จวงจื่อ (จีนตัวเต็ม: 莊子; จีนตัวย่อ: 庄子; พินอิน: Zhuāngzi; อังกฤษ: Zhuangzi) เป็นจอมปราชญ์จีน มีชีวิตเมื่อประมาณ 2,300 ปีที่ล่วงมา ตรงกับยุคจั้นกว๋อ (战国)ท่านเป็นปราชญ์ใหญ่ผู้รังสรรค์แนวคิดอมตะที่ถูกจัดอยู่ในสำนักคิดปรัชญาเต๋า(道家) เป็นปราชญ์รุ่นหลังเล่าจื๊อ (老子)ผู้รจนาคัมภีร์เต้าเต๋อจิง (แต้จิ๋ว: เต๋าเต็กเก็ง;จีนตัวย่อ:道德经)ได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในสามจอมปราชญ์แห่งสำนักคิดฝ่ายเต๋า จวงจื่อได้สืบทอดและพัฒนาต่อยอดแนวคิดของเล่าจื๊อ แนวคิดของท่านถูกรวบรวมไว้ในชื่อหนังสือ ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับท่าน คือ จวงจื่อ《庄子》

จวงจื่อ

ประวัติ แก้

จวงจื่อ (庄子)ปรมาจารย์ฝ่ายเต๋า ลำดับถัดมาจากท่านเล่าจื๊อ (老子)ประวัติของท่านจวงจื่อไม่มีบันทึกไว้ชัดแจ้ง นักวิชาการจีนบันทึกไว้ว่า น่าจะเกิดในราวปี 369 ก่อน ค.ศ. และตายในราวปี 286 ก่อน ค.ศ. จวงจื่อ แซ่จวง ชื่อเดิมโจว(周)ชาวรัฐซ่ง (宋)มีชื่อเสียงในการเป็นนักคิด(思想家) นักปรัชญา (哲学家)และนักเขียน(文学家) เคยรับราชการตำแหน่งเล็กๆดูแลสวนต้นรัก ไม่นานก็ลาออก เป็นปราชญ์ฐานะยากจน แต่มีความสุขสงบใจ มีความเป็นอิสระเสรี ไม่ถูกผูกมัดจากกรอบของสังคมปุถุชน

แนวคิดสำคัญ แก้

ความอิสระเสรี อุดมคติครองชีวิตอย่างอิสรเสรีเป็นสิ่งที่จวงจื่อพัฒนาต่อยอดเพิ่มเติมจากท่านเล่าจื๊อ ในเต๋าเต็กเก็ง ภาวะ “อิสระเสรี” ของจวงจื่อ คล้ายกับภาวะ “ตื่นรู้บรรลุธรรม” ของนิกายเชน หรือภาวะ “พระอรหันต์” ของนิกายเถรวาท ภาวะอิสรเสรีเป็นมนุษย์ที่แท้ ภาวะหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง เมื่อหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงที่ปุถุชนเขามี เขาหลง เขายึดติด ชีวิตเราจึงมีเสรีภาพอย่างแท้จริง จวงจื่อสอนให้ล่องลอยไปตามครรลองของเต๋า (กฎธรรมชาติ) ตัวจวงจื่อเองก็ใช้ชีวิตอย่างสันโดษ โดยไปปลูกกระท่อมน้อยอยู่ในป่าใกล้เชิงเขาเสื้อผ้าขาดรองเท้าก็เป็นรูโหว่ จวงจื่อไม่เลือกชีวิตที่ร่ำรวย สูงศักดิ์ มีอำนาจ ท่านเลือกใช้ชีวิตสมถะ สันโดษ เพื่อที่จะมีอิสระเสรีตามวิถีธรรมชาติ

ไฟล์:Zhuangzi9.jpg
คำภีร์ของจวงจื่อ

ผลงาน แก้

"จวงจื่อ" 《庄子》ได้กลายเป็นหนึ่งในคัมภีร์อมตะแห่งลัทธิเต๋าอย่างเป็นทางการในราชวงศ์ถัง(ราวปี618-907) แนวการประพันธ์ของจวงจื่อ มักใช้รูปแบบเล่านิทานบรรยายอุดมคติของตน ทำให้ผู้อ่านเพลิดเพลินไปกับอารมณ์ของตนโดยไม่รู้สึกตัว กลวิธีการเขียนก็มีความพลิกแพลง ตื่นเต้น ลึกลับซับซ้อน เป็นหนึ่งในหนังสือที่เด่นที่สุดของหนังสือปรัชญาทั้งหลายในประวัติศาสตร์จีนและก็มีฐานะสำคัญในประวัติวรรณกรรมของจีน หนังสือเรื่อง "จวงจื่อ" ร่วมกับหนังสืออีกสองเรื่องได้แก่ "เต้าเต๋อจิง"《道德经》 หรือ "เล่าจื๊อ"《老子》และ"โจวอี้"หรือ"อี้จิง"《易经》รวมเป็นหนังสือสำคัญ 3 เล่มที่สะท้อนถึงคุณค่าของลัทธิเต๋า ซึ่งเป็นปรัชญาแนวธรรมชาตินิยมได้เป็นอย่างดีที่สุด

คัมภีร์จวงจื่อ แก้

หนังสือเรื่อง“จวงจื่อ” แบ่งเนื้อหาทั้งหมดเป็น 3 เล่ม ได้แก่ ความเรียงใน ความเรียงนอก และความเรียงปกิณกะ รวม 33 บทด้วยกัน ความเรียงในเป็นบทประพันธ์ของจวงจื้อ ส่วนความเรียงนอก และความเรียงปกิณกะ อาจเป็นบทประพันธ์ของลูกศิษย์และนักปราชญ์รุ่นหลัง

  • ความเรียงใน

1.อิสรจร (逍遙遊) 2.สรรพสิ่งคือหนึ่งเดียว(齊物論) 3.ความลับในการผดุงชีวิต(養生主) 4.โลกมนุษย์(人間世) 5.คุณธรรมที่แท้(德充符) 6.ปรมาจารย์ที่ยิ่งใหญ่(大宗師) 7.สิ่งที่คู่ควรกษัตริย์ราชา (應帝王)

  • ความเรียงนอก

8.พังผืดนิ้ว(駢拇) 9.เกือกเท้าม้า(馬蹄) 10.หีบสมบัติที่ถูกปล้นชิง(胠篋) 11.ปล่อยให้เป็นไป(在宥) 12.ฟ้าและดิน(天地) 13.วิถีแห่งฟ้า(天道) 14.วัฏจักรแห่งฟ้า(天運) 15.รั้งความปรารถนา(刻意) 16.ฟื้นธรรมชาติดั้งเดิม(繕性) 17.อุทกแห่งฤดูใบไม้ร่วง(秋水) 18.ความสุขที่แท้(至樂) 19.บำรุงเลี้ยงชีวิต(達生) 20.ไม้ใหญ่แห่งขุนเขา(山木) 21.เถียนจื่อฟัง(田子方) 22.ความรู้ท่องแดนเหนือ(知北遊)

  • ความเรียงปกิณกะ

23.เกิงซังฉู่(庚桑楚) 24.สีว์อู๋กุ่ย(徐無鬼) 25.เจ๋อหยัง(則陽) 26.สิ่งภายนอก(外物) 27.ถ้อยคำ(寓言) 28.สละราชบัลลังค์(讓王) 29.มหาโจรจื๋อ(盜跖) 30.กระบี่สามเล่ม(說劍) 31.ผู้เฒ่าหาปลา(漁父) 32.เลี่ยอี้ว์โค่ว(列禦寇) 33.ใต้หล้า(天下)

 
ตนฝันว่าเป็นผีเสื้อหรือตัวจวงจื่อกันแน่

ผลงานเด่น แก้

“จวงจื่อฝันเห็นผีเสื้อ” เป็นเรื่องที่จวงจื่อเล่าในหนังสือ《庄子》นั้น นับเป็นเรื่องที่คนรุ่นหลังนำมาอ้างอิงกันมากที่สุดเรื่องหนึ่ง กล่าว คือ”ครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้าฝันไปว่าเป็นผีเสื้อโบยบินไปมาอย่างสบายใจ ไม่มีความวิตกกังวลใดๆ ผีเสื้อตัวนี้ไม่รู้เลยว่า มันคือจวงโจว(ชื่อเดิมของจวงจื่อ) แต่แล้วในทันใดก็ตื่นขึ้นรู้สึกตัวว่า ตัวคือจวงโจว ข้าพเจ้ารู้สึกว่า เป็นการยากที่จะบอกได้ว่า ตนเองเป็นจวงโจวที่ฝันไปว่าเป็นผีเสื้อตัวนั้น หรือว่า ผีเสื้อตัวนั้นฝันไปว่า มันเป็นจวงโจว ระหว่างผีเสื้อกับจวงโจวนั้น จะต้องแตกต่างกันแน่ๆ ”

อ้างอิง แก้