จุด 45×90 เป็นพิกัดบนโลกที่เป็นครึ่งทางระหว่างขั้วโลก เส้นศูนย์สูตร เส้นเมริเดียนแรก และเส้นเมริเดียนที่ 180 องศา

จุด 45×90ตั้งอยู่ในโลก
จุด 45×90
จุด 45×90
จุด 45×90
จุด 45×90
จุด 45×90 แบนแผนที่โลก
จุดตั้งดั้งเดิมของจุด 45×90 ในอเมริกาเหนือ ต่อมาเครื่องหมายดังกล่าวถูกแก้ไขเพื่อแจ้งว่าจุดที่แท้จริงนั้นอยู่ห่างไปประมาณ 324 m (1,063 ft) ไปทางด้านซ้ายหลังของจุดเดิม
ภาพถ่ายใกล้ของหมุดตั้งจุดที่ผิดพลาดในเคาน์ตีมาราทอน รัฐวิสคอนซิน สหรัฐ

45° เหนือ 90° ตะวันตก แก้

จุด 45°0′0″N 90°0′0″W / 45.00000°N 90.00000°W / 45.00000; -90.00000 เป็นจุดที่มีชื่อเสียงและมีผู้เข้าเยี่ยมชมมากที่สุด ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 410 m (1,345 ft) ในเมืองริตบร็อก รัฐวิสคอนซิน ใกล้กับเมือง Poniatowski ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่มีผู้ปกครองจากรัฐ เดิมมีการวางหมุดตั้งไว้ที่หนึ่งโดยทางคณะกรรมการอุทยานของเคาน์ตีมาราทอน จากในนั้นปี ค.ศ. 2017 (พ.ศ. 2560) มีการถอนหมุดออกจากที่เดิมและนำไปตั้งบนพื้นที่ที่ถูกต้อง[1] และเปิดให้เข้าชมได้อีกครั้งในวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 2017 (พ.ศ. 2560)[2]

จุดดังกล่าวได้กลายเป็นที่รู้จักจากทาเวิร์นของจอห์น เรย์มอนด์ เจสิซกี ซึ่งตั้งในเมือง Poniatowski ที่เขามีส่วนร่วมในการจัดตั้งจากการค้นพบจุดดังกล่าว[3] โดยพวกเขาไปขายเสื้อยืด 45×90 และลงทะเบียนผู้เยี่ยมชมเป็นสมาชิกของชมรม 45×90 ของเขาอีกด้วย[3] นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) สำนักการประชุมและเยี่ยมชมวิสคอนซินวอซอ/เซนทรัลได้ขอยืมหนังสือลงทะเบียนสมาชิกชมรม 45×90 จากทายาทของจอห์น[4] ทั้งนี้หากได้เข้าเป็นสมาชิกของชมรมดังกล่าว ทางสำนักฯ จะมอบเหรียญทีระลึกให้แก่สมาชิกใหม่

45° เหนือ 90° ตะวันออก แก้

อีกจุดหนึ่งของจุด 45×90 ตั้งอยู่บนพิกัด 45°0′0″N 90°0′0″E / 45.00000°N 90.00000°E / 45.00000; 90.00000 เหนือระดับน้ำทะเล 1,009 m (3,311 ft) โดยจุดนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่ถูกละทิ้งในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ของจีน ใกล้กับเขตแดนมองโกเลีย โดยห่างจากอุรุมชีประมาณ 240 km (150 mi) ไปทางทิศตะวันอกเฉียงเหนือโดยการดำเนินการของรัฐ จุดนี้อยู่บนเขตแดนของมณฑลชีไทและชิงจิว เกร็ก ไมเคิลส์ ชาวอเมริกัน และรูรองเจา พนักงานขับรถแท็กซี่จากเมืองที่ใกล้กันกับชีไท ได้เดินทางไปถึงจุดดังกล่าวโดยตัวเองเป็นระยะทาง 110 กิโลเมตรไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในวันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) และบันทึกการเดินทางครั้งนี้ใน Degree Confluence Project[5] โดยการเดินทางครั้งนี้เขาไปค้นพบจุดดังกล่าวโดยที่ไม่มีหมุดหมายหรือสัญลักษณ์กายภาพใด ๆ แสดงให้เห็นเลย

45° ใต้ 90° ตะวันออก แก้

 
การค้นหาเครื่องบินมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370นั้นได้ค้นหาในจุดที่ใกล้กับจุด 45° ใต้ 90° ตะวันออก จากภาพที่จุดที่ใกล้เคียงที่สุดคือจุดสีแดง ระบุชื่อ Gaofen 1 ในบริเวณมุมซ้ายล่าง

จุดนี้ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ พิกัด 45°0′0″S 90°0′0″E / 45.00000°S 90.00000°E / -45.00000; 90.00000 อยู่ลึกลงไปจากระดับน้ำทะเล 3,197 m (10,489 ft) ห่างจากเกาะแซ็งปอลซึ่งไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ 1,244 km (773 mi)ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ห่างจากแหลมอีเลเฟนต์บนเกาะเฮิร์ด 1,480 km (920 mi)ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ห่างจากปอโรฟร็องแซในหมู่เกาะแกร์เกแลน 1,569 km (975 mi)ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ห่างจากทวีปแอนตาร์กติกา 2,425 km (1,507 mi)ไปทางทิศใต้ ห่างจากแผ่นดินเมืองออกัสตา รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียซึ่งเป็นเขตที่ผู้คนอาศัยอยู่ที่ใกล้ที่สุด 2,448 km (1,521 mi)ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากเกาะเรอูเนียง 4,080 km (2,535 mi)ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ห่างจากทางตอนตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเบงเกอร์รา ประเทศโมแซมบิก 5,550 km (3,450 mi) และห่างจากทางตะวันออกเฉียงใต้ของหาดมอสเซล แอฟริกาใต้ 5,800 km (3,600 mi)

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557) มีการค้นหาเครื่องบินมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370ที่สูญหายไปในบริเวณมหาสมุทรอินเดียตอนใต้หลังจากมีการพบเจอภาพสิ่งคล้ายซากเครื่องบินโดยดาวเทียมที่บริเวณจุดกึ่งกลางของพิกัด 45° ใต้ 90° ตะวันออก[6][7]

45° ใต้ 90° ตะวันตก แก้

เป็นจุดที่ตั้งทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากทางตอนตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง Guaitecas ของชิลี 1,297 km (806 mi) และอยู่เหนือทวีปแอนตาร์กติกา 3,070 km (1,910 mi) พื้นผิวของพิกัด 45°0′0″S 90°0′0″W / 45.00000°S 90.00000°W / -45.00000; -90.00000 ตั้งอยู่ลึกใต้ระดับน้ำทะเล 4,180 m (13,730 ft)

ดูเพิ่มเติม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "45 X 90 Geographical Marker". Atlas Obscura (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-11-04.
  2. "45 X 90 Geographical Marker". Atlas Obscura (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-11-04.
  3. 3.0 3.1 Hart, Bill. "Gesicki, John Raymond". Marathon County Historical Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 24 March 2014.
  4. "Center of the Northwest Hemisphere". Attractions & Landmarks. City of Wausau, Wisconsin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-10. สืบค้นเมื่อ 24 March 2014.
  5. "45°N 90°E". Degree Confluence Project. 13 April 2004. สืบค้นเมื่อ 24 March 2014.
  6. "Malaysia plane search: China checks new 'debris' image". BBC News. 22 March 2014. สืบค้นเมื่อ 24 March 2014.
  7. Murdoch, Lindsay (22 March 2014). "Missing Malaysia Airlines flight MH370: Floating debris spotted by Chinese satellite image". The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 24 March 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้