จารุพรรณ กุลดิลก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จารุพรรณ กุลดิลก อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตรองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็น บุตรสาว ของพลตำรวจโท ชัจจ์ กุลดิลก

จารุพรรณ กุลดิลก
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 สิงหาคม พ.ศ. 2516 (50 ปี)
พรรคการเมืองเพื่อไทย

ประวัติ แก้

จารุพรรณ กุลดิลก จบการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) สาขาวิศวกรรมเคมี จากมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับปริญญาโททางด้านวิศวกรรมเคมี จากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม สหราชอาณาจักร และปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพและเทคโนโลยีอาหาร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี

การทำงาน แก้

ดร.จารุพรรณ กุลดิลก เคยรับราชการเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในระหว่างปี พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2552 โดยมีตำแหน่งทางวิชาการสูงสุดเป็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นอกจากนั้นแล้วยังได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารในตำแหน่งผู้ช่วยคณบดี ในระหว่างปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2549 และเป็นรองคณบดี ในระหว่างปี พ.ศ. 2549 ถึง พ.ศ. 2551 [ต้องการอ้างอิง]ต่อมาจึงได้ลาออกจากราชการ และเข้าสู่งานการเมืองโดยการร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ดร.จารุพรรณ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 56[1] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก

ในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เขากล่าวว่าคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลุแก่อำนาจ[2]

ในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เขาถูกคณะรักษาความสงบแห่งชาติออกคำสั่งที่ 14/2557 ให้ไปรายงานตัว[3]

นอกจากงานวิชาการ และงานการเมือง ดร.จารุพรรณ ได้ทำงานเป็นนักเขียน และนักจัดรายการวิทยุ มีผลงานอาทิ คอลัมภ์จิตวิวัฒน์ หนังสือพิมพ์มติชน คอลัมภ์พรมแดนแห่งความรู้ เครือข่ายจิตตปัญญาศึกษา รายการวิทยุชุมชนคนแท๊กซี่ รายการวิทยุชุมชนเสียงคนไทย เป็นวิทยากรรายการ มหาประชาชน People Channel และเป็นวิทยากรรายการ ที่นี่ความจริง Asia Update

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 49[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

รางวัล แก้

  • พ.ศ. 2541 - 2543 Doctoral Fellowship, EU-Commission on Food Technology Project, Berlin University of Technology
  • พ.ศ. 2537 - 2538 Reseach Fellowship, The University of Birmingham, UK

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  2. http://shows.voicetv.co.th/hot-topic/41040.html?page=20[ลิงก์เสีย]
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/090/1.PDF
  4. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๘๐, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑๔๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕

แหล่งข้อมูลอื่น แก้