ชฎา คือเครื่องสวมศีรษะรูปคล้ายมงกุฎ[1] โดยทั่วไปมียอดแหลม มีกรรเจียก (กระหนกข้างหู) ประดิษฐ์ขึ้นด้วยโลหะเช่นทองหรือเงิน หรือวัสดุอื่นเช่นไม้ เปเปอร์มาเช่ หรือพลาสติก แล้วทาสีให้ดูเหมือนโลหะ ผิวด้านนอกของชฎาจะตกแต่งอย่างสวยงาม โดยการแกะสลัก ประดับอัญมณี กระจกสี และพวงดอกไม้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรลักษณาวดี ทรงชฎา

ชฎาเกิดขึ้นช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย[2] โดยพัฒนาการจากลอมพอก[3] ชฎาและมงกุฎต่างกัน คือชฎาจะมียอดปัดไปข้างหลังเหมือนลอมพอก ส่วนมงกุฎจะมียอดแหลมเป็นปลียอด[4]

ชฎาที่เป็นเครื่องราชศิราภรณ์ส่วนใหญ่เรียกว่า "พระชฎา" หรือ "มงกุฎรอง" มีหลายชนิด[5] ชฎามักใช้ในงานพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับเจ้านายชั้นสูงและใช้ในงานนาฏศิลป์ วัฒนธรรมสมัยใหม่มีการใช้ชฎาเป็นเครื่องแต่งตัวในการเดินแบบ ถ่ายภาพยนตร์ และประกอบการแสดง

อ้างอิง แก้

  1. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
  2. สุจิตต์ วงษ์เทศ (17 เมษายน 2555). ""เทริด" เครื่องสวมหัวละคร". สุวรรณภูมิ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-28. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. สุจิตต์ วงษ์เทศ (9 มิถุนายน 2559). "ชฎา, มงกุฎ โขนละคร ได้จาก "ลอมพอก" ของเปอร์เซีย (อิหร่าน)". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "พัฒนาการของเครื่องแต่งกายและศิลปะการแต่งหน้าโขนละคอนไทยในยุคใหม่สืบทอดมาจากอดีต". ลักษณะไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-11. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. ชฎา, ราชบัณฑิตยสถาน

ดูเพิ่ม แก้