ซะอด์ อิบน์ อะบี วักกอศ

(เปลี่ยนทางจาก ซะอัด อิบน์ อบีวักกอส)

ซะอด์ อิบน์ อะบี วักกอศ (อาหรับ: سعد بن أبي وقاص) เป็นหนึ่งในผู้ติดตามของศาสดามุฮัมมัด เขาเป็นคนที่สามหรือสี่ที่เข้ารับอิสลามตอนอายุ 17 ปี และเป็นที่รู้จักจากการเป็นแม่ทัพในสงครามกอดีซียะฮ์แล้วครอบครองเปอร์เซียใน ค.ศ. 636 และดำเนินทางการทูตที่ประเทศจีนในปี ค.ศ. 651

ซะอด์ อิบน์ อะบี วักกอศ
เกิดค.ศ. 595
มักกะฮ์ คาบสมุทรอาหรับ
เสียชีวิตค.ศ. 674
มะดีนะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย
รับใช้รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน
แผนก/สังกัดทหารของรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน
ประจำการค.ศ. 636–644
ชั้นยศผู้บังคับบัญชา
ผู้ว่าราชการจังหวัดเทซัยฟอน (ค.ศ. 637–638)
ผู้ว่าราชการจังหวัดบัสเราะฮ์ (ค.ศ. 638–644), (ค.ศ. 645–646)
บังคับบัญชาการพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียโดยมุสลิม
ซะอด์ อิบน์ อะบี วักกอศ นำทหารจากรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีนไปสู้รบในสงครามกอดีซียะฮ์ ภาพจากวรรณกรรมชอฮ์นอเม

ประวัติ แก้

ครอบครัว แก้

เขาเกิดใน ค.ศ. 595 ที่มักกะฮ์ พ่อของเขาชื่อ อะบู วักกอศ มะลิก อิบน์ อุฮัยบ์ อิบน์ อับดุลมะนาฟ อิบน์ ซุฮเราะฮ์จากกลุ่มบนูซุฮเราะฮ์ของเผ่ากุเรช[1][2] โดยที่พ่อของเขาเป็นลุงทางฝั่งพ่อของอะมีนะฮ์ บินต์ วะฮับ[3] ผู้เป็นแม่ของมุฮัมมัด แม่ของซะอด์ชื่อ ฮัมนะฮ์ บินต์ ซุฟยาน อิบน์ อุมัยยะฮ์ อิบน์ อับดุลชาม อิบน์ อับดุลมะนาฟ[4]

ในสมัยศาสดามุฮัมมัด (ค.ศ. 610–632) แก้

เข้ารับอิสลาม แก้

เขาเป็นหนึ่งในกลุ่มคนแรกที่เข้ารับอิสลาม แต่นั่นทำให้แม่ของเขาโมโหมาก แล้วสาบานว่าจะไม่กินหรือดื่มเป็นเวลาหลายวันจนกว่าเธอจะตายหรือให้เขาออกจากศาสนาอิสลาม หลังจากนั้นซะอด์ได้กล่าวว่า 'โอ้อุมามะฮ์! ในใจของฉันรักเธอมาก แต่ความรักต่ออัลลอฮ์และศาสดานั้นแข็งแรงกว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ ถ้าเธอมีวิญญาณอยู่ 1,000 ร่าง โดยแต่ละร่างจะแยกออกจากกัน ฉันจะไม่ละทิ้งศาสนาเพื่ออะไรทั้งสิ้น เมื่อเธอได้ยินเช่นนั้นเธอจึงเริ่มกินหรือดื่มต่อไป[1]

สงคราม แก้

 
ธนูของซะอด์ อิบน์ อะบี วักกอศ ในพิพิธภัณฑ์รถไฟฮิญาซ

ใน ค.ศ. 614 กลุ่มของชาวมุสลิมกำลังเดินขึ้นเขาเพื่อละหมาดกับมุฮัมมัด ในขณะที่พวกบูชาเทวรูปหลายองค์เริ่มก่อกวนและสู้กับพวกเขา ซะอด์จึงต่อสู้กับพวกเขาจนมีการหลั่งเลือด จึงมีรายงานว่าเขาเป็นมุสลิมคนแรกที่หลั่งเลือดในนามของอิสลาม[1][5]

เขาเข้าร่วมสงครามบะดัรพร้อมกับอุมัยร์ น้องชายของเขา ที่ตอนแรกถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าสงครามซึ่งทำให้เขาดิ้นรนและร้องไห้ แล้วมุฮัมมัดยอมให้เขาเข้าร่วมสงครามจนกลายเป็นหนึ่งในสิบสี่ผู้พลีชีพในสงครามและซะอด์ต้องกลับมะดีนะฮ์คนเดียว และในสงครามอุฮุด เขาเป็นพลธนูที่อยู่บนภูเขาพร้อมกับซัยด์, ซะอีบ และคนอื่นที่ยังคงตั้งมั่น ถึงแม้ว่าชาวมุสลิมบางคนเริ่มลงจากภูเขาเพื่อเก็บทรัพย์สิน

ในสมัยเคาะลีฟะฮ์อุมัร (ค.ศ. 634–644) แก้

เขาเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่สร้างเมืองกุฟะฮ์ในประเทศอิรัก และเป็นแม่ทัพที่ต่อสู้กับทหารจักรวรรดิแซสซานิดในสงครามกอดีซียะฮ์และสงครามนะฮาวันด์ หลังจากนั้น เขามีอาชีพเป็นผู้ว่าราชการของเมืองกูฟะฮ์และเนจด์[6]

ในสมัยเคาะลีฟะฮ์อุสมาน (ค.ศ. 644–656) แก้

มีรายงานจากชาวมุสลิมในจีนว่าซะอด์เดินทางมาที่ประเทศจีนใน ค.ศ. 650 ช่วงสมัยจักรพรรดิถังเกาจง[7][8] และมีมัสยิดในลัลโมนีร์ฮัตของประเทศบังกลาเทศ ที่มีประวัติว่าซะอด์เป็นผู้ดำเนินการสร้างใน ค.ศ. 648 และมักเรียกว่ามัสยิดอะบูอักกอศ[9][10]

ในสมัยมุอาวิยะฮ์ ค.ศ. 661–674 แก้

เขามีชีวิตอยู่นานกว่าสิบคนที่ประเสริฐ โดยมีฐานะร่ำรวย แล้วเสียชีวิตตอนอายุ 80 ปี ประมาณปีค.ศ. 674[1]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Sa'ad Ibn Abi Waqqas (radhi allahu anhu) เก็บถาวร 10 กันยายน 2005 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. Muhammad ibn Jarir al-Tabari (1995). The History of al-Tabari. Vol. 28. SUNY Press. p. 146.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-18. สืบค้นเมื่อ 2019-03-11.
  4. Short Biography of the Prophet & His Ten Companions. Darussalam. 2004. p. 80.
  5. Nafziger & Walton 2003, p. 23
  6. The Shi'a: The Real Followers of the Sunnah on al-Islam.org [1]
  7. Wang, Lianmao (2000). Return to the City of Light: Quanzhou, an eastern city shining with the splendour of medieval culture. Fujian People's Publishing House. Page 99.
  8. Lipman, Jonathan Neaman (1997). Familiar strangers: a history of Muslims in Northwest China. University of Washington Press. p. 29. ISBN 962-209-468-6.
  9. Mahmood, Kajal Iftikhar Rashid (2012-10-19). "সাড়ে তেরো শ বছর আগের মসজিদ" [1350 Year-old Mosque]. Prothom Alo (ภาษาเบงกอล). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-06. สืบค้นเมื่อ 2019-03-11.
  10. "History and archaeology: Bangladesh's most undervalued assets?". deutschenews24.de. 21 ธันวาคม 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2014.

สารานุกรม แก้

  • Nafziger, George F.; Walton, Mark W. (2003), Islam at war, Greenwood Publishing Group, p. 278, ISBN 0-275-98101-0, สืบค้นเมื่อ 25 July 2010

แหล่งข้อมูลอื่น แก้