ซอสเบชาแมล (ฝรั่งเศส: sauce béchamel, béchamelle), เบชชาเมลลา (อิตาลี: besciamella) หรือ ซอสขาว (อังกฤษ: white sauce) ทำจากรู (ส่วนผสมจากแป้งตีผสมกับเนย) นำขึ้นตั้งไฟตีผสมกับนม ซอสนี้ได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในซอสแม่ของตำรับอาหารฝรั่งเศส[1] ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17[2][3] นอกจากนี้ยังใช้เป็นพื้นฐานสำหรับซอสอื่น ๆ (เช่นซอสมอร์แนซึ่งทำจากซอสเบชาแมลผสมเนยแข็งบางชนิด)[4] เรามักใช้ซอสเบชาแมลในลาซัญญาหรือพาสตาที่ต้องนำไปอบ โดยราดหรือทาซอสบนพาสตาแล้วโรยเนยแข็งขูดทับลงไป

ซอสเบชาแมล
นมแช่ใบกระวาน หอมแดง พริกไทยดำ และพาร์สลีย์ใบแบน ก่อนนำไปเติมผสมในรู
ชื่ออื่นเบชชาเมลลา, ซอสขาว
ประเภทซอส
แหล่งกำเนิดอิตาลี
ภูมิภาคตอสคานา, เอมีเลีย-โรมัญญา
ส่วนผสมหลักเนย, แป้ง, นม
รูปแบบอื่นซอสมอร์แน

ซอสเบชาแมลมีต้นกำเนิดมาจากตอสคานาสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา โดยซอสดั้งเดิมมีชื่อเรียกว่า ซัลซากอลลา ("ซอสกาว") เนื่องจากซอสมีความข้นหนืดอย่างกาว จากนั้นพ่อครัวของกาเตรีนา เด เมดีชี ก็นำสูตรซอสเข้าสู่ฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1533 ส่วนชื่อซอส เบชาแมล ตั้งตามชื่อของหลุยส์ เดอ เบชาแมล (มาร์ควิสแห่งนวงแตล[5] และข้าราชสำนักคนหนึ่งในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14) ซึ่งเป็นผู้พัฒนาสูตรซอสจากสูตรดั้งเดิม

อ้างอิง แก้

  1. Michael Ruhlman, The Elements of Cooking: Translating the Chef's Translating the Chef's Craft for Every Kitchen, New York : Scribner, 2007, p. 171.
  2. François Marin, Les Dons de Comus, ou les Délices de la table, préface par les PP. Pierre Brumoy et G. H. Bougeant, Paris : Prault Fils, 1739, pp. 103 et seq.
  3. M.C.D. Chef de Cuisine de M. le Prince de *** [i.e. Briand], Dictionnaire des alimens, vins et liqueurs, leurs qualités, leurs effets... avec la manière de les apprêter ancienne et moderne..., Paris : Gissey, 1750, 576 p., p. 34 et seq.
  4. Delmy Dauenhauer, 10 Ways to Use Béchamel Sauce, London : SamEnrico, 2015, ISBN 9781505738384.
  5. G. Dryansky, J. Dryansky - Coquilles, Calva, and Crème: Exploring France's Culinary Heritage: A Love Affair with French Food (search page) Open Road Media, 5 June 2012 Accessed November 21st. 2017