ชื่อศิลปิน หรือ โก (ญี่ปุ่น: โรมาจิ, อังกฤษ: Art-name) เป็นนามแฝงหรือนามปากกาที่ศิลปินชาวญี่ปุ่นเลือกใช้ ซึ่งบางครั้งก็จะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ

“โก” ของคูนิซาดะ I ทางซ้าย และ
คูนิซาดะ II กลางและขวา

ในบางกรณีศิลปินก็จะใช้ “โก” หลายชื่อในช่วงต่าง ๆ ของชีวิต ที่มักจะเป็นสัญญาณของความเปลี่ยนแปลงอันสำคัญในชีวิต ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงที่บ่อยครั้งที่สุดคือการเปลี่ยน “โก” ของคัตสึชิกะ โฮกูไซผู้ที่เปลี่ยนชื่ออย่างน้อยก็หกครั้งระหว่าง ค.ศ. 1798 ถึง ค.ศ. 1806

ชื่อศิลปินและตระกูลการเขียน แก้

“โก” ของจิตรกรภาพพิมพ์แกะไม้อูกิโยะมักจะเป็นชื่อที่ได้รับการตั้งให้โดยโรงเรียนศิลปะที่ประกอบด้วยครูและกลุ่มลูกศิษย์ผู้ฝึกงาน ที่เป็นโรงเรียนแรกที่เริ่มการศึกษา “โก” นี้มักจะมีส่วนหนึ่งของชื่อของ “โก” ของอาจารย์รวมอยู่ด้วย เช่น “โก” แรกของโฮกูไซคือ “ชุนโร” (Shunrō) ที่มาจากชื่อปรมาจารย์ “คัตสึกาวะ ชุนโช” (Katsukawa Shunshō) ที่โฮกูไซได้เข้ารับการฝึกเป็นครั้งแรก

ชื่อศิลปินที่ว่านี้ทำให้สามารถสืบประวัติความสัมพันธ์ระหว่างศิลปินได้ โดยเฉพาะในปีหลัง ๆ เมื่อการตั้ง “โก” ดูเหมือนจะมีระบบอยู่บ้าง โดยเฉพาะการตั้งของสำนักศิลปินอูตางาวะ ที่พยางค์แรกของ “โก” ของลูกศิษย์จะเป็นพยางค์สุดท้ายของ “โก” ของอาจารย์

ตัวอย่างเช่นศิลปินชื่อโทโยฮารุ (Utagawa Toyoharu) มีลูกศิษย์ชื่อโทโยฮิโระ (Utagawa Toyohiro) ผู้ไปมีลูกศิษย์ผู้มีชื่อเสียงชื่อฮิโรชิเงะ

ลูกศิษย์อีกคนหนึ่งที่ศึกษากับโทโยฮารุ โทโยฮิโระ (Utagawa Toyohiro) กลายมาเป็นผู้นำคนสำคัญของสำนักศิลปินอูตางาวะ โทโยกูนิมีลูกศิษย์ชื่อคูนิซาดะ และ คูนิโยชิ คูนิโยชิไปมามีลูกศิษย์ชื่อโยชิโตชิผู้มีลูกศิษย์คนหนึ่งชื่อโทชิกาตะ

การรับชื่อศิลปินมาใช้หรือการใช้ชื่อศิลปินของผู้อื่น แก้

ในโรงเรียนศิลปะบางโรงเรียนโดยเฉพาะสำนักศิลปินอูตางาวะ[ต้องการอ้างอิง] “โก” ของลูกศิษย์ผู้มีอาวุโสที่สุดของปรมาจารย์จะเป็นผู้รับหน้าที่ของอาจารย์ต่อเมื่ออาจารย์มาเสียชีวิตไป เพื่อที่จะเป็นการแสดงความเคารพอาจารย์ลูกศิษย์ผู้รับหน้าที่ก็อาจจะใช้ “โก” ของอาจารย์ ซึ่งบางครั้งก็ทำให้เป็นปัญหาต่อการระบุจิตรกร แต่ตราประทับช่วยให้สามารถระบุวันที่พิมพ์ได้ ลักษณะการเขียนก็เป็นสิ่งสำคัญ เช่นงานเขียนของคูนิซาดะเมื่อเปลี่ยน “โก” เป็นโทโยกูนิก็เริ่มลงชื่อเป็นตรารูปไข่ที่ยาวออกไปเป็น “โทชิดามะ” ของสำนักศิลปินอูตางาวะ ซึ่งเป็นตราชื่อที่แปลกกว่าปกติและมีหยักทางตอนขวาบนของตรา ลูกศิษย์ต่อมาก็เลียนแบบตราของโทโยกูนิ

ในการเขียนสมัยใหม่ใช้การลำดับ “โก” ด้วยเลขโรมัน ฉะนั้น “คูนิซาดะ I” ก็รู้จักกันในชื่อ “โทโยกูนิ III” ด้วยเพราะเป็นศิลปินคนที่สามที่ใช้ “โก” โทโยกูนิ

อ้างอิง แก้

  • Frederic, Louis (2002). "Gō." Japan Encyclopedia. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press.
  • Lane, Richard (1978). Images of the Floating World. Old Saybrook, CT: Konecky & Konecky.

ดูเพิ่ม แก้