จังหวัดเบงเก็ต (แม่แบบ:IPA-tl; อีบาโลอิ: Probinsya ne Benguet; อีโลกาโน: Probinsia ti Benguet; ปังกาซีนัน: Luyag na Benguet; ฟิลิปปินส์: Lalawigan ng Benguet) เป็นจังหวัดที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลและอยู่ทางใต้สุดของเขตบริหารคอร์ดิลเยรา เกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ เมืองหลักคือลาตรินิแดด

จังหวัดเบงเก็ต
จังหวัด
พื้นที่สูงในจังหวัดเบงเก็ต
พื้นที่สูงในจังหวัดเบงเก็ต
ธงของจังหวัดเบงเก็ต
ธง
สมญา: 
ชามสลัดแห่งฟิลิปปินส์[1][2]
ที่ตั้งในประเทศฟิลิปปินส์
ที่ตั้งในประเทศฟิลิปปินส์
ประเทศ ฟิลิปปินส์
เขตเขตบริหารคอร์ดิลเยรา
ก่อตั้งค.ศ. 1900
จัดตั้งเป็นจังหวัด16 มิถุนายน ค.ศ. 1966
เมืองหลักลาตรินิแดด
การปกครอง
 • ประเภทสภาจังหวัด
 • ผู้ว่าราชการจังหวัดCrescencio C. Pacalso Independent
 • รองผู้ว่าราชการจังหวัดFlorence Tingbaoen (LP)
พื้นที่[3]
 • ทั้งหมด2,769.08 ตร.กม. (1,069.15 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่47 จาก 81
 (ไม่นับรวมบาเกียว)
ความสูงจุดสูงสุด (ภูเขาปูลัก)2,926 เมตร (9,600 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2015)[4]
 • ทั้งหมด446,224 คน
 • อันดับ61 จาก 81
 • ความหนาแน่น160 คน/ตร.กม. (420 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่น55 จาก 81
 (ไม่นับรวมบาเกียว)
เขตการปกครอง
 • นครอิสระ1 (บาเกียว)
 • นคร0
 • เทศบาล13
 • บารังไกย์s140 (รวมบาเกียว: 269)
 • Districts
เขตเวลาUTC+8 (PST)
รหัสไปรษณีย์2600–2614
ไอดีดี:รหัสโทรศัพท์+63 (0)74
รหัส ISO 3166PH
ภาษา
เว็บไซต์benguet.gov.ph

พื้นที่สูงของจังหวัดนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็น ชามสลัดแห่งฟิลิปปินส์ เนื่องจากมีการปลูกผักบนที่สูงเป็นจำนวนมาก[1][2][5]

ภายในตัวจังหวัดมีนครที่มีความหนาแน่นแห่งหนึ่ง ชื่อว่า บาเกียว ซึ่งปกครองอย่างเป็นอิสระจากจังหวัด

ภูมิศาสตร์ แก้

จังหวัดเบงเก็ตมีพื้นที่ 2,769.08 ตารางกิโลเมตร (ถ้ารวมพื้นที่ของบาเกียวเข้าไปด้วย จะมีพื้นที่2,826.59 ตารางกิโลเมตร (1,091.35 ตารางไมล์)) อยู่ทางใต้สุดของเขตบริหารคอร์ดิลเยรา

จังหวัดมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดบูลูบุนดูคินและอีฟูเกาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับจังหวัดนูเอวาวิซคายาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ติดกับจังหวัดปังกาซีนันทางทิศใต้ ติดกับจังหวัดลาอูนยอนทางทิศตะวันตก และจังหวัดอีโลโคสซูร์ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

ภูมิลักษณ์ส่วนใหญ่เป็นภูเขา โดยมีภูเขาปูลักเป็นจุดสูงสุดของจังหวัดและเกาะ แม่น้ำสายสำคัญได้แก่ แม่น้ำอักโน, แม่น้ำอัมบูรายัน, แม่น้ำเบ็ด, แม่น้ำบากุน, แม่น้ำบาลีลี และแม่น้ำอาซิน ซึ่งแม่น้ำบางสายก็ไหลผ่านหุบเขา

ทะเลสาบทางธรรมชาติ ได้แก่ "ทะเลทั้งสี่" ในคาบายัน ซึ่งประกอบด้วยทะเลสาบบูลาลาเกา, ดาเตปเงโปส, อินโคโลส และตาเบโย[6]

ภูมิอากาศ แก้

จังหวัดเบงเก็ตมีอากาศที่เย็น อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 25.3 องศาเซลเซียส (77.5 องศาฟาเรนไฮต์) ในเดือนเมษายน และต่ำสุดอยู่ที่ 13.3 องศาเซลเซียส (55.9 องศาฟาเรนไฮต์) ในเดือนมกราคม[7]

จังหวัดมักประสบปัญหาการเพาะปลูกอันเนื่องมาจากน้ำค้างแข็งในช่วงเดือนหนาว ตั้งแต่ธันวาคมถึงมีนาคม โดยเฉพาะในเมืองที่อยู่ในระดับความสูงมาก อาทิ อาต็อก, บูกีอัส, มันกายัน และคิบุนกัน[8][9] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 เบงเก็ตประสบปัญหาเพาะปลูกมากที่สุด เนื่องจากอุณหภูมิลดต่ำเหลือเพียงแค่ 7 องศาเซลเซียส (45 องศาฟาเรนไฮต์)[10]

ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดเบงเก็ต
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 23.1
(73.6)
23.9
(75)
24.7
(76.5)
25.3
(77.5)
24.6
(76.3)
24.1
(75.4)
22.9
(73.2)
22.5
(72.5)
23
(73)
23.6
(74.5)
23.8
(74.8)
23.3
(73.9)
23.73
(74.72)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 13.3
(55.9)
13.9
(57)
14.8
(58.6)
16.2
(61.2)
16.7
(62.1)
16.6
(61.9)
16.4
(61.5)
16.6
(61.9)
16.3
(61.3)
16
(61)
15.5
(59.9)
14.2
(57.6)
15.54
(59.98)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 150.8
(5.937)
101.8
(4.008)
82.3
(3.24)
44.9
(1.768)
132.5
(5.217)
146
(5.75)
196.9
(7.752)
181.6
(7.15)
168.5
(6.634)
199.2
(7.843)
191.2
(7.528)
233.7
(9.201)
1,829.4
(72.024)
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 2 3 6 9 19 21 26 26 23 14 9 5 163
แหล่งที่มา 1: Storm247 (for average temperature and rainy days)[7]
แหล่งที่มา 2: WorldWeatherOnline (for average precipitation)[11]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Facts & Figures: Benguet Province". Philippine Statistics Authority - National Statistical Coordination Board - Cordillera Administrative Region. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-28. สืบค้นเมื่อ 9 October 2014.
  2. 2.0 2.1 "Cordillera Autonomous Region". It's More Fun in the Philippines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 9, 2013. สืบค้นเมื่อ September 17, 2014.
  3. "List of Provinces". PSGC Interactive. Makati, Philippines: National Statistical Coordination Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 19, 2016. สืบค้นเมื่อ March 5, 2020.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-10. สืบค้นเมื่อ 2018-03-28.
  5. Lancion, Conrado M. Jr.; de Guzman, Rey (cartography) (1995). "The Provinces". Fast Facts about Philippine Provinces (The 2000 Millenium ed.). Makati, Metro Manila: Tahanan Books. p. 38. ISBN 978-971-630-037-6. สืบค้นเมื่อ January 16, 2015.
  6. Aro, SC (25 October 2008). "Mt Pulag climb slated October 31-November 2". Philippine Information Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 29 February 2016. From Tawangan where the trekkers will spend the second night, they will visit the four mystic lakes namely Tabeyo, Bulalacao, Incolos, and Detepngepos described as icy cool and crystal clear water and lush green foliage that refreshes the soul.
  7. 7.0 7.1 "Weather forecast for Benguet, Philippines". Storm247. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-07. สืบค้นเมื่อ 29 January 2016. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Storm246-BenguetPH" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  8. Catajan, Maria Elena (2 January 2014). "Frost affects towns". Sun.Star Baguio. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-16. สืบค้นเมื่อ 17 September 2014.
  9. Quitasol, Kimberlie (3 January 2014). "Frost descends on Benguet farms". Philippine Daily Inquirer. สืบค้นเมื่อ 17 September 2014.
  10. Palangchao, Harley (2 February 2007). "Benguet Farmers Lose Crops to Frost". The Manila Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 17 September 2014.
  11. "Benguet Monthly Climate Average, Philippines". World Weather Online. สืบค้นเมื่อ 29 January 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

แผนที่พิกัดทั้งหมดใน "Benguet" กำลังใช้ OpenStreetMap 
ดาวน์โหลดพิกัดเป็น KML