ช้างไห้ เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 13 ของวงคาราบาว ออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2536 ในรูปแบบซีดี แผ่นเสียง และเทปคาสเซ็ท โดยออกในนามบริษัท ดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์

ช้างไห้
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาดกันยายน พ.ศ. 2536
บันทึกเสียงห้องบันทึกเสียงเซ็นเตอร์สเตจ (2536)
แนวเพลงเพลงเพื่อชีวิต, ร็อก
ความยาว51:12
ค่ายเพลงดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ (2536)
โปรดิวเซอร์แอ๊ด คาราบาว
ลำดับอัลบั้มของคาราบาว
สัจจะ ๑๐ ประการ
(2535)สัจจะ ๑๐ ประการ2535
ช้างไห้
(2536)
รุ่นคนสร้างชาติ
(2537)รุ่นคนสร้างชาติ2537

ประวัติ แก้

ช้างไห้ เป็นผลงานชุดที่ 13 ของคาราบาว ที่ทำขึ้นภายใต้ความแปรเปลี่ยนของสังคม แม้กระทั่งทางวงเองได้เปลี่ยนตัวสมาชิกในตำแหน่งลีดกีตาร์ จากเล็ก - ปรีชา ชนะภัย เป็นหมี - ขจรศักดิ์ หุตะวัฒนะ ทำให้สมาชิกยุคคลาสสิกของวงเหลือเพียง แอ๊ด - ยืนยง โอภากุล และ อ๊อด - อนุพงษ์ ประถมปัทมะ[1] ผู้ร้องนำในชุดนี้จึงเป็นหน้าที่ของแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล ซึ่งเป็นสมาชิกในยุคแรกสุดทั้งหมด

อัลบั้มชุดนี้มีบทเพลงที่ได้รับความนิยมอย่างมากคือเพลง ยายสำอาง ซึ่งได้นำรูปแบบเพลงขอทานของยายสำอาง มาดัดแปลงให้เข้ากับการนำเสนอของวง โดยทำเป็นแนว 3 ช่า เหมือนกับที่เคยทำไว้ในเพลง วณิพก และเพลง แร้งคอย ซึ่งมีการทำดนตรีเป็นลำดับ โดยอินโทรเป็นเปียโนของดุก - ลือชัย งามสม ก่อนที่จะมีกีต้าร์ของแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล และหมี - ขจรศักดิ์ หุตะวัฒนะ เบสของอ๊อด - อนุพงษ์ ประถมปัทมะ และกลองชุดของโก้ - ชูชาติ หนูด้วง ตามมา และจบด้วยเสียงเป่าปาก

นอกจากนี้ยังมีเพลง สาละวิน ประกอบภาพยนตร์เรื่อง มือปืน 2 สาละวิน ของ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล และเพลง ยังไม่สาย ซึ่งแต่งโดย ทิวา สารจูฑะ มารวมไว้ในอัลบั้ม

รายชื่อเพลง แก้

ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
1."ช้างไห้"ยืนยง โอภากุล5:32
2."ปกากะญอ"ยืนยง โอภากุล6:13
3."ทายาทตระกูลหยี"ยืนยง โอภากุล3:59
4."ยายสำอาง"ยืนยง โอภากุล, ดัดแปลงจากเพลงขอทาน5:57
5."ครู 'เล"ยืนยง โอภากุล4:30
6."แร้งคอย"ยืนยง โอภากุล5:54
7."เสียงอีสาน"ยืนยง โอภากุล4:37
8."กำลังใจแรงงาน"ยืนยง โอภากุล2:07
9."สาละวิน"พิเศษ สังข์สุวรรณ9:42
10."ยังไม่สาย"ทิวา สารจูฑะ4:41 [2]
ความยาวทั้งหมด:51:12

สมาชิกภายในวง แก้

  1. ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด) :กีตาร์, แมนโดลิน, ร้องนำ, ร้องประสาน
  2. อนุพงษ์ ประถมปัทมะ (อ๊อด):กีตาร์เบส
  3. ลือชัย งามสม (ดุก) :คีย์บอร์ด, เพอร์คัสชั่น, ร้องประสาน
  4. ชูชาติ หนูด้วง (โก้):กลอง, เพอร์คัสชั่น
  5. ขจรศักดิ์ หุตะวัฒนะ (หมี):กีตาร์, แมนโดลิน

นักดนตรีอื่นที่ร่วมงาน แก้

  1. สุกานดา บุณยธรรมิก :ร้องประสาน
  2. เชอรี่ :ร้องประสาน, เพอร์คัสชั่น
  3. คำภีร์ นอสูงเนิน :ทรัมเป็ต เพลง เสียงอีสาน
  4. นาวี คชเสนีย์ :อัลโต แซ็กโซโฟน เพลง เสียงอีสาน
  5. สมบัติ พรหมมา :เทเนอร์ แซ็กโซโฟน เพลง เสียงอีสาน, คลาริเน็ต
  6. รัศมี เทพกิจ :ทรอมโบน เพลง เสียงอีสาน
  7. สายัณ ธารีเทียร :ไวโอลิน เพลง ยังไม่สาย
  8. ขนิษฐา ธารีเทียร:ไวโอลิน เพลง ยังไม่สาย
  9. ไพโรจน์ องคสิงห์ :ไวโอลิน เพลง ยังไม่สาย
  10. สุวรรณ มโนสร:ไวโอลิน เพลง ยังไม่สาย
  11. สุทัศน์ ปล้องมาก:ไวโอลิน เพลง ยังไม่สาย
  12. วราทิตย์ วรินทรเวช:ไวโอลิน เพลง ยังไม่สาย
  13. สมเกียรติ ศรีดำ :ไวโอลิน เพลง ยังไม่สาย
  14. สุปราณี มกรพงษ์:ไวโอลิน เพลง ยังไม่สาย
  15. วาสนา ศรีตระกูล :เซลโล เพลง ยังไม่สาย
  16. ชนินทร์วดี ชมภูทิพย์:เซลโล เพลง ยังไม่สาย

การจัดจำหน่าย แก้

ปี ค่าย รูปแบบ
พ.ศ. 2536 ดี - เดย์ เอนเตอร์เทนเม้นท์ แผ่นเสียง
เทปคาสเซตต์
แผ่นซีดี
พ.ศ. 2554 วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์ แผ่นซีดี (ปกครบรอบ 30 ปี คาราบาว)
พ.ศ. 2556 แผ่นซีดี (Remaster)

อ้างอิง แก้

  1. "History พ.ศ. 2536 ใน คาราบาว 30 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-23. สืบค้นเมื่อ 2011-02-09.
  2. Thai Country Music คาราบาว ชุดที่ 13 ช้างไห้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ดูเพิ่ม แก้