ฉนวนกาซา

ดินแดนปกครองตนเองของปาเลสไตน์ที่ติดกับอียิปต์และอิสราเอล

ฉนวนกาซา (อังกฤษ: Gaza Strip; อาหรับ: قِطَاعُ غَزَّةَ, [qi.tˤaːʕ ɣaz.zah]; ฮีบรู: רצועת עזה, [r'tsu'at 'áza]) เรียกสั้น ๆ ว่า กาซา เป็นดินแดนแทรกของปาเลสไตน์ที่ชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน[3][4] มีชายแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ติดกับอียิปต์ และทางตะวันออกกับเหนือติดกับอิสราเอล ฉนวนกาซากับเวสต์แบงก์เป็นดินแดนที่อ้างสิทธิ์โดยรัฐปาเลสไตน์โดยนิตินัย

ฉนวนกาซา

قِطَاعُ غَزَّةَ
Qiṭāʿu Ġazzah
ธงชาติฉนวนกาซา
ธงชาติปาเลสไตน์
ที่ตั้งของฉนวนกาซา
สถานะ
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
นครกาซา
31°31′N 34°27′E / 31.517°N 34.450°E / 31.517; 34.450
ภาษาราชการอาหรับ
กลุ่มชาติพันธุ์
ชาวปาเลสไตน์
พื้นที่
• รวม
365 ตารางกิโลเมตร (141 ตารางไมล์)
ประชากร
• 2020 ประมาณ
2,047,969[2]
5,046 ต่อตารางกิโลเมตร (13,069.1 ต่อตารางไมล์)
สกุลเงิน
เขตเวลาUTC+2 (เวลามาตรฐานปาเลสไตน์)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+3 (เวลาออมแสงปาเลสไตน์)
รหัสโทรศัพท์+970
รหัส ISO 3166PS
  1. มีรัฐสมาชิกของสหประชาชาติ 138 ประเทศกับสันตะสำนักที่ยอมรับรัฐปาเลสไตน์
  2. ใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1986; ในประเทศอิสราเอล ใช้แทนที่เชเกลเก่าอิสราเอล (1980–1985) และลีราอิสราเอล (1967–1980)

ดินแดนนี้มีความยาว 41 กิโลเมตร (25 ไมล์) กว้าง 6 ถึง 12 กิโลเมตร (3.7 ถึง 7.5 ไมล์) และมีพื้นที่รวม 365 ตารางกิโลเมตร (141 ตารางไมล์)[5][6] ซึ่งมีประชากรชาวปาเลสไตน์ประมาณ 1.85 ล้านคน[7] ในพื้นที่ 362 ตารางกิโลเมตร ทำให้เป็นพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นมากเป็นอันดับ 3 ของโลก[8][9] กาซามีอัตราการเติบโตของประชากรรายปีที่ 2.91% (ประมาณ ค.ศ. 2014) ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 13 ของโลก และมักระบุว่าแออัดเกินไป[6][10]

ปัจจุบันยังไม่มีชาติใดให้การรับรองฉนวนกาซาว่าเป็นดินแดนที่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง บางส่วนได้ถือว่าฉนวนกาซาเป็นดินแดนภายใต้การปกครองของอิสราเอล ซึ่งอิสราเอลได้ให้การปฏิเสธหลังจากถอนทหารไปเมื่อ ค.ศ. 2005 อย่างไรก็ตามอิสราเอลได้ควบคุมการเข้าออกฉนวนกาซาทั้งทางน้ำและทางอากาศ

ภูมิศาสตร์ แก้

ในทางภูมิศาสตร์ ฉนวนกาซาถือเป็นดินแดนของปาเลสไตน์ โดยมีอาณาเขตทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นความยาวประมาณ 11 กิโลเมตรติดกับประเทศอียิปต์ ทางเหนือและตะวันออกติดกับประเทศอิสราเอลเป็นระยะทางราว 51 กิโลเมตร ทางตะวันตกติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นระยะทางชายฝั่งประมาณ 41 กิโลเมตร

สภาพภูมิอากาศในบริเวณนี้มีความชื้นในอากาศต่ำ และมีช่วงฤดูหนาวที่ค่อนข้างอุ่น และฤดูร้อนอาจจะส่งผลรุนแรงถึงวิกฤตการณ์ภัยแล้งได้ ด้านทรัพยากรณ์ธรรมชาติ รวมถึงพื้นแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก (ประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด) และไม่นานนี้ได้มีการขุดพบก๊าซธรรมชาติด้วย

ประวัติศาสตร์ แก้

พรมแดนของฉนวนกาซาถูกแบ่งโดยกองกำลังป้องกันอิสราเอลและอียิปต์หลังจากสงครามอาหรับ-อิสราเอล ค.ศ. 1948 ซึ่งส่งผลทีหลังให้สหราชอาณาจักรเลิกการครอบครองปาเลสไตน์ หลังจากนั้นฉนวนกาซาถูกปกครองโดยอียิปต์ (อิสราเอลได้ครอบครองเป็นเวลาสั้นๆ คือ 4 เดือน ในช่วงวิกฤตการณ์คลองสุเอซ) แต่เมื่ออิสราเอลชนะสงครามหกวัน ใน ค.ศ. 1967 ฉนวนกาซาเป็นหนึ่งในดินแดนที่อียิปต์เสียให้อิสราเอล

ค.ศ. 1993 อิสราเอลและปาเลสไตน์ได้ตกลงกันเซ็นสนธิสัญญาออสโล ซึ่งมีใจความว่าอนุญาตให้ชาวปาเลสไตน์มีอำนาจในการปกครองตัวเอง (อย่างจำกัด) ในเขตฉนวนกาซา ใน ค.ศ. 2005 ภายใต้การนำของประธานาธิบดีอาเรียล ชารอน อิสราเอลได้ดำเนินการถอนทหารและประชาชนชาวอิสราเอล ที่อาศัยอยู่ในฉนวนกาซาทั้งหมด ซึ่งหมายถึงการหมดอำนาจปกครองของอิสราเอลที่ยาวนานมาถึง 36 ปี

ปัจจุบันอิสราเอลยังควบคุมการเข้าออกฉนวนกาซาจากภายนอก ส่วนสถานะทางการเมืองระหว่างประเทศของฉนวนกาซายังไม่ได้ข้อยุติ โดยสามารถมองได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนของชาวปาเลสไตน์ ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 มีชาวปาเลสไตน์ เสียชีวิต 55 คน จากการประท้วงครั้งใหญ่[11]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Mideast accord: the overview; Rabin and Arafat sign accord ending Israel's 27-year hold on Jericho and the Gaza Strip". Chris Hedges, New York Times, 5 May 1994.
  2. "الجهاز المركزي للاحصاء الفلسطيني | المؤشرات". pcbs.gov.ps.
  3. "Israel-Palestinian conflict: Life in the Gaza Strip". BBC News. 20 May 2021. an enclave bounded by the Mediterranean Sea, Israel and Egypt.
  4. James Kraska, 'Rule Selection in the Case of Israel's Blockade of Gaza:Law of Naval Warfare or Law of Sea?,' in M.N. Schmitt, Louise Arimatsu, Tim McCormack (eds.,) Yearbook of International Humanitarian Law, Springer Science & Business Media, 2011 pp.367–395, p.387:'There are no Israeli troops in Gaza, which everybody regards as a self-governing enclave cut from the Middle East.'
  5. Arnon, Arie (Autumn 2007). "Israeli Policy towards the Occupied Palestinian Territories: The Economic Dimension, 1967–2007" (PDF). Middle East Journal. 61 (4): 575. doi:10.3751/61.4.11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-06-30.
  6. 6.0 6.1 Gaza Strip Entry at the CIA World Factbook
  7. "Table 3: Projected Population in the State of Palestine by Governorate, End Year 2015. PCBS, Palestinians at the End of 2015, p. 36" (PDF).
  8. Thomas E. Copeland, Drawing a Line in the Sea: The Gaza Flotilla Incident and the Israeli-Palestinian Conflict, Lexington Books, 2011 p.25
  9. Doug Suisman, Steven Simon, Glenn Robinson, C. Ross Anthony, Michael Schoenbaum (eds.) The Arc: A Formal Structure for a Palestinian State, Rand Corporation, 2007 p.79
  10. The Palestinians: In Search of a Just Peace – Page 52, Cheryl Rubenberg – 2003
  11. 70 ปี อิสราเอล: ตายแล้ว 55 ประท้วงเปิดสถานทูตสหรัฐฯ ในเยรูซาเลมวันก่อตั้งประเทศ

แหล่งข้อมูลอื่น แก้