ชีววิทยาทางทะเล

ชีววิทยาทางทะเล คือการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทร น้ำกร่อย รวมไปถึงแหล่งน้ำอื่นๆ ในชีววิทยานั้นมีหลายไฟลัม วงศ์ และ สกุล ซึ่งมีทั้งสปีชีส์ที่อาศัยอยู่บนบก และ สปีชีส์ที่อาศัยอยู่ในทะเล ชีวะวิทยาทางทะเลนั้นแบ่ง สปีชีส์จากสิ่งแวดล้อมแทนที่กับอนุกรมวิธาน นิเวศวิทยาทางทะเลนั้นไม่เหมือนกับ ชีววิทยาทางทะเล ด้วยความที่ นิเวศวิทยานั้นเน้นไปที่การศึกษาเกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์กันของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตตัวอื่น หรือ กับสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ ชีววิทยานั้นคือการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนั้นๆ

Two views of the ocean from space
พื้นที่บนโลกนี้นั้นเป็นพื้นดินอยู่แค่ 29 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ ที่เหลือคือมหาสมุทร ซึ่งเป็นบ้านของบรรดาสัตว์น้ำ ค่าเฉลี่ยของความลึกของมหาสมุทรนั้นอยู่ที่เกือบ 4,000 กิโลเมตร และมีพื้นที่โดยรอบที่ยาวกว่า 360,000 กิโลเมตร[1][2]

มหาสมุทรเป็นบ้านของสิ่งมีชีวิตมากมายบนโลกนี้ ทว่าเพราะขนาดที่ใหญ่และความซับซ้อนของมหาสมุทรนั้นทำให้มีหลายๆส่วนที่ยังไม่ถูกสำรวจ ทั้งนี้เราจึงไม่สามารถคาดเดาจำนวนสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในมหาสมุทรทั้งหมดได้[3] ประมาณ 71% ของพื้นผิวโลกนั้นครอบคลุมด้วยมหาสมุทร ที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตใต้น้ำที่มีการศึึกษาในชีววิทยาทางทะเลนั้นมีหลากหลายตั้งแต่ ในชั้นบางๆของแรงตึงผิว ระหว่างน้ำและชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตเล็กๆ ไปจนถึง ร่องลึกก้นสมุทร ซึ่งสามารถมีความลึกได้มากกว่า 10,000 เมตรใต้ผิวน้ำ โดยจำเพาะตัวอย่างของที่อยู่อาศัยมีเช่น พืดหินปะการัง ป่าสาหร่ายเคลป์ (kelp forests) ทุ่งหญ้าทะเล ภูเขาไฟใต้น้ำ ปล่องไฮโดรเทอร์มอล แอ่งหิน พื้นโคลน พื้นทราย และ พื้นหินใต้ทะเล รวมไปถึงพื้นน้ำ (pelagic zone) ซึ่งปราศจากของแข็งและมีเพียงผิวน้ำที่เป็นขอบเขตที่สังเกตได้ สิ่งมีชีวิตที่ศึกษาก็มีตั้งแต่ ที่มีขนาดเล็กมากอย่าง แพลงก์ตอนพืช และ แพลงก์ตอนสัตว์ ไปจนถึง สัตว์ในไฟลัม ซีทาเซียซีทาเซีย (อันดับวาฬและโลมา) ซึ่งมีขนาดลำตัวยาวได้ถึง 30 เมตร หรือ 98 ฟุต

ทั่วโลกนั้นมีสิ่งมีชีวิตในทะเลเป็นทั้งแหล่งอาหาร แหล่งยา และแหล่งวัตถุดิบ รวมไปถึงเป็นสิ่งที่ส่งเสริม นันทนาการ และ การท่องเที่ยว โดยพื้นฐานแล้ว สิ่งมีชีวิตในทะเลนั้นช่วยกำหนดธรรมชาติของโลก โดยช่วยสร้างสมดุลใน วัฏจักรออกซิเจน และยังมีส่วนช่วยกำกับภูมิอากาศของโลก[4] นอกจากนั้นสิ่งมีชีวิตในทะเลยังช่วยสร้างและปกป้องชายฝั่ง อีกด้วย[5]

สัตว์ทะเลหลายๆสปีชีส์นั้นมีความสำคัญในเชิงเศรษฐกิจ เช่น สัตว์น้ำที่สามารถนำมาเป็นอาหารได้ ทั้งนี้ในปัจจุบันนั้นทุกๆวันได้มีการศึกษาและค้นพบมากมายเกี่ยวกับความสัมพันระหว่างสิ่งมีชีวิตในทะเลและวัฏจักรที่สำคัญต่อธรรมชาติต่างๆ เช่น วัฏจักรคาร์บอน และ วัฏจักรของอากาศ และ การถ่ายเทของพลังงานผ่านระบบนิเวศ

ประวัติศาสตร์ แก้

การศึกษาของชีววิทยาทางทะเลในยุกแรกเริ่มนั้นสามารถย้อนไปถึงสมัยของ อริสโตเติล (พ.ศ. 160 - พ.ศ. 222) ผู้ที่เป็นคนปูพื้นฐานของการค้นพบที่ยิ่งใหญ่เป็นสมัยแรกๆ[6] ในปี พ.ศ. 2311 นั้น Samuel Gottlieb Gmelin (พ.ศ. 2287 – พ.ศ.2317) ได้ตีพิมพ์หนังสือที่ชื่อว่า Historia Fucorum ซึ่งเป็นผลงานชิ้นแรกที่เกี่ยวกับ สาหร่ายทะเล (marine algae) และเป็นหนังสือเล่มแรกของชีววิทยาทางทะเลที่ใช้ ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ของ คาโรลัส ลินเนียส โดยยังมีการใส่ภาพประกอบของสาหร่ายทะเลที่ในขณะที่กำลังพับใบอยู่ด้วย[7][8] หลังจากนั้น เอ็ดเวิร์ด ฟอร์บส์ (Edward Forbes) (พ.ศ. 2358 – พ.ศ.2397) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ถือได้ว่าเป็นผู้ก่อตั้งวิทยาศาสตร์ของชีววิทยาทางทะเล[9] และทำให้การศึกษาเกี่ยวกับมหาสมุทรและชีววิทยาทางทะเลได้เติบโตอย่างรวดเร็วตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2443 เป็นต้นมา 

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Charette, Matthew; Smith, Walter H. F. (2010). "The volume of Earth's ocean". Oceanography. 23 (2): 112–114. doi:10.5670/oceanog.2010.51.
  2. World เก็บถาวร 2010-01-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The World Factbook, CIA.
  3. Oceanographic and Bathymetric Features Marine Conservation Institute.
  4. Foley, Jonathan A.; Taylor, Karl E.; Ghan, Steven J. (1991). "Planktonic dimethylsulfide and cloud albedo: An estimate of the feedback response". Climatic Change. 18 (1): 1. Bibcode:1991ClCh...18....1F. doi:10.1007/BF00142502. S2CID 154990993.
  5. Sousa, Wayne P. (1986) [1985]. "7, Disturbance and Patch Dynamics on Rocky Intertidal Shores". ใน Pickett, Steward T. A.; White, P. S. (บ.ก.). The Ecology of Natural Disturbance and Patch Dynamics. Academic Press. ISBN 978-0-12-554521-1.
  6. "History of the Study of Marine Biology - MarineBio.org".
  7. Gmelin S G (1768) Historia Fucorum Ex typographia Academiae scientiarum, St. Petersburg.
  8. Silva PC, Basson PW and Moe RL (1996) Catalogue of the Benthic Marine Algae of the Indian Ocean page 2, University of California Press.
  9. "A Brief History of Marine Biology and Oceanography". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-03. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014.

อ้างอิงเพิ่มเติม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้