จัดสัน เวลลิเวอร์

จัดสัน เชอร์ชิลล์ เวลลิเวอร์ (Judson Welliver, ค.ศ. 1870-1943) เป็น "เสมียนวรรณกรรม" ให้กับประธานาธิบดี วาร์เรน จี. ฮาร์ดิง และมักจะได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นผู้เขียนคำสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนแรก[1][note 1]

จัดสัน ซี. เวลลิเวอร์
เกิด13 สิงหาคม ค.ศ. 1870(1870-08-13)
เอลโด รัฐอิลลินอย
เสียชีวิต14 เมษายน ค.ศ. 1943(1943-04-14) (72 ปี)
ฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย
สัญชาติอเมริกัน
อาชีพนักหนังสือพิมพ์, ผู้เขียนคำสุนทรพจน์ประธานาธิบดีสหรัฐ
มีชื่อเสียงจากผู้เขียนคำสุนทรพจน์ประธานาธิบดีสหรัฐคนแรกอย่างแพร่หลาย

ประวัติ แก้

จัดสัน เวลลิเวอร์เกิดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1870 ในเอลโด รัฐอิลลินอย[2][3]

สมรสกับภรรยา เจน ดักลาส ฮัตชินส์ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1899 มีบุตรธิดาร่วมกันสี่คน ได้แก่ เอ็ดเวิร์ด เอ็ม., แอลเลน เจ., ซาราห์ เอช. และเจน ดักลาส[4]

ใน ค.ศ. 1909 เวลลิเวอร์ได้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันว่าเป็น "หนึ่งในนักหนังสือพิมพ์ที่มีความสามารถที่สุดคนหนึ่งในประเทศ"[3] เขาทำงานให้กับหนังสือพิมพ์หลายแห่งทั้งฟอร์ตดอดจ์เมสเซนเจอร์, ซูซิตีเจอร์นัล และดิมอยน์ลีดเดอร์ ก่อนที่จะรับตำแหน่งบรรณาธิการของซูซิตีทริบูน ซึ่งเขาได้ทำงานในตำแหน่งดังกล่าวเรื่อยมาจนถึง ค.ศ. 1904[3] ในปีนั้น เวลลิเวอร์ได้เข้าร่วมเป็นบุคลากรของวอชิงตันไทมส์ ที่ซึ่งเขาได้รับชื่อเสียงสำหรับการสนับสนุนแนวคิดพิพัฒนนิยมในสหรัฐ[3]

ใน ค.ศ. 1907 ประธานาธิบดีรูสเวลต์ส่งเขาไปรายงานระบบทางน้ำและทางรถไฟในยุโรปและบริเตนใหญ่[4] (รายงานดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1908) เขาได้รายงานข่าวในลอนดอนและทวีปยุโรปให้กับหนังสือพิมพ์นิวยอร์กซันระหว่าง ค.ศ. 1917-18[4]

เวลลิเวอร์ได้เป็นโฆษณาการให้กับฮาร์ดิงระหว่างการรณรงค์เลือกตั้งประธานาธิบดี ค.ศ. 1920 และเริ่มต้นทำงานเป็น "เสมียนวรรณกรรม" ให้กับประธานาธิบดีฮาร์ดิงตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1921[1][4] เวลลิเวอร์ถอนตัวจากตำแหน่งผู้เขียนคำสุนทรพจน์ที่ทำเนียบขาวเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1925 (สมัยที่แคลวิน คูลิดจ์ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี) และหันไปทำงานในสถาบันปิโตรเลียมอเมริกันด้วยค่าจ้างที่สูงกว่า[4][5] หลังจากได้ลาออกจากสถาบันใน ค.ศ. 1927 เวลลิเวอร์ได้ทำงานเป็นบรรณาธิการของวอชิงตัเฮโรลด์ใน ค.ศ. 1928[4] เขายังได้เป็นผู้ช่วยประธานพูลแมนคอมพานีระหว่าง ค.ศ. 1928-1931[4]

เวลลิเวอร์เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ในฟิลาเดลเฟีย เมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1943[4] ในวัย 72 ปี[6]

สมาคมจัดสัน เวลลิเวอร์ สโมสรสังคมสองพรรคอันประกอบด้วยอดีตผู้เขียนคำสุนทรพจน์ให้กับประธานาธิบดีสหรัฐ ตั้งชื่อตามเขาเพื่อเป็นเกียรติ[2]

เชิงอรรถ แก้

  1. บางคนอาจแย้งว่าอเล็กซานเดอร์ ฮามิลตัน เป็นผู้เขียนคำสุนทรพจน์ประธานาธิบดีคนแรก เนื่องจากเขาได้เขียนคำสุนทรพจน์ให้กับจอร์จ วอชิงตันอยู่บ้าง แต่ฮามิลตันเป็นสมาชิกคณะรัฐมนตรีมากกว่าจะเป็นบุคคลที่จ้างมาเพื่อทำหน้าที่เขียนคำสุนทรพจน์อย่างชัดเจน[2]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Donaldson-Evans, Catherine (May 12, 2005). "Different Writer, Same President". Fox News. สืบค้นเมื่อ December 24, 2010.
  2. 2.0 2.1 2.2 Hertzberg, Hendrik (2004). "In Praise of Judson Welliver". Politics: Obsevations & Arguments, 1966–2004. New York City: Penguin Press. pp. 106–107. ISBN 978-1-1012-0092-6.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Writers and Their Work". Hampton's Magazine. New York City. 23 (5): 725–726. November 1909. สืบค้นเมื่อ December 24, 2010.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 "Who's Who in America" (PDF). สืบค้นเมื่อ December 24, 2010.
  5. "THE PRESIDENCY: Mr. Coolidge's Week: Nov. 2, 1925". Time. November 2, 1925. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-06. สืบค้นเมื่อ December 24, 2010.
  6. "Milestones, Apr. 26, 1943". Time. April 26, 1943. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-21. สืบค้นเมื่อ December 24, 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้