ซัลมาน อัลฟาริซี

(เปลี่ยนทางจาก ซัลมาน ฟารซี)

ซัลมาน อัลฟาริซี (อาหรับ: سَلْمَان ٱلْفَارِسِيّ, อักษรโรมัน: Salmān al-Fārsī; ชื่อเกิด โรซเบ; เปอร์เซีย: روزبه)[1] เป็นผู้ติดตามของศาสดามุฮัมมัดและชาวเปอร์เซียคนแรกที่เข้ารับอิสลาม เขาทำหน้าที่ให้กับศาสดามุฮัมมัดและเคาะลีฟะฮ์อุมัร (ค. 634 – 644) ซัลมานมีส่วนร่วมในการพิชิตดินแดนโดยมุสลิมที่จักรวรรดิซาเซเนียน และภายหลังดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการเทซีฟอนใน ค.ศ. 637 จนกระทั่งเสียชีวิตใน ค.ศ. 656 ซัลมานเคยนับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ ภายหลังเปลี่ยนไปนับถือคริสต์ และหลังพบกับมุฮัมมัดก็นับถือศาสนาอิสลาม

ซัลมาน อัลฟาริซี
سَلْمَان ٱلْفَارِسِيّ
ชื่อเกิดโรซเบ
ชื่ออื่นอะบู อัลกิตาบัยน์ ('บิดาแห่งหนังสือ')
อะบู อับดุลลอฮ์ ('บิดาของอับดุลอฮ์')
ซัลมาน อิบน์ อัลอิสลาม ('ซัลมาน บุตรของอิสลาม')
เกิดค.ศ. 568
เอสแฟฮอน เปอร์เซีย
เสียชีวิต656 (อายุ 61–62)
อัลมะดาอิน, เอสแฟฮอน หรือเยรูซาเลม
ที่ฝังศพที่เป็นไปได้
รับใช้รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน
แผนก/สังกัด
ประจำการค.ศ. 624–653
คู่สมรสBukayra al-Kindi
บุตรอับดุลลอฮ์
มุฮัมมัด

นักประวัติศาสตร์ทั่วไปมองซัลมานเป็นผู้ว่าการที่ประสบความสำเร็จ ธรรมเนียมนิกายซุนนีให้เกียรติเขาในฐานะผู้ว่าการที่ยิ่งใหญ่และเป็นอัจฉริยภาพแห่งคุณธรรมอิสลาม (paragon of Islamic virtues) ในขณะที่ธรรมเนียมนิกายชีอะฮ์ให้เกียรติซัลมานในฐานะบุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาผู้ติดตามทั้งสี่ที่ยังคงจงรักภักดีต่ออะลี เคาะลีฟะฮ์องค์ที่สี่ (ค. 656 – 661)[2]

ต้นกำเนิดและชีวิตช่วงต้น แก้

ชื่อเดิมของซัลมานคือ Rūzbeh Khoshnudan และน่าจะถือกำเนิดที่คอเซรูนหรือเอสแฟฮอน[3][4][5] ในฮะดีษ ซัลมานสืบเชื้อสายบรรพบุรุษจากรอมโฮร์โมซ[6][7][8] ในช่วงสิบหกปีแรกของชีวิต เขาอุทิศตนศึกษาหาความรู้เพื่อทำหน้าที่เป็นโหราจารย์หรือนักบวชในศาสนาโซโรอัสเตอร์ที่ภายหลังจะกลายเป็นผู้พิทักษ์วิหารไฟ ซึ่งเป็นงานที่น่านับถือ สามปีต่อมาใน ค.ศ. 587 เขาไปพบกับกลุ่มชาวคริสต์เนสโตเรียนและรู้สึกประทับใจ เขาทิ้งครอบครัวไปร่วมกับพวกเขา ซึ่งขัดคำเรียกร้องของพ่อ

เข้ารับอิสลาม แก้

เขาเดินทางไปรอบ ๆ ตะวันออกกลางเพื่อปรึกษาแนวคิดของเขากับนักบวช นักเทววิทยา และนักวิชาการไว้สืบหาความจริง เขาได้ยินเรื่องราวมุฮัมมัดตอนอาศัยที่ซีเรีย[4] อิบน์ ฮิชามรายงานว่า ซัลมานพบกับผู้เคร่งศาสนาในซีเรียที่กำลังรักษาผู้ป่วย[9] ในขณะที่ซัลมานกำลังเดินทางผ่านอาระเบีย มีชาวยิวจับเขาไปเป็นทาส หลังซัลมานมาที่มะดีนะฮ์ เขาพบกับมุฮัมมัดและสังเกตเห็นสัญลักษณ์ที่นักบวชคริสต์ได้กล่าวแก่เขา และเข้ารับอิสลาม มุฮัมมัดกับอะบูบักร์ร่วมกันช่วยเหลือซัลมานให้เขามีอิสรภาพและเป็นไทจากเจ้านาย[10][3][4]

อะบูฮุร็อยเราะฮ์เคยกล่าวถึงซัลมานเป็น "อะบู อัลกิตาบัยน์" ("บิดาแห่งสองหนังสือ"; นั่นคือ คัมภีร์ไบเบิลและอัลกุรอาน) และอะลีเคยกล่าวถึงเขาเป็น "ลุกมานัลฮะกีม" ("ลุกมานผู้ฉลาด")[11] เมื่อมีใครถามถึงบรรพบุรุษของเขา ซัลมานจะตอบว่า: "ข้าคือซัลมาน บุตรของอิสลามจากลูกของอะดัม"[12]

อาชีพทางทหาร แก้

สงครามสนามเพลาะ แก้

 
มัสยิดซัลมาน อัลฟาริซี, สงครามสนามเพลาะ, มะดีนะฮ์

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 626 กองทัพเผ่ากุเรชที่นำโดยอะบูซุฟยานวางแผนที่จะโจมตีมะดีนะฮ์ ซัลมานที่มีความรู้เกี่ยวกับยุทธวิธีของเปอร์เซีย ได้เสนอแนะให้ขุดคูขนาดใหญ่ล้อมรอบเมืองต่อกองทัพจำนวน 10,000 นาย ศาสดามุฮัมมัดและผู้ติดตามยอมรับแผนของซัลมานเพราะว่ามันปลอดภัยกว่าและมีโอกาสที่กองทัพที่ไม่ใช่มุสลิมจะประสบกับความเสียหายมากกว่า[3][4][5]

ในยุทธการที่อัฏฏออิฟ ซัลมานเสนอแนะให้ใช้แคทะพัลต์ (catapult) ซึ่งท่านศาสดาก็ยอมรับข้อเสนอแนะนี้[13]

ผู้ว่าการเทซีฟอน แก้

ในรัชสมัยของอุมัร ซัลมานดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าประจำอัลมะดาอิน[14] ภายหลังเขามีส่วนร่วมในสงครามบางส่วนของการพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียของมุสลิม โดยในยุทธการที่เอสแทฆร์ ซัลมานเสนอห้ขุดคูบนเส้นทางของกองทัพซาเซเนียน เพื่อไม่ให้พวกเขาเดินทางมาถึงกองทัพของมุสลิม ยุทธวิธีนี้ได้ผลและฝ่ายมุสลิมเป็นฝ่ายชนะสงคราม[15] หลังการพิชิตเทซีฟอนของอัรรอชิดูน ซัลมานได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการมุสลิมคนแรกแห่งเทซีฟอน[16]

เสียชีวิต แก้

ไม่มีใครมราบว่าซัลมาน อัลฟาริซีเสียชีวิตตอนไหน อย่างไรก็ตาม มีสันนิษฐานว่าเขาน่าจะเสียชีวิตในรัชสมัยของอุษมานหรือปีที่สองของรัชสมัยอะลี ข้อมูลหนึ่งระบุว่าเขาเสียชีวิตใน ฮ.ศ. 32/ค.ศ. 652 หรือ 653 ตามปฏิทินจูเลียน[17][18] ในขณะที่อีกข้อมูลหนึ่งระบุว่าเขาเสียชีวิตในรัชสมัยของอุษมานใน ฮ.ศ. 35/ค.ศ. 655 หรือ 656[18] ข้อมูลหนึ่งระบุว่าเขาเสียชีวิตในรัชสมัยของอะลี[11] สุสานของเขาตั้งอยู่ในมัสยิดซัลมาน อัลฟาริซีในอัลมะดาอิน[19] หรือบางส่วนระบุว่าอาจฝังที่เอสแฟฮอน, เยรูซาเลม และที่อื่น ๆ[3]

อ้างอิง แก้

  1. Mohamad Jebara, Muhammad, the World-Changer: An Intimate Portrait, St. Martin's Publishing Group, 2021, p. 331.
  2. Adamec, Ludwig W. (2009). Historical Dictionary of Islam. Lanham, Maryland • Toronto • Plymouth, UK: The Scarecrow Press, Inc. pp. 276–277.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Jestice, Phyllis G. (2004). Holy People of the World: A Cross-cultural Encyclopedia, Volume 1. ABC-CLIO. p. 761. ISBN 978-1576073551. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-23. สืบค้นเมื่อ 2018-01-22.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Houtsma & Wensinck (1993). First Encyclopaedia of Islam: 1913-1936. Brill Academic Pub. p. 116. ISBN 978-9004097964.
  5. 5.0 5.1 Zakeri, Mohsen (1993). Sasanid Soldiers in Early Muslim Society: The Origins of 'Ayyārān and Futuwwa. Jremany. p. 306. ISBN 9783447036528. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-25. สืบค้นเมื่อ 2015-05-14.
  6. Milad Milani (2014). Sufism in the Secret History of Persia. Routledge. p. 180. ISBN 9781317544593. In one particular hadith, Salman mentions he is from Ramhormoz, though this is a reference to his ancestry as his father was transferred from Ramhormoz to Esfahan, residing in Jey (just outside the military camp), which was designed to accommodate the domestic requirements of military personnel.
  7. Sameh Strauch (Translator) (2006). Mukhtaṣar Sīrat Al-Rasūl. Darussalam. p. 94. ISBN 9789960980324. {{cite book}}: |author1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  8. Sahih Bukhari, Book 5, Volume 58, Hadith 283 (Merits of the Helpers in Madinah [Ansaar]). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-25. สืบค้นเมื่อ 2016-01-05. Narrated Salman: I am from Ram-Hurmuz (i.e. a Persian town).
  9. Savant 2013, p. 65.
  10. Kambin 2011.
  11. 11.0 11.1 "سلمان الفارسي - الصحابة - موسوعة الاسرة المسلمة". Islam.aljayyash.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-29. สืบค้นเมื่อ 2012-12-25.
  12. Hijazi, Abu Tariq (27 Sep 2013). "Salman Al-Farsi — the son of Islam". Arab News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-07. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
  13. Tirmizi 2007, p. 203.
  14. Sabiq 1986, p. 8.
  15. Kambin 2011, p. 24.
  16. Zakeri, Mohsen (1993). Sasanid Soldiers in Early Muslim Society: The Origins of 'Ayyārān and Futuwwa. Jremany. p. 306. ISBN 9783447036528. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-25. สืบค้นเมื่อ 2015-05-14.
  17. "موقع قصة الإسلام - إشراف د/ راغب السرجاني". islamstory.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-30. สืบค้นเมื่อ 2012-12-25.
  18. 18.0 18.1 John Walker. "Calendar Converter". fourmilab.ch. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-17. สืบค้นเมื่อ 2014-06-01.
  19. "Rockets hit Shia tomb in Iraq". Al Jazeera. 27 กุมภาพันธ์ 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2019. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2019.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้