ชุดตัวอักษรอังกฤษ

ชุดตัวอักษรอังกฤษสมัยใหม่คือชุดตัวอักษรละตินที่ประกอบด้วยตัวอักษร 26 ตัว แต่ละตัวมีรูปแบบตัวนำ (upper case) และตัวตาม (lower case) ชุดตัวอักษรอังกฤษมีต้นกำเนิดมาจากอักษรละตินในราวคริสต์ศตวรรษที่ 7 นับแต่นั้นมามีการเพิ่มหรือลดตัวอักษรที่ทำให้ชุดตัวอักษรอังกฤษสมัยใหม่ในปัจจุบันมีตัวอักษร 26 ตัว (และในที่สุดก็กลายเป็นชุดตัวอักษรละตินพื้นฐานไอเอสโอ)

ชุดตัวอักษรอังกฤษ
แพนแกรมภาษาอังกฤษซึ่งแสดงอักษรทุกตัวในบริบทเดียว ใช้แบบตัวพิมพ์แดกซ์เรกิวลาร์
ชนิดอักษรสระ-พยัญชนะ
ภาษาพูด
ช่วงยุคประมาณ ค.ศ. 1500 ถึงปัจจุบัน
ระบบแม่
ระบบลูก
ช่วงยูนิโคดU+0000 to U+007E Basic Latin and punctuation
ISO 15924Latn
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด

รูปร่างที่แน่นอนของตัวอักษรที่เรียงพิมพ์จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแบบตัวพิมพ์ (และแบบอักษร) และรูปร่างของตัวอักษรที่เขียนด้วยลายมืออาจแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากรูปแบบตัวพิมพ์มาตรฐาน (และระหว่างปัจเจกบุคคล) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเขียนในลักษณะตัวเขียน (cursive)

ภาษาเขียนของภาษาอังกฤษมีทวิอักษร (digraph) และพหุอักษร (multigraph) อยู่จำนวนหนึ่ง และเป็นภาษายุโรปสมัยใหม่ภาษาหลักเพียงภาษาเดียวที่ไม่ต้องใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษรในคำที่ไม่ใช่คำยืมจากภาษาอื่น บางครั้งอาจพบการใช้ไดเอริซิสเพื่อบ่งว่ารูปสระที่เรียงกันสองตัวนั้นออกเสียงแยกกัน (เช่นในคำ cperation /kəʊˌɒpəˈreɪʃən/)[nb 1][1] และยิ่งน้อยครั้งที่จะพบการใช้เกรฟแอกเซนต์เพื่อบ่งว่าเสียงสระที่ตามปกติไม่ออกเสียง ในกรณีนั้นจะออกเสียงด้วย (เช่นในคำ learnèd /ˈlɜːnɪd/)

สัทวิทยา แก้

ในภาษาอังกฤษ ตัวอักษร A, E, I, O และ U ถือเป็นอักษรสระ ตัวอักษรตัวอื่นๆ ถือเป็นตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะ

ตัวอักษร Y บางครั้งใช้แทนพยัญชนะ (เช่นคำว่า young /jʌŋ/) และบางครั้งก็สามารถใช้แทนสระได้ด้วย (เช่น คำว่า myth /mɪθ/)[2]

ตัวอักษร W ในการใช้แทนพยัญชนะ (เช่น คำว่า well /wel/) เรามักไม่ค่อยพบการใช้อักษร W แทนเสียงสระในภาษาอังกฤษบ่อยนัก ตัวอย่างคำที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น คำว่า cwm /kʊm/ ที่เป็นคำยืมมาจากภาษาเวลส์[2]

หมายเหตุและอ้างอิง แก้

หมายเหตุ แก้

  1. บทความต่อไปนี้มีตัวอย่างการใช้ไดเอริซิสในคำ coöperate, ซิดิลลาในคำ façades และเซอร์คัมเฟลกซ์ในคำ crêpe: Grafton, Anthony (2006-10-23), "The Nutty Professors: The History of Academic Dharisma", The New Yorker (Books section), สืบค้นเมื่อ 2019-06-17.

อ้างอิง แก้