ฉมวกเพชร ช่อชะมวง

ฉมวกเพชร ช่อชะมวง หรือ ฉมวกเพชร ห้าพลัง เป็นอดีตยอดมวยไทยและอดีตนักมวยอาชีพ ฉมวกเพชร สร้างสถิติคว้าเข็มขัดของสนามมวยลุมพินีและสนามมวยราชดำเนินรวม 9 เส้น จาก 7 รุ่นน้ำหนัก และยังคงเป็นสถิติจนถึงปัจจุบัน เขาชกที่กรุงเทพฯ ในช่วงปลายทศวรรษ 2510 ถึงกลางทศวรรษ 2530 และต่อมาได้ชกที่ญี่ปุ่น ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นผู้ฝึกสอนมวยไทยที่มีชื่อเสียง

ฉมวกเพชร ช่อชะมวง
ชื่อจริงวิเชียร บุตรดี
ฉายาพ่อบานไม่รู้โรย
ขุนเข่าคอมพิวเตอร์
รุ่นเฟเธอร์เวท
เกิด10 ตุลาคม พ.ศ. 2505 (61 ปี)
จังหวัดชลบุรี
ชกทั้งหมด11
ชนะ10
ชนะน็อก6
แพ้1
เสมอ0
ผู้จัดการสมชาย ดวงประเสริฐดี
ชัยวัฒน์ พลังวัฒนกิจ
นิวัฒน์ เหล่าสุวรรณวัฒน์
เทรนเนอร์ดีเซลน้อย ช.ธนสุกาญจน์

ในช่วงทศวรรษที่ 2510 ถึง 2520 ในสมัยเป็นนักมวยวัยรุ่น เขาเป็นมวยลูกผสมระหว่างมวยบุกกับมวยเข่า ความสามารถในการโจมตีด้วยเข่าของเขาทำให้ได้รับฉายาว่า "ขุนเข่าคอมพิวเตอร์" จากสื่อมวลชน ในช่วงทศวรรษที่ 2530 เมื่อฉมวกเพชรอายุมากขึ้น เพื่อนสนิทของเขาอย่างสามารถ พยัคฆ์อรุณ ได้ฝึกให้เขากลายเป็นมวยฝีมือที่ประสบความสำเร็จ ทำให้ได้รับสมญานามจากสื่อมวลชนว่า พ่อบานไม่รู้โรย

ประวัติ แก้

วิเชียร บุตรดี เกิดที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2505 เขาได้รับแรงบันดาลใจในการฝึกมวยไทยจากการดูพี่ชายคือ เคลย์น้อย รัศมีจันทร์ ฝึกที่ค่ายส.วรกุลชัย ของครูบุญเลิศ ศรีวรกุล ต่อมาได้รับการฝึกฝนจากดีเซลน้อย ช.ธนะสุกาญจน์ นักมวยชื่อดังที่ฝึกอยู่ที่ค่าย ส.วรกุลชัย ในขณะนั้นด้วย จึงทำให้ดีเซลน้อยกลายเป็นพี่เลี้ยง เพื่อนร่วมค่าย และเพื่อนสนิท[1] หลังจากใช้ชื่อบนเวทีว่า "ฉมวกเพชร ส.วรกุลชัย" ตามที่ดีเซลน้อยแนะนำ เขาจึงเริ่มชกมวยไทยเมื่ออายุ 11 ปีในละแวกบ้านของเขา[2] ก่อนจะมาเป็นยอดมวยที่กรุงเทพฯ เขาก็ขึ้นชกที่เมืองชลบุรีและพัทยาจนหมดคู่ต่อสู้ เขาเดินทางไปชกที่ขอนแก่นเป็นเวลา 2-3 ปี[3]

หลังจากนั้นได้เดินทางไปกรุงเทพฯ พร้อมกับเคลย์น้อย รัศมีจันทร์ พี่ชาย เขาได้ขึ้นชกครั้งแรกที่กรุงเทพฯ ที่สนามมวยราชดำเนิน เมื่อปลายปี 2521 เขาได้แชมป์ครั้งแรกในรุ่นพินเวทเมื่ออายุ 17 ปี โดยเอาชนะนักมวยชื่อดังอย่างสามารถ พยัคฆ์อรุณ ด้วยการชนะคะแนน ในปี 2523 เขากับสามารถชกกันอีก 2 ครั้ง ส่งผลให้ทั้ง 2 คนกลายเป็นเพื่อนสนิทกัน[3] และสามารถจะมาช่วยเทรนให้กับฉมวกเพชรในวันที่เข้ามาให้กำลังใจในสนามมวย

สไตล์การชก แก้

ในช่วงปี 2510 ถึง 2520 ฉมวกเพชร เป็นนักมวยลูกผสมระหว่างมวยบุกและมวยเข่า ซึ่งหมายความว่าเขาเป็นนักมวยที่ใช้การชกที่หลากหลาย โดยเฉพาะการตีเข่า มวยเข่าส่วนใหญ่อาศัยกำลังในการตีเข่า แต่ฉมวกเพชรเปลี่ยนรูปแบบการตีเข่าเข้าที่กระดูกสันอกของคู่ต่อสู้[4] ฉมวกเพชรจึงได้ฉายาว่า "ขุนเข่าคอมพิวเตอร์" ในช่วงต้นทศวรรษที่ 2520 ในช่วงเวลานี้เขายังได้รับการขนานนามว่าเป็น 1 ใน 3 ของนักมวยที่มีลูกถีบที่ดีที่สุดในประเทศไทย อีก 2 คน ได้แก่ สามารถ พยัคฆ์อรุณ และชาญชัย ส.ธรรมรังสี[5][6]

ฉมวกเพชรได้รับการอธิบายว่ามี "จิตใจที่แข็งแกร่ง" ซึ่งหมายความว่าเขามีคางที่แข็งแรงและมีร่างกายที่ทนทานซึ่งเหมาะกับสไตล์มวยบุกของเขา สามารถ พยัคฆ์อรุณ อดีตคู่ต่อสู้และเพื่อนสนิท แนะฉมวกเพชร หยุดรับความเสียหายโดยไม่จำเป็นหากต้องการเป็นนักมวยไทยต่อไป สามารถสอนให้ฉมวกเพชรเปลี่ยนรูปแบบการชกเป็นมวยฝีมือ โดยฉมวกเพชรจะพิงหลังกับเชือกของเวที และต่อยเมื่อจำเป็นเท่านั้น[5][7]

แม้ว่าสไตล์ของเขาจะเปลี่ยนไปอย่างมาก แต่ฉมวกเพชรก็ยังคงรักษาลูกถีบและเข่าตรงเอาไว้ ฉมวกเพชรใช้ประโยชน์จากสไตล์การชกใหม่คว้าเข็มขัดเพิ่มอีก 2 เส้นใน 2 รุ่นน้ำหนัก ลูกถีบและเข่าเป็นเทคนิคที่เขาชื่นชอบ[8]

ช่วงรุ่งโรจน์และบั้นปลายอาชีพ แก้

ฉมวกเพชร และดีเซลน้อย ย้ายจากค่ายส.วรกุลชัยไปยังค่ายห้าพลังในช่วงทศวรรษ 2520 จากนั้นพวกเขาก็กลายเป็นเพื่อนร่วมค่ายกับพนมทวนเล็ก ห้าพลัง ซึ่งเป็นยอดมวยเข่าเช่นเดียวกับพวกเขา ทั้ง 3 คนยังใช้ชื่อ ส.ศิรินันท์ ของ สมชาย ดวงประเสริฐดี หรือ เฮียกวง และค่าย ส.ธนิกุล ของแคล้ว ธนิกุล หรือ เฮียเหลา แต่ส่วนใหญ่จะฝึกที่ค่ายห้าพลัง[1][9] ในปี 2528 ฉมวกเพชร คว้ารางวัลนักมวยยอดเยี่ยมแห่งปีของสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย[10]

เขาเผชิญหน้ากับคู่ต่อสู้ที่ดีที่สุดในรุ่นน้ำหนักที่เขาอยู่อย่างต่อเนื่อง[11] เช่น 2 พี่น้อง สามารถ และก้องธรณี พยัคฆ์อรุณ, โอเล่ห์ เกียรติวันเวย์, หมัดสากเหล็ก สำราญศักดิ์ เมืองสุรินทร์, เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง, หมัด 33 วิ วังจั่นน้อย ส.พลังชัย ฯลฯ ในการชกไฟต์แรกกับขุนเข่าไร้น้ำใจ หลังสวน พันธ์ยุทธภูมิ ในศึกวันทรงชัย เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2531 ที่สนามมวยลุมพินี ชัยวัฒน์ “โหงว” พลังวัฒนะกิจ หรือ “โหงว ห้าพลัง” ผู้จัดการของเขาถูกยิงเสียชีวิตขณะชมเขาชก[12]

หลังจากแขวนนวม ฉมวกเพชร ได้ก่อตั้งยิมมวยไทยในโตเกียว และกลายเป็นผู้ฝึกสอนมวยไทยที่มีชื่อเสียงในประเทศ พร้อมด้วยอดีตนักมวยไทยอีกหลายคน[11][8] เขาชกในระบบการให้คะแนนและกติกาของมวยไทย อย่างน้อย 200 ไฟต์[13][7]

เกียรติประวัติ แก้

  • แชมป์มวยไทย
    • แชมป์มวยไทยเวทีมวยลุมพินีรุ่นพินเวท ชนะคะแนน สามารถ พยัคฆ์อรุณ เมื่อ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2523
    • แชมป์มวยไทยเวทีมวยราชดำเนินรุ่นมินิมั่มเวท ชนะคะแนน เขี้ยวพิษ ชูวัฒนะเมื่อ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2523
    • แชมป์มวยไทยเวทีมวยลุมพินีรุ่นมินิมั่มเวท ชนะคะแนน น่ารัก ศิษย์ไกรสีห์ เมื่อ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2524
    • แชมป์มวยไทยเวทีมวยลุมพินีรุ่นฟลายเวท ชนะคะแนน ก้องธรณี พยัคฆ์อรุณ เมื่อ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2525
    • แชมป์มวยไทยเวทีมวยลุมพินีรุ่นแบนตัมเวท ชนะคะแนน ศรศิลป์ ศิษย์เนินพะยอม เมื่อ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2526
    • แชมป์มวยไทยเวทีมวยราชดำเนินรุ่นซูเปอร์แบนตั้มเวท ชนะคะแนน วันพิชิต แก่นนรสิงห์ เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 และได้ครองแชมป์เส้นนี้อีกสมัยเมื่อ 30 มีนาคม พ.ศ. 2537 ชนะคะแนน ไผ่แดง เลอศักดิ์ยิม
    • แชมป์มวยไทยเวทีมวยราชดำเนินรุ่นเฟเธอร์เวท ชนะคะแนน แจ๊ค เกียรตินิวัฒน์ เมื่อ 29 มีนาคม พ.ศ. 2533 และได้ครองแชมป์เส้นนี้อีกสมัยเมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ชนะน็อค ชาญเดช เกียรติชัยสิงห์ ยก 3
  • แชมป์ PABA รุ่นเฟเธอร์เวท
    • ชิง 1 พฤษภาคม 2540 ชนะคะแนน เบนจี้ ดูรัน (ฟิลิปปินส์) ที่ เวทีมวยราชดำเนิน แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 24 กรกฎาคม 2540 ชนะน็อค เซลวิน เคอร์รี่ (ออสเตรเลีย) ยก 11 ที่ โรงเรียนปากเกร็ด ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 23 ตุลาคม 2540 ชนะคะแนน เซริกซาน เอซมากัมเบตอฟ (คาซัคสถาน) ที่ พระรามเก้า พลาซ่า สาขาพระราม 3 แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 18 มกราคม 2541 ชนะน็อค การ์รี่ กาเรย์ (ฟิลิปปินส์) ยก 7 ที่ จ.เพชรบุรี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 6 เมษายน 2541 ชนะน็อค ร็อบบี้ ราแฮมเมตัน (อินโด) ยก 5 ที่ จ.ราชบุรี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 5, 28 สิงหาคม 2541 ชนะน็อค ปาร์ค ยังซู (เกาหลีใต้) ยก 2 ที่ จ.ราชบุรี
    • กันยายน 2541 สละแชมป์
  • นักมวยไทยยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2528

ชื่อในการชกมวยอื่น ๆ แก้

  • ฉมวกเพชร ห้าพลัง
  • ฉมวกเพชร ส.ศิรินันท์

(มวยไทย)

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Dieselnoi Walks Us Through Muay Thai History | All the Great Fighters of Thailand". Muay Thai Blog & Journalism | Sylvie von Duuglas-Ittu (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-12-13.
  2. Rattanachanta, Tassanathep (15 Aug 2022). "ราชาเข็มขัด : ฉมวกเพชร ห้าพลัง ยอดมวยราชดำเนินผู้ไร้เทียมทานจนได้ฉายา "พ่อบานไม่รู้โรย" | Main Stand". Mainstand. สืบค้นเมื่อ 2023-12-13.
  3. 3.0 3.1 ยกที 6 [Round 6] (Television production) (ภาษาThai). Channel 7 (Thailand). 1995.{{cite AV media}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  4. von Duuglas-Ittu, Sylvie; Bootdee, Vichean (Apr 11, 2020), Chamuakpet Hapalang - Evil Vertical Knee and Rising Up | Muay Thai Library (trailer) (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2023-12-29
  5. 5.0 5.1 "English trans: Paidaeng Lergsakgym vs Chamuakpet Hapalong 1994 | 122 lb Rajadamnern Belt", Yod Muay Ek (ภาษาThai), May 26, 2020, สืบค้นเมื่อ 2023-12-29{{citation}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  6. "ฉมวกเพชร ธ.ยืนยง ปะทะ แจก เกียรตินิวัฒน" [Chamuakpet Thor.Yinyong vs. Jack Kiatniwat], Yod Muay Ek (ภาษาThai), สืบค้นเมื่อ 2023-12-29{{citation}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 ฉมวกเพชร ห้าพลัง-พ่อบานไม่รู้โรย. Sportclassic (ภาษาthai). 2013-09-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-04. สืบค้นเมื่อ 2017-11-05.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 Trefeu, Serge (2012-01-01). "CHAMUAKPET HA PHALANG". SIAM FIGHT MAG (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-12-13.
  9. von Duuglass-Ittu, Sylvie; von Duuglass-Ittu, Kevin (Apr 8, 2020), Watch With Me - Chamuakpet vs Langsuan 2x and the Murder at the Ring (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2023-12-29
  10. Trefeu, Serge (2013-05-25). "THE TROPHIES OF MUAY THAI IN THAILAND". SIAM FIGHT MAG (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-12-29.
  11. 11.0 11.1 123 Greatest Muay Thai Fighters of All-time (ภาษาThai). Thai: Yod Muay Muang Siam. 2014. p. 155. สืบค้นเมื่อ 2 September 2021.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  12. ปิดฉาก "จุงไช้" มังกรเยาวราชมือพิฆาต "ซิตี๋" คู่บารมี "เฮียเหลา". Manager Online (ภาษาthai). 2014-10-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-01. สืบค้นเมื่อ 2017-11-06.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  13. เสือเหลือง. ฉีกซองตอบปัญหามวยโลก. นิตยสารมวยโลก. ปีที่ 23 ฉบับที่ 1427 11-17 มกราคม พ.ศ. 2557. หน้า 58-59 (ในภาษาไทย)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้