ชะพลู

สปีชีส์ของพืช
ชะพลู
ช้าพลู
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: พืช
หมวด: พืชดอก
ชั้น: พืชใบเลี้ยงคู่
อันดับ: อันดับพริกไทย
วงศ์: วงศ์พริกไทย
สกุล: Piper
สปีชีส์: P.  sarmentosum
ชื่อทวินาม
Piper sarmentosum
Roxb. 1820
ชื่อพ้อง[1]

Chavica hainana C. DC.
Chavica sarmentosa (Roxb.) Miq.
Peperomia sarmentosa A. Dietr.
Piper albispicum C. DC.
Piper allenii C. DC.
Piper baronii C. DC.
Piper brevicaule C. DC.
Piper diffusum Blume ex Miq.
Piper gymnostachyum C. DC.
Piper hainana K. Schum.
Piper lolot C. DC.
Piper pierrei C. DC.
Piper saigonense C. DC.
Piper siassiense C. DC.
Piper zamboangae C. DC.

ชะพลู หรือ ช้าพลู[2] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Piper sarmentosum Roxb. หรือ Piper lolot C.DC.) เป็นพืชในวงศ์ Piperaceae มักสับสนกับพลู[3] แต่ใบรสไม่จัดเท่าพลูและมีขนาดเล็กกว่า ชะพลูเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบพื้นที่ลุ่ม มีความชื้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ โดยการเลือกกิ่งที่มีใบอ่อนและใบแก่ เด็ดใบแก่ออกและนำไปปักชำได้

"Piper lolot (lolot)" ปัจจุบันทราบว่าเป็นสปีชีส์เดียวกันกับ Piper sarmentosum โดย lolot ได้รับการปลูกเพื่อใช้ใบประกอบในอาหารของลาว และเวียตนาม เช่นใช้สำหรับห่อเนื้อย่าง thịt bò nướng lá lốt (ถิกบ่อเหนืองลาโล้ต) ในเวียดนาม[4]

ชื่อ แก้

นอกจากชื่อ ชะพลู, ช้าพลู ในภาษาไทยแล้ว ในภาษาอังกฤษไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ แต่อาจถูกเรียกในชื่อ wild betel, ในภาษาลาวเรียกว่า ຜັກອີ່ເລີດ (ผักอีเลิด), ภาษามลายูเรียก Pokok Kaduk, ภาษาอินโดนีเซียเรียก Merica lolot[5], ภาษาเขมรเรียก ចាព្លូ (ชาพลู หรือ ជីរភ្លូ ชีพลู), ภาษาเวียดนามเรียก lá lốt (ลาโล้ต), ภาษาจีนเรียก 假蒟 (เจี๋ยจู่)[6], ภาษาจีนกวางตุ้งเรียก 蛤蔞 (กับเหล่า)

ชะพลูมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ ในประเทศไทยอีกคือ ทางภาคเหนือเรียกว่า "ผักปูนา", "ผักพลูนก", "พลูลิง", "ปูลิง", "ปูลิงนก" ทางภาคกลาง เรียกว่า "ช้าพลู" ทางภาคอีสานเรียกว่า "ผักแค", "ผักปูลิง", "ผักนางเลิด", "ผักอีเลิด" และ ทางภาคใต้เรียกว่า "นมวา"

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

ใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจรูปทรงคล้ายกับใบพลู แต่มีขนาดใบเล็กกว่า มีสีเขียวเข้มเป็นใบเดี่ยว รสชาติเผ็ดอ่อน ๆ ดอกออกบริเวณปลายยอด มีสีขาวอัดแน่นกันเป็นทรงกระบอกขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายดีปลีแต่สั้นกว่าชะพลูพบในเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และตอนใต้ของจีน และไกลถึงหมู่เกาะอันดามัน[7]

 
ชะพลู

การใช้ประโยชน์ แก้

ในใบชะพลูมีสารบีตา-แคโรทีนสูงมาก ใบนำมารับประทานกับเมี่ยงคำ นำมาแกงใส่กะทิ ข้าวยำ ห่อหมก หรือเป็นผักจิ้มน้ำพริก ทางภาคใต้ใส่ในแกงกะทิหอยขม แกงคั่วปู[8]ในจังหวัดจันทบุรีใส่ในแกงป่าปลา[9] ในใบมีออกซาเลตสูง จึงไม่ควรรับประทานมากเป็นประจำ

ชะพลูเป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยา ดอกทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้ รากขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง ต้นขับเสมหะในทรวงอก ใบมีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ใบ ต้น และดอกใช้ขับเสมหะ รากใช้ขับลม น้ำต้มทั้งต้นช่วยลดน้ำตาลในเลือดของกระต่ายที่เป็นเบาหวานได้[10]

อ้างอิง แก้

  1. Hassler M, บ.ก. (2014-03-16). "Catalogue of Life: 2014 Annual Checklist". Synonymic Checklists of the Vascular Plants of the World. The Species 2000 & ITIS Catalogue of Life.
  2. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ เก็บถาวร 2009-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (สืบค้นออนไลน์)
  3. "Piper sarmentosum". Asia Food Glossary. Asia Source. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-27. สืบค้นเมื่อ 2008-09-08.
  4. McGee, Harold (2004). On Food and Cooking (Revised Edition). Scribner. p. 410. ISBN 978-0-684-80001-1.
  5. Warriors, Biodiversity. "Merica Lolot | Katalog Biodiversity Warriors". Biodiversity Warriors. สืบค้นเมื่อ 2018-03-11.[ลิงก์เสีย]
  6. "假蒟 Jiaju". 藥用植物圖像資料庫 Medicinal Plant Images Database (ภาษาจีน). 香港浸會大學中醫藥學院 School of Chinese Medicine, Hong Kong Baptist University. 2007.
  7. "Piper sarmentosum Roxb. – An addition to the flora of Andaman Islands" (PDF). Current Science. 87 (2). July 25, 2004. สืบค้นเมื่อ 2008-09-08.
  8. เมฆาณี จงบุญเจือ; สมพิศ คลี่ขยาย (2556). อาหารปักษ์ใต้ บ้าบ๋า ย่าหยาในอันดามัน. กรุงเทพฯ: เศรษฐศิลป์. ISBN 9786167376615.
  9. ศิริลักษณ์ รอตยันต์, บ.ก. (2550). แกงป่า-ผัดเผ็ด (2 ed.). กรุงเทพฯ: สนพ. แสงแดด. ISBN 9789749665787.
  10. จำลองลักษณ์ หุ้นชิ้น; จิรนาฏ วีรชัยพิเชษฐ์กุล; รุ่งทิพย์ พรหมทรัพย์; อภิสิทธิ์ ประสงค์สุข, บ.ก. (มิถุนายน 2550). อาหารจากสมุนไพร อร่อย สุขภาพดี. กรุงเทพฯ: สนพ. แม่บ้าน. pp. 64–65. ISBN 9789749798652.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้