ซิดเราะตุลมุนตะฮา

ซิดเราะตุลมุนตะฮา (อาหรับ: سِـدْرَة الْـمُـنْـتَـهَى; ความหมาย: "ต้นพุทรา ณ ขอบเขตที่ไกลที่สุด") เป็นต้นพุทราหรือต้นซิดร์[1]ที่เป็นสัญลักษณ์สุดเขตสวรรค์ชั้นที่เจ็ด ซึ่งเป็นชายแดนที่ไม่มีสิ่งที่ถูกสร้างใดๆ ผ่านไปได้ ตามข้อมูลในศาสนาอิสลาม มีแค่มุฮัมมัดเท่านั้นที่ผ่านได้ในตอนที่เดินทางกับมลาอิกะฮ์ญิบรีลในช่วงอิสรออ์กับมิอฺรอจญ์ (แต่ญิบรีลหยุดอยู่ตรงนั้น) เขตที่อยู่หลังนั้นเป็นที่กล่าวกันว่า เป็นที่ที่อัลลอฮ์กำหนดให้มีการละหมาดห้าเวลา.[2]

ซิดเราะตุลมุนตะฮาในอักษรวิจิตรอิสลาม

กุรอาน แก้

 
ต้นซิดร์ (ต้นพุทรา; Lote tree)
 
หน้า 7 ของหนังสือเรื่อง โบสตัน โดยซาอาดี กวีชาวเปอร์เซีย ที่กล่าวถึงเหตุการณ์อิสรออ์กับมิอฺรอจญ์กับต้นพุทรา

ในซูเราะฮ์ที่ 53 "อัน-นัจม์" ("ดาว") อายะฮ์ที่ 10-18 ได้กล่าวว่า:

10 ดังนั้นเขา (ญิบรีล) จึงนำวะฮียฺมาให้แก่บ่าวของพระองค์ (มุฮัมมัด) สิ่งที่เขาจะนำวะฮียฺมา

11 จิตใจ (ของมุฮัมมัด) มิได้ปฏิเสธสิ่งที่เขาได้เห็น

12 แล้วพวกเจ้าจะโต้เถียงกับเขาเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้เห็นอีกหรือ

13 และโดยแน่นอน เขาได้เห็นญิบรีลในการลงมาอีกครั้งหนึ่ง

14 ณ ที่ต้นพุทธาอันไกลโพ้น

15 ณ ที่นั้น คือสวนสวรรค์อันเป็นที่พำนัก

16 (ขณะนั้น) สิ่งที่ปกคลุม (แสงประกาย) ได้ปกคลุมต้นพุทรา

17 สายตา (ของมุฮัมมัด) มิได้เหลือบแลไปทางอื่น และมิได้ล่วงเกินไป

18 โดยแน่นอนเขาได้เห็นสัญญาณอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าของเขา (อัลกุรอาน 53:10–18)

และชื่อต้นไม้นี้ยังปรากฎอยู่ในซูเราะฮ์ที่ 34 อายะฮ์ที่ 16 และซูเราะฮ์ที่ 56 อายะฮ์ที่ 28.

ความหมาย แก้

ในหนังสือตัฟซีรอัลกุรอานสมัยใหม่ชื่อ ตัฟซีร อัล-กะรีม อัร-รอฮ์มาน ฟี ตัฟซีร กะลาม อัล-มะนาน (تفسير الكريم الرحمن في تفسير كلام المنان) โดย อับดุลเราะฮ์มาน อิบน์ นาซิร อัส-ซะอ์ดี ได้อธิบายถึงต้นซิดรอตุลมุนตะฮาไว้ว่า:[3] (อัลกุรอาน 53:14)

มัน [ต้นซิดรอตุลมุนตะฮา] เป็นต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ (شَجَرَة - ชาญาเราะฮ์) ที่อยู่ไกลจากสวรรค์ชั้นที่เจ็ด ที่มันได้ชื่อนี้เพราะเป็นที่ที่อะไรก็ตามที่ขึ้นไปจากโลกและอะไรก็ตามที่ลงมา [จากสวรรค์] นั้นจะหยุดลงตรงนั้น ซึ่งรวมไปถึงสิ่งที่พระเจ้าประทานลงมา เช่นวะฮ์ย (บทบัญญัติจากสวรรค์) และสิ่งอื่นที่เหมือนกัน...

— (As-Sa`di, Tafsir, 819).[3]

อับดุลละห์ ยูซุฟ อาลี กล่าวในหนังสือ คำภีร์อัลกุรอาน: ข้อความ คำแปล และคำอธิบาย (The Holy Qur'an: Text, Translation and Commentary)[4] ไว้ว่า ต้นไม้นี้ "เป็นขอบเขตของความรู้จากสวรรค์ที่ถูกประทานให้กับมนุษย์, สิ่งที่อยู่หลังจากนี้ ไม่มีแม้แต่เทวทูตหรือมนุษย์ที่จะผ่านไปได้"[5]

จอร์จ เซล นักวิชาการอังกฤษในช่วงศตวรรษที่ 18 ได้อธิบายว่า "สิ่งที่อยู่หลังจากมันบรรดาเทวทูตไม่สามารถผ่านได้; หรือจะให้จินตนาการให้ดีกว่านี้, ไม่มีความรู้ใดๆ ของสิ่งที่ถูกสร้างจะขยายไปได้ (เข้าใจได้)"[6]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. อัลกุรอาน 53:14
  2. El-Sayed El-Aswad. Religion and Folk Cosmology: Scenarios of the Visible and Invisible in Rural Egypt. Praeger/Greenwood. United States: 2002. p. 84. ISBN 0-89789-924-5
  3. 3.0 3.1 Stephen Lambden (9 November 2009). "The Sidrah (Lote-Tree) and the Sidrat al-Muntaha (Lote-Tree of the Extremity) - part 1". Hurqalya Publications. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-09. สืบค้นเมื่อ 9 July 2014.
  4. Mohammed, Khaleel (Spring 2005). "Assessing English Translations of the Qur'an". Middle East Quarterly. Middle East Forum. 12 (2): 58–71. สืบค้นเมื่อ 22 Oct 2015.
  5. Abdullah, Yusuf Ali (1946) The Holy Qur-an: Text, Translation and Commentary, Qatar National Printing Press. p.1139,n.3814
  6. Sale, George (n.d.) The Koran" Sir John Lubbock's hundred books. George Routledge and sons, London. p.323 note r

แหล่งข้อมูลอื่น แก้