ชลันธร (สันสกฤต: जलन्धर) เป็นอสูรที่ปรากฏเรื่องราวในคัมภีร์ของศาสนาฮินดูซึ่งทั้งในคัมภีร์รามายณะและปุราณะต่าง ๆ เล่าเรื่องของอสูรตนนี้เหมือนกัน

ชลันธร
ตัวละครใน รามายณะ
ปุราณะ
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง
เผ่าพันธุ์อสูร
เพศบุรุษ
ตำแหน่งราชาแห่งอสูร
โอรสแห่งพระอิศวรและพระสมุทร
พี่น้องของพระลักษมี กามเธนุ พระจันทร์
ศิษย์แห่งพระฤๅษีศุกราจารย์
สวามีแห่งนางวฤนทา
คู่สมรสนางวฤนทา
ญาติพระอิศวร และ พระสมุทร (บิดา)
พระลักษมี กามเธนุพระจันทร์ (ลูกพี่ลูกน้อง)
นางวฤนทา (ภรรยา)

เทพปกรณัม แก้

ครั้งหนึ่งพระศิวะเบิกพระเนตรที่สามลงในมหาสมุทร แล้วบังเกิดทารกขึ้นมาจากทะเลนั้น ทารกนั้นส่งเสียงกัมปนาทไปทั่ว พระพรหมจึงเสด็จลงมาทอดพระเนตรและมอบแด่พระสมุทรและถวายแด่พระฤๅษีศุกราจารย์เป็นศิษย์ โดยให้นามว่า ชลันธร[1] ต่อมาได้อภิเษกกับนางวฤนทา ธิดาของกาลเนมิอสูร และได้รับพรจากพระพรหม ว่าตราบใดที่นางวฤนทายังมีความซื่อสัตย์ต่อตัวชลันธรอยู่เมื่อนั้นจะสมปรารถนาทุกประการ ต่อมาชลันธรได้รับการสถาปนาเป็นราชาและมีโอกาสเห็นพระราหู[2] พระราหูได้ทูลเหตุที่ตนเหลือเพียงศีรษะแต่ครั้งกวนเกษียรสมุทร ชลันธรเมื่อได้สดับก็โกรธและยกทัพบุกสวรรค์ ในสงครามพระฤๅษีศุกราจารย์ใช้มนตร์มฤตสัญชิวินีชุบชีวิตไพร่พลอสูร และพระพฤหัสบดีได้ชุบชีวิตเทวดาด้วยสมุนไพรจากภูเขาโทณะ ฝ่ายชลันธรจึงทำลายภูเขาโทณะโดยการโยนลงทะเลทำให้คณะเทวดาพ่ายแพ้และเชิญพระวิษณุมาช่วยแต่ไม่สามารถทำอันตรายชลันธรได้ด้วยเหตุแรงพิโรธจากพระศิวะ และเชิญพระลักษมีมาประทับด้วยกับตนด้วยเหตุที่ว่าทรงประสูติจากพระสมุทรเช่นเดียวกับตน ต่อมาฤๅษีนารทมุนีได้เล่าถึงความของพระแม่ปารวตีทำให้ชลันธรหลงไหลและปาราถนาจะครอบครองพระนาง[3] โดยส่งพระราหูไปเป็นทูต ครั้นพระศิวะได้ฟังพระราหูมาทูลขอพระแม่ปารวตีก็พิโรธและบังเกิดยักษ์หน้าสิงห์ออกมาไล่กินพระราหู พระศิวะทรงเมตตาพระราหูจึงให้ปล่อยไป แต่ยักษ์หน้าสิงห์นั้นทูลขออาหาร พระศิวะจึงรับสั่งให้ทานร่างของตนเองจนเหลือแต่ศีรษะแล้วทรงประทานนามว่า เกียรติมุข ให้เป็นทวารบาล ชลันธรจึงนำกองทัพบุกเขาไกรลาส โดยพระศิวะทรงทอดพระเนตรเห็นพระฤๅษีศุกราจารย์ก็พิโรธและบันดาลให้เกิดนางกฤติยาจับพระฤๅษีศุกราจารย์ยัดที่ช่องสังวาสแล้วอันตรธานหายไป ชลันธรนั้นได้ปลอมเป็นพระศิวะและเข้าหาพระแม่อุมาเทวี พระนางพิโรธมากจึงทูลขอให้พระนารายณ์ทำลายอสูรตนนี้[4] โดยพระวิษณุทรงเนรมิตพระองค์เป็นชลันธรร่วมอภิรมย์สังวาสกับนางวฤนทา ด้วยอำนาจของตบะสมาธิแห่งนางวฤนทาทราบเข้าจึงสาปให้พระวิษณุกลายรูปเป็นหินศาลิรามต้องลงไปเกิดเป็นมนุษย์เข้าสู้รบกับรากษสโดยมีวานรช่วยเหลือ คณะเทวีและพระพรหมจึงปรากฏพระองค์และทูลขอชีวิตขององค์พระวิษณุโดยนางวฤนทาใช้ตบะสมาธิทำลายร่างของตนเองด้วยพิธีสตีจนเหลือแต่เถ้าถ่าน[2][3] คณะเทวีและพระพรหมจึงประทานพรให้นางวฤนทาปรากฏรูปเป็นกระเพราและแม่น้ำคัณฑกีพร้อมกับได้รับการบูชาในฐานะเทวี โดยสนามรบพระศิวะทรงใช้พระบาทกวนเกษียรสมุทรบังเกิดกวนจักรขนาดใหญ่ตัดศีรษะของชลันธร[2]

อ้างอิง แก้

  1. https://writer.dek-d.com/oommcrnid/story/viewlongc.php?id=649819&chapter=3
  2. 2.0 2.1 2.2 Stella Kramrisch (1992). The Presence of Siva. Princeton University Press. pp. 388, 389, 391. ISBN 978-0-691-01930-7.
  3. 3.0 3.1 http://www.sacred-texts.com/hin/hmvp/hmvp43.htm
  4. Wendy Doniger O'Flaherty, "Asceticism and Sexuality in the Mythology of Siva, Part II." History of Religions, Vol. 9, No. 1. (Aug., 1969), pp. 1–41.