ซันเด (อังกฤษ: Sundae) เป็นไอศกรีมจำนวนตั้งแต่หนึ่งลูกหรือมากกว่า ราดด้วยน้ำเชื่อมและมีเครื่องโรยหน้าวางอยู่ข้างบน เช่น สปริงเคิลส์, วิปครีม, ถั่วลิสง, เชอร์รีมารัสชิโน หรืออาจจะเป็นผลไม้ เช่น กล้วย หรือ สับปะรด

ซันเด
ไอศกรีมซันเดสตรอว์เบอร์รีบนถ้วยต้นตำรับ
ประเภทไอศกรีม
มื้อของหวาน
แหล่งกำเนิดสหรัฐอเมริกา
ส่วนผสมหลักไอศกรีม, ซอสหรือไซรัป, ของหวานสำหรับโรย

หลักฐานที่มาของซันเดตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด ยังไม่แน่ชัด อย่างไรก็ดี ในภาษาอังกฤษใช้คำสะกดว่า "sundae" ซึ่งคล้ายกับคำว่า "sunday" ที่แปลว่าวันอาทิตย์

ประวัติ แก้

 
ช็อกโกแลตซันเด

ประวัติของซันเดมาจากหลากหลายแหล่งที่มา โดยที่ได้ถูกกล่าวถึงบ่อยคือ ในสมัยก่อนนั้น ซันเดเป็นรูปแบบของไอศกรีมที่ผสมโซดา ตามหลักฐานจากห้องสมุดอีแวนสตัน ในรัฐอิลลินอย สหรัฐอเมริกา ระบุว่าการดื่มโซดาในวันอาทิตย์นั้นผิดกฎหมายในรัฐอิลลินอย[1]

บางหลักฐานก็กล่าวว่าเป็นการคิดค้นสิ่งใหม่ในการตั้งชื่อและสื่อถึงการตระหนักต่อกฎหมาย

ไอศกรีมซันเดเคยเป็นขนมน้ำพุโซดาที่ขายในวันหยุดช่วงต้นยุคศตวรรษที่ 20 และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โดย ดิไอศกรีมเทรดเจอร์นัล ได้ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1909 ระบุว่ามีซันเดหลายประเภท ทั้งซันเดธรรมดา หรือที่เรียกว่า "เฟรนช์ซันเด" รวมไปถึงซันเดที่มีรูปแบบแปลกใหม่เช่น โรบินฮูดซันเด, โกโก้คาราเมลซันเด, แบล็กฮอว์คซันเด, แองเจิลเค้กซันเด, เชอร์รีดิปซันเด, ซินนามอนพีกซันเด, โอเปราซันเด, เฟลอร์ดีออเรนจ์ซันเด, นิกเกอร์บ็อกเกอร์ซันเด, ทอลลีโฮซันเด, บิสมาร์ค และ จอร์จ วอชิงตันซันเด เป็นต้น[2]

ต้นกำเนิด แก้

มีหลายเมืองในสหรัฐอเมริกาที่ต่างอ้างกันว่าเป็นต้นกำเนิดของไอศกรีมซันเด ได้แก่ ทูริเวอส์ รัฐวิสคอนซิน, เพลนฟีลด์ รัฐอิลลินอย, อีแวนสตัน รัฐอิลลินอย, นครนิวยอร์ก, นิวออร์ลีนส์, อิทาคา, คลีฟแลนด์ และ บัฟฟาโล

ทูริเวอส์ ในปี ค.ศ. 1881 แก้

 
แผ่นป้ายจารึกถึงต้นกำเนิดของไอศกรีมซันเดในรัฐวิสคอนซิน

เมืองทูริเวอส์ได้อ้างว่าเป็นต้นกำเนิดของการคิดค้นไอศกรีมซันเด โดยจอร์จ ฮัลเลาเออร์ ได้สั่งไอศกรีมกับ เอ็ดเวิร์ด ซี. เบอเนอส์ เจ้าของร้านเบอเนอส์โซดาเฟาเทน ให้ราดซอสช็อกโกแลตลงบนไอศกรีม ในปี พ.ศ. 2424 (ค.ศ. 1881) ต่อมาเบอเนอส์ได้ขายไอศกรีมรูปแบบนี้ในทุกวันอาทิตย์ หลังจากนั้นก็ได้ขายในทุก ๆ วัน โดยตามเนื้อเรื่องนี้รูปแบบได้เปลี่ยนไปเมื่อพนักงานขายแก้วได้สั่งให้ใส่จานที่มีรูปร่างคล้ายเรือแคนู หลังจากนั้นเบอเนอส์ได้เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1939 โดย "ชิคาโกทรีบูน" ได้พาดหัวข่าวว่า "ชายผู้ผลิตไอศกรีมซันเดคนแรกได้เสียชีวิตลงแล้ว"[3][4] โดยนักเรียนมัธยมปลายจากโรงเรียนอิทาคาได้อ้างว่าเมื่อตอนนั้นเบอเนอส์เพิ่งจะมีอายุได้เพียง 16 หรือ 17 ปี ในปี ค.ศ. 1881 ทำให้ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่เขาจะเปิดร้านขายไอศกรีมในปีนั้น อีกทั้งยังคาดว่าเบอเนอส์ได้เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1899 ไม่ใช่ ค.ศ. 1881[5]

อีแวนสตัน ในปี ค.ศ. 1890 แก้

 
วารสารอิทาคาเดลี เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1892

อีแวนสตันเป็นเมืองแรกที่สามารถผ่านกฎหมายที่บังคับห้ามขายโซดาในวันอาทิตย์ได้ ในปี พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890) บ่งบอกถึงการบังคับกฎหมายที่ทำให้ห้ามขายโซดาในวันอาทิตย์ได้[1] โดยสามารถทำการขายของหวานต่อได้ในวันจันทร์ ซึ่งตัวแทนในท้องถิ่นได้ให้เปลี่ยนชื่อไอศกรีมชนิดนี้ให้สะกดเป็น "Sundae"[6][7]

อิทาคา ในปี ค.ศ. 1892 แก้

หลังจากเมืองอิทาคาได้อ้างว่าเป็นต้นกำเนิดของไอศกรีมซันเด นักวิจัยที่ศูนย์ประวัติศาสตร์ในเมืองทอมป์กินส์เคาตี ได้ระบุไว้ว่า "ในวันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1892 ในเมืองอิทาคา จอห์น เอ็ม. สกอตต์ และ เชสเตอร์ แพลตต์ ได้คิดค้นไอศกรีมซันเดครั้งแรกขึ้น"[5][8] แพลตราดซอสเชอร์รีบนไอศกรีม อีกทั้งยังประดับด้วยผลเชอร์รีบนไอศกรีม โดยมีชื่อว่า "เชอร์รีซันเด" อีกทั้งยังมีการพบหลักฐานที่เป็นเอกสารซึ่งลงโฆษณาหนังสือพิมพ์แพลตต์แอนด์โคลต์เป็น "เชอร์รีซันเด" บน "วารสารอิทาคาเดลี" เมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1892 ต่อมาในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน แพลตต์แอนด์โคลต์ ได้นำเสนอเมนู "สตรอว์เบอร์รีซันเดย์" และ "ช็อกโกแลตซันเดย์" ด้วย

ไอศกรีมซันเดของแพลตต์แอนด์โคลต์ได้ขายดีมากในปี ค.ศ. 1894 เชสเตอร์ แพลตต์ ได้พยายามจดทะเบียนชื่อไอศกรีม "ซันเดย์"[9]

เพลนฟีลด์ แก้

เมืองเพลนฟีลด์ได้อ้างว่าเป็นเมืองแรกที่คิดค้นไอศกรีมซันเด โดยผู้คนในท้องถิ่นเชื่อว่า นายซอนน์ทัก เภสัชกรในเพลนฟีลด์ ได้คิดค้นเมนูนี้ขึ้นหลังจากลูกค้าต้องสิ่งแปลใหม่ โดยเขาได้ตั้งชื่อว่า "ซอนน์ทัก" (Sonntag) ซึ่งมีความหมายว่าวันอาทิตย์ในภาษาเยอรมัน และหลังจากนั้นก็ได้เปลี่ยนคำสะกดมาเป็น "ซันเด" (Sundae)[10] ชาร์เลส ซอนน์ทัก ได้เป็นเภสัชกรตั้งแต่เขาเรียนจบจากโรงเรียนเภสัชกรในปี ค.ศ. 1890 เขาทำงานประมาณ 1 ปี และจ้างผู้ช่วยมา 2 คน คือ ดร.เดวิด ดับเบิลยู. จัมป์ และ เอฟ. อาร์. โทเบียส ซึ่งเขาเปิดร้านขายยาของเขาประมาณปี ค.ศ. 1893 ถึง ค.ศ. 1895 และได้ขายไอศกรีมโซดาด้วย

รูปแบบ แก้

ซันเดแบบดั้งเดิม แก้

 
ซันเดแบบดั้งเดิม ประกอบด้วยไอศกรีมวานิลลา, วิปครีม และเชอร์รีมารัสคีโน

ซันเดแบบดั้งเดิมประกอบไปด้วยไอศกรีมวานิลลา ราดด้วยซอสหรือไซรัป, วิปครีม และเชอร์รีมารัสคีโน ซึ่งซันเดแบบดั้งเดิมจะตั้งชื่อตามไซรัป เช่น เชอร์รีซันเด, ช็อกโกแลตซันเด, สตรอว์เบอร์รีซันเด, ราสเบอร์รีซันเด เป็นต้น โดยซันเดแบบนี้จะเสิร์ฟในแก้วรูปทรงคล้ายแจกัน ทำให้แก้วแบบนี้ถูกเรียกว่า แก้วซันเด

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Origin of the Ice Cream Sundae". Evanston Public Library. สืบค้นเมื่อ 2010-01-10. Some ingenious confectioners and drug store operators, in "Heavenston," served ice cream with the syrup of your choice without the soda, thereby complying with the law. They did not serve ice cream sodas. They served sodas without soda on Sunday. This soda-less soda was the Sunday soda. It proved palatable and popular and orders for Sundays began to cross the counters on Mondays
  2. The Ice Cream Trade Journal. The National Association of Ice Cream Manufacturers. July 1909. p. Vol 5, No. 7. สืบค้นเมื่อ 20 August 2022.
  3. "Man Who Made First Ice Cream Sundae Is Dead". Chicago Daily Tribune. July 2, 1939. p. 1.
  4. "Two Rivers - The Real Birthplace of the Ice Cream Sundae". Two Rivers Economic Development. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2005. สืบค้นเมื่อ 2007-06-26. The ice cream sundae story dates back to 1881 when chocolate sauce was used to make ice cream sodas at Ed Berners' soda fountain at 1404 15th Street. One day, a vacationing George Hallauer - a Two Rivers native then living in Illinois - asked Berners to put some of the chocolate sauce over a dish of ice cream. According to a 1929 interview with Berners, he apparently didn't think it was a good idea.
  5. 5.0 5.1 "Edward C. Berners". Research. 2007-07-26. สืบค้นเมื่อ 2021-06-26.
  6. "The origin of ice-cream". BBC. 2004-09-07. สืบค้นเมื่อ 2010-01-10. Ice Cream sundaes were invented when it became illegal to sell ice-cream sodas on a Sunday in the American town of Evanston during the late 19th century. To get around the problem some traders replaced the soda with syrup and called the dessert an "Ice Cream Sunday." They replaced the final "y" with an "e" to avoid upsetting religious leaders…
  7. "The History of Ice Cream". International Dairy Foods Association. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-19. สืบค้นเมื่อ 3 July 2014.
  8. "Ithaca's Gift to the World". สืบค้นเมื่อ 2011-11-27.
  9. "Documenting Ithaca New York as the Home of the Ice Cream Sundae". Ithaca Convention & Visitors Bureau. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-01. สืบค้นเมื่อ 2007-08-20. On Sunday afternoon, April 3, 1892, after services at the Unitarian Church, Reverend John M. Scott paid his usual visit to the Platt & Colt Pharmacy in downtown Ithaca. Shop proprietor, Chester C. Platt, was church treasurer and he met often with Scott for conversation after services. Seeking refreshment for himself and the reverend, Platt asked his fountain clerk, DeForest Christiance, for two bowls of ice cream. But instead of serving the reverend plain vanilla, Platt took the bowls and topped each with cherry syrup and a candied cherry. The finished dish looked delightful and tasted delicious—so much so that the men felt obliged to name the new creation. After some debate, Scott suggested that it be named for the day it was created. Platt concurred and the first "Cherry Sunday" was born.
  10. "Village of Plainfield Historical Information Directory". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-05. สืบค้นเมื่อ 2011-04-03. Plainfield is also claimed to be the home of the very first ice cream sundae. Story says that a Plainfield druggist created the novelty after the urgings of patrons to serve something different. Topping some ice cream with syrup, he named it the "sonntag" after his surname. Sonntag means Sunday in German, thus the ice cream sundae was born.