ชวน รัตนรักษ์ (จีน: 李木川; พินอิน: Lǐ Mùchuān; พ.ศ. 2463-2536) นักธุรกิจ นักการเงินการธนาคารชาวไทยเชื้อสายจีน[1] เป็นผู้ร่วมก่อตั้งสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินซึ่งออกอากาศด้วยระบบภาพสี 625 เส้น 25 อัตราภาพแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ธุรกิจการธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อย, ธุรกิจประกันภัย, และรวมถึงธุรกิจการผลิตและจัดจำหน่ายปูนซีเมนต์รายใหญ่[2] โดยช่วงปี พ.ศ. 2536 ชวนและกลุ่มธุรกิจรัตนรักษ์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลทางการค้า การพาณิชย์ของประเทศไทย เช่นเดียวกับกลุ่มโสภณพนิช และกลุ่มล่ำซำ

ชวน รัตนรักษ์
เกิดพ.ศ. 2463
ซัวเถา ประเทศจีน
เสียชีวิตพ.ศ. 2536 (73 ปี)
สัญชาติไทย
อาชีพนักธุรกิจ
คู่สมรสศศิธร รัตนรักษ์
บุตร6 คน

ชีวิตในวัยเยาว์ แก้

ชวน รัตนรักษ์ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2463 ที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อในภาษาจีนว่า “ชวน แซ่หลี่” (Chuan Sae Lee)[3] เมื่ออายุได้ 6 ปี ชวนได้ติดตามครอบครัวเดินทางเข้ามาในประเทศไทย เริ่มทำงานจากการทำงานอยู่บริเวณท่าน้ำราชวงศ์[4] ในปี พ.ศ. 2483 ชวนในวัย 20 ปี จึงได้เริ่มลงทุนประกอบกิจการขนส่งทางน้ำเป็นของตัวเอง โดยได้ตั้งบริษัทที่ดำเนินกิจการขนส่งทางน้ำขึ้น 2 บริษัท ได้แก่ บริษัทขนส่งสินค้าบางกอก (“Bangkok Transport”) และบริษัทบางกอกไลท์เตอร์ (“Bangkok Lighter”) [5]

ในช่วงปี พ.ศ. 2483-2502 ถือเป็นช่วงปีที่นักธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีนมีบทบาทที่สำคัญต่อธุรกิจการพาณิชย์ของประเทศเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องมาจากการประกาศใช้กฎหมายรัฐนิยมในช่วงก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายใต้การนำของ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม (“จอมพลป. พิบูลสงคราม”) ซึ่งมีผลให้เกิดการกีดกันทางการค้าและการดำเนินธุรกิจของชาวไทยเชื้อสายจีน รวมทั้งในปี 2490 ยังถือเป็นช่วงที่ประเทศไทยขาดเสถียรภาพทางการเมือง โดยขณะนั้นกลุ่มขั้วอำนาจแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ด้วยเหตุนี้นักธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีนจึงจำเป็นที่จะต้องมีความสามัคคีกลมเกลียวกัน มีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิด และยังจำเป็นที่จะต้องสร้างสัมพันธ์ไมตรีกับผู้มีอำนาจทั้งทางทหารและกลุ่มอำนาจทางสังคม [6] เพื่อที่จะสร้างภูมิคุ้มกันให้กับธุรกิจได้ในระดับหนึ่ง ในช่วงเวลาดังกล่าว ชว ได้สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้นำทางการทหารระดับสูงทั้ง จอมพลประภาส จารุเสถียร[6] และ จอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งต่อมาได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปีพ.ศ. 2506-2514 และ พ.ศ. 2515-2516 [7] ตามลำดับ

ธุรกิจกลุ่มรัตนรักษ์ แก้

ธุรกิจขนส่งทางน้ำ แก้

ในปี พ.ศ. 2497 ชวนได้ก่อตั้งบริษัท สหขนส่งทางน้ำ จำกัดขึ้น ภายใต้การสนับสนุนของ จอมพลประภาส จารุเสถียร ซึ่งป็นการรวมเอาธุรกิจการขนส่งทางน้ำที่ดำเนินการอยู่แล้วภายใต้ชื่อบริษัท บางกอก ทรานสปอร์ต จำกัด (“Bangkok Transport Co., Ltd.”) และบริษัท เรือขนส่งบางกอก (“Bangkok Lighter Co., Ltd.”) ให้รวมเป็นกิจการเดียว [7] ในปี พ.ศ. 2507 ชวนได้ก่อตั้งบริษัท เจนเนอรัล โลจิสติกส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการเรือขนส่งสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในเวลาดังกล่าว โดยการก่อตั้งบริษัทได้รับการสนับสนุนจากจอมพล ประภาส จารุเสถียร ซึ่งต่อมาชวนได้ขายหุ้นส่วนในกิจการดังกล่าวออกไป [7]

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา แก้

ในปีพ.ศ. 2500 ภายหลังการปฏิวัติภายใต้การนำของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เศรษฐกิจของประเทศไทยอยู่ภายใต้การนำของสหรัฐ, ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งนำมาสู่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย การเปิดเสรีทางการค้าดังกล่าวได้เปิดโอกาสทางธุรกิจให้กับนักธุรกิจไทยเชื้อสายจีน โดยเฉพาะธุรกิจในสายการเงินและการธนาคารซึ่งทำให้สามารถลดทอนการพึ่งพาอำนาจทางการทหารลงได้ [8] ในปี พ.ศ. 2501 ชวนได้รับการสนับสนุนจากคณะรัฐบาลให้เข้ามาบริหารธนาคารกรุงศรีอยุธยาในตำแหน่งกรรมการจัดการธนาคารและผู้ถือหุ้นใหญ่ในเวลาต่อมา[6]ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 – พ.ศ. 2536 [5]

ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 - 2509) ที่มีเป้าหมายเพื่อรองรับการเติบโตและส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ได้นำมาสู่การจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2505 อย่างไรก็ดีในช่วงปี พ.ศ. 2501-2516 ระบบธนาคารพาณิชย์ของไทยในระยะดังกล่าวยังคงขึ้นอยู่กับธนาคารภายในประเทศ [6] มีโครงสร้างการบริหารจัดการระบบธนาคารเดี่ยว (Unit Banking System or Independent Banking) ซึ่งเป็นระบบธนาคารที่มีอิสระไม่ขึ้นอยู่กับการควบคุมของธนาคารอื่นๆ การดำเนินงานภายใต้ระบบโครงสร้างธนาคารเดี่ยวดังกล่าวเอื้อประโยชน์ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนใหญ่ของธนาคารกรุงศรีอยุธยาและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าสู่แหล่งเงินทุนได้ง่าย เพิ่มอำนาจในการขยายตัวของอาณาจักรทางธุรกิจ จนก้าวเข้าสู่การเป้นหนึ่งในตระกูลใหญ่ที่กุมเศรษฐกิจของประเทศไทยในขณะนั้น โดยอาจอุปมานได้ว่าภายในปี พ.ศ. 2522 ในบรรดาธุรกิจทั้งหมดที่ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ในกิจการธนาคารเข้าไปลงทุนนั้นมีมากกว่าครึ่งที่เป็นกิจการที่ไม่เกี่ยวกับการธนาคาร [9] ด้วยการสร้างเครือข่ายที่ดีทั้งต่อสถาบันทางการเมืองและต่อสถาบันทางเศรษฐกิจต่างๆ ธนาคารยักษ์ใหญ่ในประเทศเหล่านี้ได้กลายเป็นที่พึ่งให้แก่ธุรกิจไทยต่างๆที่เข้ามาเป็นลูกค้าของธนาคารผ่านการที่สามารถกู้เงินไปใช้ในการขยายธุรกิจของตนได้อย่างมั่นคง แม้ในช่วงที่สภาวะทางเศรษฐกิจไม่น่าไว้วางใจ โดยเฉพาะในช่วงการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจของสหรัฐฯในช่วงทศวรรษที่ 1960 – 1970[10]

ในปีพ.ศ. 2539 ก่อนที่วิกฤติการณ์การเงินเอเชีย (“The Asian Financial Crisis”) จะส่งผลกระทบมายังประเทศไทย ราคาหุ้นของธนาคารกรุงศรี ซื้อขายอยู่ที่ ประมาณ 150 บาท ซึ่งหมายถึงมูลค่าทางตลาด (“Market Value”) ของแต่ละธนาคารมีมูลค่าคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันประมาณ 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[11]

ธนาคารนครหลวงไทย แก้

ในปี พ.ศ. 2506 ชวนเข้าถือหุ้นในธนาคารนครหลวงไทย 25% ซึ่งทำให้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคารฯ ซึ่งต่อมาได้ขายหุ้นดังกล่าวไปในปี พ.ศ. 2523 [8]

ปูนซีเมนต์นครหลวง แก้

ในปี พ.ศ. 2510 ชวนได้รับมอบประทานบัตรในการประกอบกิจการผลิตปูนซีเมนต์ [5] และได้ก่อตั้งบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด ซึ่งถือเป็นโรงงานปูนซีเมนต์ของเอกชนรายแรกของประเทศไทย โดยในขณะนั้นบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด ภายใต้การดูแลของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เป็นบริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายใหญ่รายเดียวในประเทศไทย หนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดคือการตั้งโรงงานผลิตปูนซีเมนต์แห่งแรกที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี การกำหนดจุดตั้งโรงงานผลิตดังกล่าวส่งผลให้มีกำลังผลิตปูนซีเมนต์พอเพียงต่อความต้องการการใช้ปูนซีเมนต์ที่ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในระยะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คุณ ชวน รัตนรักษ์ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด ตั้งแต่นั้นจนถึงปี พ.ศ. 2536 [5]

การผลิตปูนซีเมนต์เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2515 และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง[12] ในอีก 5 ปีต่อมา บริษัทฯก็ได้จดทะเบียนเข้าเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2523 ยุทธศาสตร์สำคัญของบริษัท อาทิ เป็นบริษัทประกอบกิจการปูนซีเมนต์แห่งแรกที่ได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม บุกเบิกการนำถ่านลิกไนต์มาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตปูนซีเมนต์ เป้นต้น ซึ่งยุทธศาสตร์ข้อหลัง ส่งผลให้กำลังการผลิตของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายปูนซีเมนต์ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศด้วยส่วนแบ่งการตลาดใที่ 27% [12] และยังคงก้าวต่อไปในฐานะผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างชั้นนำ [2]

บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด แก้

ในปี พ.ศ. 2510 ซึ่งเป็นสมัยที่จอมพลประภาส จารุเสถียร ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ชวนได้รับสัญญาสัมปทานเพื่อดำเนินการส่งออกอากาศโทรทัศน์สีร่วมกับกองทัพบกโดยใช้มาตรฐานการออกอากาศ ซีซีไออาร์ 625 เส้น ในระบบ PAL เป็นครั้งแรกของประเทศไทย โดยระบบการกระจายสัญญาณดังกล่าวมีกองทัพบกเป็นเจ้าของ[13] การดำเนินงานจึงเป็นไปตามมติและนโยบายของคณะกรรมการควบคุมวิทยุและโทรทัศน์กองทัพบก บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด จึงได้จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการบริหารสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ด้วยทุนจดทะเบียน 10,000,000 บาท ซึ่งกลุ่มรัตนรักษ์ได้สนับสนุนทางการเงินให้กิจการดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ ชวนและกลุ่มรัตนรักษ์จึงได้เข้าเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายหนึ่งในบริษัทฯ นับแต่นั้นมา [5]

แม้ว่าธุรกิจการธนาคารยังถือเป็นธุรกิจหลักของกลุ่มรัตนรักษ์ แต่การเติบโตอย่างรวดเร็วของบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ในฐานะดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์สีแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้รายได้จากการถือหุ้นใน บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ถือเป็นรายได้ที่สำคัญหลักอีกทางหนึ่งของกลุ่มรัตนรักษ์ ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2533 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ได้รับการยอมรับว่าเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด มีส่วนแบ่งทางการตลาดมากกว่า 50% และทำรายได้มากกว่า 30% ของรายได้จากสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์รวมกันทุกช่อง[14]

การที่กลุ่มรัตนรักษ์เป็นผู้สนันสนุนเงินแก่สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ทำให้สามารถพัฒนาระบบการกระจายสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเหตุผลสองประการ คือ หนึ่ง – แม้ว่าการดำเนินการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ ภายใต้สัญญาสัมปทานที่ทำร่วมกับกองทัพบก จะให้เสรีภาพในการกระจายสัญญาณก็ตาม แต่อุปกรณ์พื้นฐานหลักที่ใช้ในการกระจายสัญญาณยังคงเป็นของกองทัพบก [5] ดังนั้น หนึ่งในภารกิจสำคัญของบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด คือการสร้างและพัฒนาเครือข่ายพื้นฐานในการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ให้ทันสมัยและการขยายสถานีส่งสัญญาณช่อง 7 สีออกไปสู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยได้รับการยอมรับจากทั้งสภาความมั่นคงแห่งชาติและจากกองบัญชาการกองทัพไทย [13] สอง – การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงการเล็งเห็นความสำคัญของการยกระดับขีดความสามารถของระบบโครงสร้างพื้นฐานในการกระจายสัญญาณต่าง ๆ ให้ทันสมัย เสริมสร้างศักยภาพให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีของโลกให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งนี้การลงทุนในโครงสร้างดังกล่าวยังเป็นการลงทุนที่จะให้ผลประโยชน์ในระยะยาวซึ่งเป็นปัจจัยหลักหนึ่งที่ทำให้ช่อง 7 สี มีความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจนับแต่นั้นมา [5]

การลงทุนในปี พ.ศ. 2516 นั้นทำให้ช่อง 7 สี สามารถขยายสถานีส่งสัญญาณออกไปสู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และต่อมาในปี พ.ศ. 2521 ช่อง 7 สี เป็นสถานีโทรทัศน์สถานีแรกที่ทำการถ่ายทอดสัญญาณจากห้องส่งในกรุงเทพฯ ไปยังสถานีขยายสัญญาณที่อยู่ในจังหวัดต่างๆ ด้วยเหตุนี้ ช่อง 7 สี จึงมีความได้เปรียบจากการบุกเบิกตลาดทำให้สามารถครอบครองฐานลูกค้า ผู้ชมรายการโทรทัศน์และช่องทางการขายไว้ได้ ทั้งนี้ ช่อง 7 สี (ปัจจุบันใช้ชื่อว่า ช่อง 7 เอชดี) มีสถานีส่งสัญญาณทั้งหมด 35 สถานี เฉพาะการออกอากาศในระบบแอนะล็อก มีเครือข่ายที่ครอบคลุมในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน[13] (ปัจจุบันยุติการออกอากาศในระบบเดิมไปแล้ว แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงมีการออกอากาศต่อไปในระบบดิจิตอล ความคมชัดละเอียดสูง ที่ช่องหมายเลข 35 โดยมีสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบโครงข่ายการส่งสัญญาณออกอากาศภาคพื้นดิน)

ธุรกิจอื่น ๆ แก้

การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของชวนในช่วงต้น พ.ศ. 2503 เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก อาทิ สะสมที่ดินในทำเลสำคัญใจกลางย่านธุรกิจของกรุงเทพฯ และพื้นที่ในต่างจังหวัดอีกเป็นจำนวนมาก เขายังเป็นเจ้าของที่ดินผืนใหญ่หลายแปลงในเขตยานนาวา ในปี พ.ศ. 2533 ได้มีการก่อสร้างอาคารเพลินจิตทาวเวอร์บนถนนเพลินจิต ซึ่งเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2536 [15] และในปี พ.ศ. 2534 ได้ก่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ริมถนนพระรามที่ 3 [13] ซึ่งเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2539

ในช่วงปี พ.ศ. 2493 ถึงปี พ.ศ. 2523 ชวนได้ลงทุนที่ฮ่องกงในธุรกิจหลากหลายรูปแบบในประเทศฮ่องกง รวมถึงธนาคารกวางเจา[5] นอกจากนี้เขายังลงทุนในบริษัท ไทยแป้งมันอุตสาหกรรม ซึ่งต่อมาได้ขายให้กับบริษัท เมโทร กรุ๊ป, [7] และการลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำตาลและการทำคลังสินค้าด้วย [1]

การรับมือวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียของกลุ่มรัตนรักษ์ แก้

ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ธุรกิจการธนาคารของประเทศไทยได้เกิดขึ้นอย่างมั่นคง ภายหลังธนาคารระบบอาณานิคมล่าถอยในช่วงสงครามโลกต่อเนื่องจากครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 2 ภายใต้กฎหมายที่ปกป้องธนาคารไทยอย่างเต็มที่ เสริมสร้างระบบธนาคารให้เข็มแข็ง กลายเป็นแกนกลางของธุรกิจในเวลาต่อมา [16] โดยในช่วงปีพ.ศ. 2523-2533 ซึ่งถือเป็นยุคทองของธุรกิจการค้าของประเทศไทย การขยายตัวของเศรษฐกิจบนพื้นฐานของเงินลงทุนภาคเอกชนพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่า 10% การค้าและการลงทุนต่างๆของประเทศไทยในยุคดังกล่าวมีกลุ่มธุรกิจกว่า 30 กลุ่มเป็นแรงขับเคลื่อนซึ่งล้วนแต่อาศัยการสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารพาณิชย์ [8] ซึ่งยังผลให้ธนาคารสามารถเข้าถึงธุรกิจต่างๆครอบคลุมทั่วทุกสายธุรกิจ จากอดีตคนงานท่าเรือ จนมาถึงผู้บริหารธนาคารที่ใหญ่ที่สุดสามอันดับแรกของประเทศไทย ถือเป็นบทพิสูจน์ความสามารถในการบริหารธุรกิจได้เป็นอย่างดีของบุรุษนามว่า ชวน รัตนรักษ์ [16]

กลุ่มธุรกิจรัตนรักษ์ได้เข้าถือหุ้นในธุรกิจต่าง ๆ โดยมีธนาคารกรุงศรีอยุธยาเป็นธุรกิจหลักของกลุ่ม ในปี พ.ศ. 2536 เมื่อชวนเสียชีวิต มีผู้ประเมินว่าเขาถือเป็นนักธุรกิจคนหนึ่งที่ถือหุ้นในกิจการต่าง ๆ มากที่สุด ซึ่งล้วนดำเนินการโดยใช้เงินลงทุนหมุนเวียนในบริษัทเป็นหลัก และยังเป็นกิจการที่มีหนี้สินน้อยหรือแทบจะไม่มีเลย [17] ด้วยนโยบายการลงทุนที่ไม่ผาดโผนให้ความสำคัญกับรายละเอียดต่าง ๆ ส่งผลให้ธุรกิจในกลุ่มรัตนรักษ์มีผลการดำเนินการที่เข้มแข็ง มีการเจริญเติบโตอย่างมั่นคงและสามารถก้าวผ่านช่วงวิกฤติทางการเงินเอเชียในปี พ.ศ. 2540 ได้อย่างปลอดภัย ซึ่งทำให้กลุ่มรัตนรักษ์เป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ของประเทศไทย และเป็น 1 ใน 3 ตระกูลมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ร่วมกับกลุ่ม โสภณพาณิช และกลุ่ม ล่ำซำ [18]

ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจดังกล่าว ส่งผลให้ธนาคารหลายธนาคารจำต้องปิดกิจการลงหรือตกอยู่ในการถือหุ้นใหญ่ของทุนต่างชาติ [18] ธนาคารกรุงศรีอยุธยาถือเป็นหนึ่งใน 4 ธนาคารที่เหลืออยู่และยังเป็นธนาคารของคนไทย โดยการบริหารงานยังอยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มรัตนรักษ์ และได้พัฒนาการให้บริการและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องภายหลังมรสุมวิกฤติทางการเงินดังกล่าว โดยก่อนวิกฤติทางการเงิน (พ.ศ. 2539) ธนาคารฯ มีมูลค่าประมาณ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และได้เพิ่มสูงขั้นเป็น 7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2556[19] การลดจำนวนการถือครองหุ้นในธนาคารกรุงศรีอยุธยาของกลุ่มรัตนรักษ์ จากเดิมที่เคยถืออยู่ 35% [20] ลงเหลือ 25% [2] ในปี พ.ศ. 2550 นั้นเพื่อดำเนินการตามกฎบัญญัติของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ได้ประกาศให้มีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2551 [21] หุ้นที่ต้องลดลงเพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นส่วนหนึ่ง (น้อยกว่า 25%) ได้ถูกนำมาใช้ในการดึง GE Capital International Holdings Corporation เข้ามาเป็นพันธมิตร ซึ่ง GE Capital ลดอัตราส่วนในการถือหุ้นในธนาคารกรุงศรีอยุธยาอยู่จนต่ำกว่า 25% [22] [23]ซึ่งทำให้กลุ่มรัตนรักษ์ ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคารฯ มาอย่างต่อเนื่อง [2]

ในปี 2541 กลุ่มธุรกิจ รัตนรักษ์ ประสบความสำเร็จในการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นในบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ผ่านการขายหุ้นของกลุ่มบางส่วนให้กับบริษัท Holderbank (ต่อมารู้จักในนามบริษัท Holcim) [24] ซึ่งการพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นได้ให้ข้อมูลอย่างผิดพลาดว่าการขายหุ้นดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการเพิ่มทุนของธนาคารกรุงศรีอยุธยา อย่างไรก็ดีหากศึกษาในข้อมูลรายละเอียดการขายหุ้นดังกล่าวจะทราบว่าในการขายหุ้นนั้นมีการระบุถึงเงื่อนไขว่าเงินทุนใดๆที่ได้จากการขายหุ้นดังกล่าวในบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) หรือจากการเพิ่มทุนของกลุ่มรัตนรักษ์เองนั้นจะถูกนำไปใช้ในกิจการ ปูนซีเมนต์นครหลวง เท่านั้น ส่วนเงินทุนที่เพิ่มขึ้นจากการปรับโครงสร้างหุ้นของธนาคารกรุงศรีอยุธยานั้นมาจากเงินทุนสำรองเท่านั้น[25] เปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2541 ซึ่งกลุ่มธุรกิจ รัตนรักษ์ ถือหุ้นประมาณ 50% [24] ของบริษัท ปูนซีเมนต์นตรหลวง จำกัด (มหาชน) แล้วในปี พ.ศ. 2556 กลุ่มธุรกิจ รัตนรักษ์ ถือหุ้น 47% ซึ่งคิดเป็นมูลค่าตลาดเท่ากับ 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ปราศจากหนี้สินที่มีสาระสำคัญ ส่วนบริษัท Holcim ถือครองหุ้นอยู่ 27.5% [2]

ชีวิตส่วนตัว แก้

ชวนแต่งงานกับศศิธร รัตนรักษ์ ในปี พ.ศ. 2483 มีบุตรและธิดาทั้งหมด 6 คน เป็นชาย 1 คน คือ กฤตย์ รัตนรักษ์ และหญิง 5 คน

ในช่วงเริ่มต้นของการทำงาน ชวนยืนยันที่จะยังคงทำงานที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยาสาขาเยาวราช ชวนความรักความเป็นส่วนตัวและรักครอบครัว ต่างจากนักธุรกิจไทยเชื้อสายจีนท่านอื่นที่มักจะพบได้ในงานสังคมต่างๆ [1] ชวนเป็นนักธุรกิจที่ทำงานหนัก และใช้เวลาส่วนใหญ่ศึกษาเอกสารของบริษัท หรือตรวจสอบบัญชีด้วยลูกคิด

ชวนได้รับการยกย่องในหมู่ชาวจีนแต้จิ๋ว [26] ในเมืองไทยว่าเป็นนักธุรกิจผู้มีความขยัน และใส่ใจในรายละเอียดต่างๆ นอกจากนี้ยังได้รับการยอมรับในเรื่องความเอื้อเฟื้อ และความมีเมตตา โดยเฉพาะการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในโครงการที่ส่งผลดีในระยะยาวแก่ประเทศไทย ชวนยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [10] และยังคงให้การสนับสนุนสถาบันฯ อย่างต่อเนื่อง [26] นอกจากนี้ ชวนยังได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในผู้สร้างรากฐานทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศไทย โดยเฉพาะในช่วง พ.ศ. 2503 ถึง 2528 ซึ่งเป็นช่วงที่ยังไม่มีเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ [27]

ศาสตราจารย์กิตติคุณ เติมศักดิ์ กฤษณามระ ผู้อำนวยการสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวว่า ชวนเป็นผู้ที่มีเพื่อนมากและได้ช่วยเหลือเพื่อนมากเท่าที่บุรุษคนหนึ่งจะสงเคราะห์เพื่อนได้ ส่งผลให้ชวนมีเครือข่ายทางธุรกิจอย่างกว้างขวาง ศาสตราจารย์กิตติคุณ เติมศักดิ์ ยังกล่าวว่าชวนมีความคิดที่เฉียบไว จริงใจ และรักษาคำพูด นอกจากนี้ ศาสตราจารย์กิตติคุณ เติมศักดิ์ ยังกล่าวอีกว่า หากเทียบคุโณปการที่ชวน รัตนรักษ์ ได้สร้างให้กับประเทศไทย โดยพิจารณาถึงขนาดของตลาดและพัฒนาการทางโครงสร้างเศรษฐกิจแล้ว ก็เปรียบได้กับ Vanderbilt หรือ Rockefeller ของสหรัฐอเมริกา [10]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "BANK OF AYUDHYA CHAIRMAN PASSES AWAY". Bangkok Post. 4 August 1993.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Srimalee, Somluck (25 December 2012). "Ratanaraks returning to former prowess". The Nation. สืบค้นเมื่อ 25 June 2013.[ลิงก์เสีย]
  3. Hiscock, Geoff (1997). Asia's wealth club : who's really who in business : the top 100 billionaires in Asia (Reprint. ed.). London [u.a.]: Brealey. ISBN 1-85788-162-1.
  4. "Empires in the East – Powerful Families Still Dominate Nation's Industry". The Economist. 26 January 1991. p. 78.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 Jaiyen, Boonchai (2012). Which Family is the Richest. pp. 37–54. ISBN 978-616-7363-70-7.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Smith, R.B. (2006). Changing visions of East Asia : 1943-93 : transformations and continuities (1. publ. ed.). New York [u.a.]: Routledge. pp. 125–128. ISBN 978-0-415-38140-6.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "ชวน รัตนรักษ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-18. สืบค้นเมื่อ 21 June 2013.
  8. 8.0 8.1 8.2 Phongpaichit, Chris Baker, Pasuk (2005). A history of Thailand (Reprinted. ed.). New York... [etc.]: Cambridge University Press. pp. 152–154. ISBN 978-0-521-01647-6.
  9. Gomez, Edmund (2002). Political business in East Asia. London: Routledge. pp. 253–277. ISBN 0-415-27149-5.
  10. 10.0 10.1 10.2 Krishnamra, Toemsakdi (October 2013). "The role of Chuan Ratanarak and the major business families in Thailand's economic development", Interview with Toemsakdi Krishnamra". Sasin Graduate Institute of Business Administration of Chulalongkorn University (Interview). Bangkok, Thailand.
  11. "Thailand Closing Stock Prices". Dow Jones Newswire. 10 April 1996. {{cite web}}: |url= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  12. 12.0 12.1 "Achievements and Milestones". Siam City Cement. สืบค้นเมื่อ 27 June 2013.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 "Broadcasting Industry in Thailand" (PDF). Office of the National Culture Commission Ministry of Culture 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-02-01. สืบค้นเมื่อ 2013-07-15.
  14. "Analyst Briefing Presentation 2010" (PDF). MCOT. 2 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-08-28. สืบค้นเมื่อ 8 July 2013.
  15. "Ploenchit Tower". Emporis.
  16. 16.0 16.1 Hewison, Kevin (2007). "The Financial Bourgeoisie in Thailand". Journal of Contemporary Asia. 11 (4).
  17. "Ratanarak Group Takes A Significant Stake In Eastern Star As Baht 934 Million in New Cash Injected". Thai News Service. 27 May 2003.
  18. 18.0 18.1 Akira Suehiro; Natenapha Wailerdsak (2004). "Family Business in Thailand". ASEAN Economic Bulletin. 21 (1).
  19. "Companies/Securities in Focus". The Stock Exchange of Thailand. สืบค้นเมื่อ 2 July 2014.
  20. Utumporn, Pichayaporn (7 May 1996). "Bank of Ayudhya Share-Issue Plan Pleases Shareholders and Analysts". The Asian Wall Street Journal.
  21. Kanoksilp, Jiwamol (5 January 2007). "BAY gears up for new era as Krit steps down". The Nation (Thailand).
  22. "Bank of Ayudhya". The Nation (Thailand). 13 September 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 21 August 2013.
  23. "General Electric: the long game". Financial Times. 8 April 2013. สืบค้นเมื่อ 20 August 2013.
  24. 24.0 24.1 Sherer, Paul (11 August 1998). "Swiss Holderbank Buys Stake in Siam City Cement". The Asian Wall Street Journal.
  25. "Before Nowadays…40 Years of Siam City Cement PCL. Special Interview with Khun Veraphan Teepsuwan" (Interview). Siam City Cement Vol. 5, Issue 22. 6 Nov 2009. pp. 20–25. สืบค้นเมื่อ 2 July 2014.
  26. 26.0 26.1 Tan, Itthiporn (15 May 2010). "Walking with giants". Bangkok Post.
  27. Mackie, J (2004). Gomez and Hsiao (บ.ก.). Thailand. London: RouthledgeCurzon. pp. 91–93.