ช่องว่างเคิร์กวูด

ช่องว่างเคิร์กวูด หรือ ช่องแคบเคิร์กวูด (อังกฤษ: Kirkwood gap) เป็นช่องว่างของการกระจายตัวของดาวเคราะห์น้อยในแถบดาวเคราะห์น้อยที่ค่ากึ่งแกนเอกต่างๆ (หรือเทียบเท่ารอบการโคจรของมัน) ดังแสดงให้เห็นในแผนภาพฮิสโทแกรมข้างล่างนี้ ตำแหน่งของช่องว่างเคิร์กวูดมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งการสั่นพ้องของวงโคจรกับดาวพฤหัสบดี

แผนภาพแสดงการกระจายตัวของดาวเคราะห์น้อยตามกึ่งแกนเอกต่างๆ ตามค่าแกนของแถบหลัก ตำแหน่งลูกศรชี้คือตำแหน่งช่องว่างเคิร์กวูด

ยกตัวอย่างดังนี้ มีดาวเคราะห์น้อยอยู่จำนวนน้อยมากที่ค่ากึ่งแกนเอกใกล้เคียงกับ 2.50 หน่วยดาราศาสตร์ หรือคาบโคจร 3.95 ปี ซึ่งหมายถึงดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้ต้องโคจรไปสามรอบจึงจะเท่ากับรอบโคจรของดาวพฤหัสบดี 1 รอบ (ดังนั้นจึงเรียกตำแหน่งนี้ว่า การสั่นพ้องวงโคจร 3:1) ตำแหน่งการสั่นพ้องวงโคจรแห่งอื่นๆ มีความสัมพันธ์กับคาบโคจรของดาวพฤหัสบดีแบบเป็นเลขจำนวนเต็มเช่นเดียวกัน แรงสั่นพ้องนี้ไล่ให้ดาวเคราะห์น้อยออกไปจากบริเวณ ขณะที่ยอดแหลมในแผนภาพฮีสโตแกรมมักแสดงถึงการรวมกลุ่มกันของตระกูลดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่

ผู้ที่สังเกตเห็นช่องว่างนี้เป็นครั้งแรก คือ แดเนียล เคิร์กวูด ในปี ค.ศ. 1857 ทั้งยังสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของตำแหน่งช่องว่างเหล่านี้กับวงโคจรของดาวพฤหัสบดีด้วย