลดน้ำหนักจนเหลือ 14,100 กิโลกรัม มันมีเครื่องยนต์พิเศษที่พัฒนาเพิ่ม
  • ซู-27: เป็นซีรีส์สที่สร้างออกมาก่อนการผลิตในจำนวนน้อยพร้อมกับเครื่องยนต์เอแอล-31
  • ซู-27เอส (ซู-27 / "แฟลงเกอร์-บี") : เป็นแบบหนึ่งที่นั่งในการผลิตแรกๆ พร้อมกับเครื่องยนต์เอแอล-31เอฟ
  • ซู-27ยูบี ("แฟลงเกอร์-ซี") : เป็นแบบสองที่นั่งในการผลิตแรกๆ โดยสร้างมาเพื่อใช้ในการฝึก
  • ซู-27เอสเค: เป็นรุ่นหนึ่งที่นั่งเพื่อการส่งออก
  • ซู-27ยูบีเค: เป็นรุ่นสองที่นั่งเพื่อการส่งออก
  • ซู-27เค (ซู-33 / "แฟลงเกอร์-ดี") : เป็นรุ่นทีหนึ่งที่นั่งที่ใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบิน มีจำนวนน้อย พวกมันคล้ายกับต้นแบบ"ที10เอ"

หลังยุคโซเวียต แก้

  • ซู-27พีดี: เป็นแบบที่นั่งเดียวพร้อมกับการพัฒนาอย่างระบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ
  • ซู-27พียู (ซู-30) : เป็นรุ่นสองที่นั่งที่ผลิตออกมาอย่างจำกัด มันมีระบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ ระบบอิเลคทรอนิกอากาศพิเศษ ระบบควบคุมการบินแบบใหม่
  • ซู-30เอ็ม / ซู-30เอ็มเค: เป็นรุ่นสองที่นั่งหลากบทบาท ซู-30เอ็มถูกสร้างออกมาน้อยมากในปีพ.ศ. 2534 รุ่นส่งออกของซู-30เอ็มเคจะมีความสามารถที่แตกต่างออกไป
  • ซู-30เอ็มเคเอ: เป็รรุ่นสองออกสำหรับแอลจีเรีย
  • ซู-30เอ็มเคไอ (แฟลงเกอร์-เอช): ซู-30เอ็มเคที่ได้รับการพัฒนาให้กับกองทัพอากาศอินเดีย มันมีปีกปลอม เครื่องยนต์แรงขับสูง ระบบอิเลคทรอนิกอากาศแบบใหม่ และหลากบทบาท
  • ซู-30เอ็มเคเค (แฟลงเกอร์-จี): เป็นซู-30เอ็มเคสำหรับกองทัพอากาศจีน พร้อมกับความสามารถในหลากบทบาทและระบบอิเลคทรอนิกอากาศแบบใหม่ แต่ไม่มีเครื่องยนต์ใหม่หรือปีกปลอม กองทัพเรือจีนยังได้ซื้อ"ซู-30เอ็มเค2" อีกด้วย
  • ซู-30เอ็มเคเอ็ม: เป็นแบบลอกมาจากซู-30เอ็มเคไอพร้อมกับข้อแตกต่างอีกเล็กน้อย มันสร้างมาให้กับกับมาเลเซีย
  • ซู-30เคเอ็น (แฟลงเกอร์-บี ม็อด. 2) : เป็นแบบที่นั่งเดียวที่มีระบบอิเลคทรอกนิกอากาศแบบใหม่ที่ทำให้ซู-30เคเอ็นทำงานได้ดียิ่งขึ้น
  • ซู-30เคไอ (แฟลงเกอร์-บี ม็อด. 2) : เป็นแบบที่นั่งเดียวที่มีจุดเด่นของซู-30เอ็มเคโดยสร้างให้กับอินโดนีเซีย
  • ซู-27เอ็ม (ซู-35 / -37, แฟลงเกอร์-อี/เอฟ) : เป็นการพัฒนาสู่การเป็นเครื่องบินซู-27 แบบหลากบทบาทที่มีหนึ่งที่นั่ง มันยังรวมทั้ง"ซู-35ยูบี"แบบสองที่นั่งอีกด้วย
  • ซู-27เอมเอ็ม (แฟลงเกอร์-บี ม็อด. 1) : เป็นซู-27เอสที่พัฒนาแล้วของรัสเซีย โดยมีจุดเด่นของซู-27เอ็ม
  • ซู-27เอสเคเอ็ม: เป็นเครื่องบินขับไล่หนึ่งที่นั่งหลากบทบาทสำหรับการส่งออก มันดัดแปลงมาจากซู-27เอสเคแต่รวมทั้งการพัฒนาของห้องนักบิน ระบบป้องกันอิเลคทรอนิก และระบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ[11]
  • ซู-27ยูบีเอ็ม: เป็นซู-27ยูบีสองที่นั่งที่ได้รับการพัฒนา
  • ซู-32 (ซู-27ไอบี) : เป็นแบบโจมตีสองที่นั่งพิสัยไกล โดยเป็นที่นั่งคู่ มันเป็นต้นแบบของซู-32เอฟเอ็นและซู-34 ฟุลแบ็ค
  • ซู-27เคยูบี: เป็นซู-27เคหนึ่งที่นั่งที่ใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบินพร้อมกับที่นั่งคู่สำหรับฝึก
  • ซู-27บีเอ็ม (ซู-35): มันถูกขนานนามว่า"แฟลงเกอร์รุ่นสุดท้าย" มันเป็นการพัฒนาล่าสุดจากตระกูลแฟลงเกอร์ของซุคฮอย มันมีทั้งเรดาร์และระบบอิเลคทรอนิกใหม่

ประเทศผู้ใช้งาน แก้

 
ประเทศผู้ใช้งานซู-27

มีซู-27 ประมาณ 680 ลำที่ผลิตออกมาโดยสหภาพโซเวียตและรัสเซีย ในจำนวนนี้รวมซู-27 เท่านั้นและไม่ได้รวมรุ่นที่ดัดแปลงในเวลาต่อๆ มา

  แองโกลา
กองกำลังป้องกันทางอากาศแอนโกลามีซู-27 และซู-27ยูบีทั้งหมด 8 ลำ[12]
  เบลารุส
กองทัพอากาศเบลารุสได้รับซู-27 23 ลำจากสหภาพโซเวียต[12] ในปีพ.ศ. 2551 เบลารุสมีในประจำการอยู่ 23 ลำ[12]
  สาธารณรัฐประชาชนจีน
กองทัพอากาศจีนมีซู-27 76 ลำที่รัสเซียให้ก่อนทำสัญญาในปีพ.ศ. 2541 เพื่อออกแบบใหม่ให้กับจีนโดยเฉพาะอย่างเช็งยาง เจ-11 (สร้างออกมาประมาณ 100 ลำในปีพ.ศ. 2547)
  เอริเทรีย
กองทัพอากาศเอริเทียมีซู-27เอสเค/-27ยูบี 8 ลำในปีพ.ศ. 2546[12]
  เอธิโอเปีย
กองทัพอากาศเอธิโปเปียมีซู-27เอสเค 11 ลำ ซู-27พี 3 ลำ และซู-27ยูบี 4 ลำ[12]
  อินโดนีเซีย
กองทัพอากาศอินโดนีเซียมีซู-27เอสเค 2 ลำเมื่อต้นปีพ.ศ. 2552 ในปีพ.ศ. 2553 จะได้รับซู-27เอสเคเอ็มอีก 3 ลำ[12]
  คาซัคสถาน
มีประมาณ 30 ลำและจะมีมาเพิ่มอีก 12 ลำตามข้อตกลง[12]
  รัสเซีย
กองทัพอากาศรัสเซียมี 449 ลำในประจำการ[13] ปัจจุบันรัสเซียวางแผนที่จะพัฒนาให้เป็นซู-27เอสเอ็ม ซึ่งจะรวมทั้งการเปลี่ยนกระจกห้องนักบินและเปลี่ยนเป็นระบบฟลาย-บาย-ไวร์ เรดาร์ก็ได้รับการพัฒนาเช่นกัน ระบบป้องกันตัวและการนำร่องของมันจะได้รับการพัฒนาเช่นกัน พวกเขาหวังว่าการพัฒนาเหล่านี้จะเสร็จสิ้นในปีพ.ศ. 2552
  ยูเครน
กองทัพอากาศยูเครนมี 74 ลำในประจำการเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551[14]
  อุซเบกิสถาน
มี 25 ลำในประจำการ[12]
  เวียดนาม
กองทัพอากาศเวียดนามมีซู-27เอสเค 36 ลำ[15]
  สหรัฐ
สหรัฐอเมริกาได้รับซู-27 สองลำในปีพ.ศ. 2538 อาจใช้ในการผึกรบ[12][16] อีกสองลำถูกซื้อมาจากยูเครนในปีพ.ศ. 2552[17]

อดีตผู้ใช้งาน แก้

  สหภาพโซเวียต
กองทัพอากาศโซเวียตและกองป้องกันทางอากาศของโซเวียต

รายละเอียด ซู-27 แก้

  • ลูกเรือ 1 หรือ 2 นาย
  • ความยาว 21.9 เมตร
  • ระยะระหว่างปลายปีทั้งสอง 14.7 เมตร
  • ความสูง 5.92 เมตร
  • พื้นที่ปีก 62 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า 16,380 กิโลกรัม
  • น้ำหนักพร้อมอาวุธ 23,430 กิโลเมตร
  • น้ำหนักสิ่งขึ้นสูงสุด 30,450 กิโลกรัม
  • ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนแซทเทิร์น/ไลยูก้า เอแอล-31เอฟสองเครื่องยนต์
    • กำลังสูงสุดเครื่องละ 16,910 ปอนด์
    • เมื่อใช้สันดาปท้ายให้กำลังเครื่องละ 27,560 ปอนด์
  • ความเร็วสูงสุด 2.35 มัค (2,500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) บนระดับสูง
  • พิสัย 3,530 กิโมตรบนระดับสูง (1,340 กิโลเมตรในระดับทะเล)
  • เพดานบินทำการ 62,523 ฟุต
  • อัตราการไต่ระดับ 64,000 ฟุตต่อนาที
  • น้ำหนักที่ปีกรับได้ 371 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
  • อัตราแรงจับต่อน้ำหนัก 1.09
  • อาวุธ
    • ปืนใหญ่อากาศจีเอสเอช-30-1 ขนาด 30 ม.ม. หนึ่งกระบอก พร้อมกระะสุน 275 นัด
    • ติดตั้งอาวุธได้ 10 ตำแหน่ง (8,000 กิโลกรัม)
    • ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยกลางอาร์-27 6 ลูก ขีปนาวุธอากาศสู่อากาสติดตามความร้อนพิสัยใกล้อาร์-73 2 ลูก
      • ซู-27เอสเอ็มสามารถใช้อาร์-77 แทนอาร์-27 ได้

[18][19][20]

อุบัติเหตุ แก้

ดูเพิ่ม แก้

การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง

อากาศยานที่เทียบเท่า

อ้างอิง แก้

  1. Russia Air Force Handbook. World Strategic and Business Information Library. Washington, D.C.: International Business Publications USA. 2009. p. 167. ISBN 978-1-43874-019-5.
  2. "Russia Working on Stealth Plasma", by Michal Fiszer and Jerzy Gruszczynski, Journal of Electronic Defense, June 2002
  3. 3.0 3.1 "Su-27 operations". Milavia.
  4. "Air Aces".
  5. Claims with No Names, Air Aces page.
  6. "ke bahru be chilfa" (Ethiopian Air Force 2007 graduation publication, May 2007), pp. 72–3
  7. "Moscow Defense Brief".
  8. "Russian fighters superior, says Pentagon". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-03-13. สืบค้นเมื่อ 2010-01-12.
  9. Lenta.Ru: Georgian army forces falling back from Tskhinvali (รัสเซีย)
  10. Lenta.Ru: Russian airplanes are bombing Georgian army positions (รัสเซีย)
  11. "KNAAPO - Production - Defense - Su-27SKM". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-13. สืบค้นเมื่อ 2009-06-27.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 12.7 12.8 Niels Hillebrand (2008-10-11). "Su-27 Flanker Operators List". MILAVIA. สืบค้นเมื่อ 2008-10-12.
  13. SU-27 Flanker air superiority fighter, warfare.ru
  14. "Directory: World Air Forces", Flight International, 11-17 November 2008.
  15. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-22. สืบค้นเมื่อ 2009-06-27.
  16. Gordon and Davison 2006. p. 101.
  17. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-15. สืบค้นเมื่อ 2009-06-27.
  18. Sukhoi Su-27SK เก็บถาวร 2010-12-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. KNAAPO.
  19. Su-27SK Aircraft performance page เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Sukhoi.
  20. Gordon and Davison 2006, pp. 92, 95-96.
  21. "Pilots blamed for air show crash". CNN. 7 August 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-20. สืบค้นเมื่อ 2009-06-27.
  22. "Su-27 Flanker fighter crashes in Russia's Far East, 1 pilot dead". RIA Novosti. July 29, 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้