งูทางมะพร้าวธรรมดา

งูทางมะพร้าวธรรมดา เป็นงูไม่มีพิษขนาดกลาง เป็นงูบกที่มีสีและลวดลายงดงาม มีนิสัยดุ เมื่อโดนรบกวนจะพองตัวและอ้าปาก พับตัวเข้าเพื่อเตรียมฉกสิ่งที่มารบกวน ซึ่งในบางครั้งก็จะแกล้งตายโดยการอ้าปากนอนหงายท้องและถ่ายอุจจาระออกมา ทำให้นักล่าหรือสิ่งที่มารบกวนเลิกสนใจ

งูทางมะพร้าวธรรมดา
C. radiatus ท่าทางข่มขู่
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: กิ้งก่าและงู
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์: วงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง
สกุล: Coelognathus
(F. Boie, 1827)[1]
สปีชีส์: Coelognathus radiatus
ชื่อทวินาม
Coelognathus radiatus
(F. Boie, 1827)[1]
ชื่อพ้อง
  • Coluber radiatus BOIE 1827
  • Coluber radiatus SCHLEGEL 1837: 135
  • Coluber quadrifasciatus CANTOR 1839
  • Tropidonotus quinque CANTOR 1839
  • Coelognathus radiata FITZINGER 1843
  • Elaphis radiatus DUMÉRIL 1853
  • Plagiodon radiata DUMÉRIL 1853
  • Compsosoma radiatum DUMÉRIL, BIBRON & DUMÉRIL 1854: 292
  • Elaphis (Compsosoma) radiatum BLEEKER 1857
  • Spilotes radiatus GÜNTHER 1858
  • Elaphis radiatus JAN 1863
  • Coluber radiatus BOULENGER 1894: 61
  • Coluber (Compsosoma) radiatus MÜLLER 1895: 203
  • Coluber radiatus WALL 1908: 327
  • Elaphe radiata BARBOUR 1912
  • Elaphe radiata POPE 1929
  • Coelognathus radiatus COCHRAN 1930
  • Elaphe radiata SMITH 1943
  • Elaphe radiata SCHULZ 1996: 219
  • Elaphe radiata MANTHEY & GROSSMANN 1997: 344
  • Elaphe radiata COX et al. 1998: 51
  • Elaphe radiata LAZELL et al. 1999
  • Elaphe radiata CHAN-ARD et al. 1999: 166
  • Coelognathus radiatus GUMPRECHT 2000
  • Coelognathus radiatus UTIGER et al. 2002
  • Elaphe radiata ZIEGLER 2002: 231
  • Coelognathus radiatus WINCHELL 2003
  • Coelognathus radiatus GUMPRECHT 2003
  • Elaphe radiata PAUWELS et al. 2003
  • Coelognathus radiata ZIEGLER et al. 2007
  • Elaphe radiatus MURTHY 2010

ลักษณะ แก้

ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเหลืองหรือสีน้ำตาลอมเทา มีลายเป็นทางยาวสีดำ 4 เส้นพาดจากส่วนคอแล้วค่อยๆจางไปทางกึ่งกลางลำตัว ส่วนหัวมีสีน้ำตาลแดง มีเส้นสีดำ 3 เส้นพาดแผ่เป็นรัศมีออกจากมุมตาด้านหลัง ลักษณะเด่นคือมักแกล้งทำเป็นตายเพื่อหลีกเลี่ยงศัตรูเมื่อสู้ไม่ไหว หรือขู่ศัตรูโดยการทำคอแบนเข้าทางด้านข้างและขยายกว้างเป็นทางยาว พร้อมกับยกหัวและส่วนต้นประมาณหนึ่งในสี่ของความยาวลำตัวให้สูงขึ้นเป็นวงโค้งเหมือนสปริง และพุ่งเข้าใส่ศัตรูอย่างว่องไวเพื่อฉกกัด แต่จะกัดไม่ค่อยโดน

การกระจายพันธุ์และอาหาร แก้

พบทั่วไปในประเทศไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม จีน ประเทศอินเดีย เนปาล ศรีลังกา บังคลาเทศ ภูฏานและบางส่วนของประเทศญี่ปุ่น อาหารของมันคือ หนู กบ นก กระรอก กระแต กิ้งก่า จิ้งจกและตุ๊กแก เป็นต้น

พฤติกรรมและการสืบพันธุ์ แก้

เป็นงูออกหากินในเวลากลางวันตามป่าหญ้ารกและบนต้นไม้ บางทีพบตามยุ้งข้าว บนบ้าน ปกติไม่ดุ ถ้าตกใจและเข้าใกล้จะแว้งกัด เวลาขู่จะพองหนังคออ้าปากดูน่ากลัว ผสมพันธุ์ช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนมกราคม หรือตลอดทั้งปี ออกลูกเป็นไข่ครั้งละ 5 – 12 ฟอง ช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกรกฎาคม และฟักเป็นตัวช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกันยายน ลูกงูแรกเกิดมีน้ำหนัก 11.0 – 12.4 กรัม และความยาว 44 – 46 เซนติเมตร  

สถานภาพปัจจุบัน แก้

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

อ้างอิง แก้

  1. https://www.biolib.cz/en/taxon/id58575/ (Retrieved Feb. 18, 2010.)