ชัยสิทธิ์ ชินวัตร

พลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร (เกิด 25 มิถุนายน พ.ศ. 2488) เป็นนายทหารชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด, ผู้บัญชาการทหารบก

ชัยสิทธิ์ ชินวัตร
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 30 กันยายน พ.ศ. 2548
ก่อนหน้าพลเอก สมทัต อัตตะนันทน์
ถัดไปพลเอก เรืองโรจน์ มหาศรานนท์
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 – 30 กันยายน พ.ศ. 2547
ก่อนหน้าพลเอก สมทัต อัตตะนันทน์
ถัดไปพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 มิถุนายน พ.ศ. 2488 (78 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2543–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2561,2566–ปัจจุบัน)
พลังปวงชนไทย (2561–2566)
คู่สมรสนางวีณา ชินวัตร (สุขสภา)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย
กองทัพบกไทย
ประจำการ2512–2548
ยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก
บังคับบัญชาผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ผู้บัญชาการทหารบก

ประวัติ แก้

พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร มีชื่อเล่นว่า "ตุ้ย" เกิดเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2488 เป็นบุตรของ พ.อ. (พิเศษ) ศักดิ์ ชินวัตร และนางทวี ชินวัตร สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2503 หลังจากนั้นได้สอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร เป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 5 และได้เลือกเข้าศึกษาต่อเป็นนักเรียนนายร้อย (จปร.รุ่นที่ 16 ) ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โดยเลือกเหล่าทหารช่าง จนสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2511 และได้รับพระราชทานยศเป็น ว่าที่ ร.ต.ในตำแหน่งผู้บังคับหมวดทหารช่าง สังกัดกองพันทหารช่างที่ 4

พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร เป็นพี่ชาย เรืออากาศเอก กัปตัน ประวิตร ชินวัตร อดีตรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายปฏิบัติการ [1] บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และพี่ชาย พันโท สุรจิตร ชินวัตร

ต่อมา ชัยสิทธิ์ได้สมรสกับคุณวีณา ชินวัตร (สุขสภา) มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นางสาวลัฆวี ชินวัตร และนายวีรสิทธิ์ ชินวัตร ผู้จัดการฝ่ายการตลาดองค์กร บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด นอกจากนี้ พล.อ.ชัยสิทธิ์ยังเป็นญาติผู้พี่ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 23 และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 28

ตำแหน่งที่สำคัญทางทหาร แก้

  • พ.ศ. 2512 ผู้บังคับหมวดกองพันทหารช่างที่ 4
  • พ.ศ. 2516 ผู้บังคับกองร้อยทหารช่าง กองพันทหารช่างที่ 4
  • พ.ศ. 2517 นายทหารส่งกำลังกองพันทหารช่างที่ 3
  • พ.ศ. 2518 ครูโรงเรียนทหารช่าง กรมการทหารช่าง
  • พ.ศ. 2521 ผู้บังคับกองร้อย โรงเรียนทหารช่าง กรมการทหารช่าง
  • พ.ศ. 2522 ผู้ช่วยหัวหน้ากองส่งกำลัง กองทัพภาคที่ 3
  • พ.ศ. 2524 นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กองแผนและโครงการ กองบัญชาการช่วยรบที่ 3
  • พ.ศ. 2525 นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กองพันทหารช่างที่ 112
  • พ.ศ. 2526 นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กรมทหารช่างที่ 11
  • พ.ศ. 2528 เสนาธิการกรมทหารช่างที่ 11
  • พ.ศ. 2530 รองผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 11
  • พ.ศ. 2533 ผู้บังคับการกรมพัฒนาที่ 4 กองพลพัฒนาที่ 4
  • พ.ศ. 2539 ผู้บัญชาการกองบัญชาการช่วยรบที่ 4
  • พ.ศ. 2541 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 42 (ยศ พลตรี)
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการทหารสูงสุด (ยศ พลโท)
  • เม.ย.-ก.ย. พ.ศ. 2545 ที่ปรึกษาพิเศษ กองบัญชาการทหารสูงสุด
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก (ยศ พลเอก)
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 ผู้บัญชาการทหารบก
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 30 กันยายน พ.ศ. 2548 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ยศพลเรือเอก พลอากาศเอก)[2]

งานการเมือง แก้

พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร เคยมีกระแสข่าวว่าจะดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย[3][4] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ในปี พ.ศ. 2554[5] ในปี พ.ศ. 2561 พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษาพรรคพลังปวงชนไทย[6] ส่วนนายนิคม บุญวิเศษเป็นหัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย[7] ซึ่งถูกมองว่าเป็นนอมินีของพรรคเพื่อไทย[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-05-17.
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2547/B/026/34.PDF
  3. ชัยสิทธิ์ ชินวัตร พร้อมนั่งหน.เพื่อไทย
  4. ชัยสิทธิ์ นั่งหัวหน้าพรรค เพื่อไทย
  5. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 146/2554 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-29. สืบค้นเมื่อ 2018-10-01.
  7. http://www.nationtv.tv/main/content/378670467/
  8. https://www.springnews.co.th/programs/insidethailand/356162
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกีรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘, ๑ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๕๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐, ๒๙ มีนาคม ๒๕๑๕
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๑๘, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑
  14. ราชกิจจานุเบกษา ,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 121, ตอนที่ 6 ข หน้า 3, 25 มีนาคม พ.ศ. 2547
  15. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-11-11.
ก่อนหน้า ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ถัดไป
พลเอก สมทัต อัตตะนันทน์    
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 - 30 กันยายน พ.ศ. 2548)
  พลเอก เรืองโรจน์ มหาศรานนท์
พลเอก สมทัต อัตตะนันทน์    
ผู้บัญชาการทหารบก
(1 ตุลาคม พ.ศ. 254630 กันยายน พ.ศ. 2547)
  พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ