ในภาษาพูด ค่าเฉลี่ย คือตัวเลขหนึ่งตัวที่เป็นตัวแทนของรายการตัวเลขที่ไม่ว่าง ความหมายของค่าเฉลี่ยที่ต่างกันจะใช้ในบริบทที่ต่างกัน โดยส่วนมาก "ค่าเฉลี่ย" จะหมายถึงมัชฌิมเลขคณิต คือผลรวมของตัวเลขหารด้วยจำนวนตัวเลขที่นำมาเฉลี่ย ในสถิติศาสตร์ มัชฌิม มัธยฐาน และ ฐานนิยม ต่างเป็นการวัดแนวโน้มสู่ส่วนกลาง และหหการใช้ในภาษาพูดอันใดในนี้อาจเรียกว่า ค่าเฉลี่ย

สมบัติทั่วไป แก้

ถ้าตัวเลขทุกตัวเป็นเลขเดียวกัน แล้วค่าเฉลี่ยที่ได้จะเท่ากับตัวเลขนั้น สมบัตินี้มีอยู่ในค่าเฉลี่ยหลายชนิด

ชนิด แก้

มัชฌิมพีทาโกรัส แก้

มัชฌิมเลขคณิต มัชฌิมเรขาคณิต และมัชฌิมฮาร์มอนิก เรียกรวมกันว่า มัชฌิมพีทาโกรัส

มัชฌิมเลขคณิต แก้

ค่าเฉลี่ยที่ใช้กันทั่วไปคือมัชฌิมเลขคณิต ถ้ามีตัวเลข n ตัว และตัวเลขแต่ละตัวกำหนดให้เป็น ai (ที่ i = 1,2, ..., n) แล้วมัชฌิมเลขคณิตคือผลรวมของ ai หารด้วย n หรือ

 

มัชฌิมเลขคณิต หรือเรียกสั้นๆ ว่ามัชฌิม ของสองตัวเลข เช่น 2 และ 8 สามารถหาได้จากการหาค่าของ A ที่ 2 + 8 = A + A จะได้ A = (2 + 8)/2 = 5 สลับลำดับจาก 2 และ 8 เป็น 8 และ 2 จะไม่เปลี่ยนผลลัพท์ของค่า A มัชฌิม 5 จะไม่น้อยกว่าค่าน้อยสุด 2 และไม่มากกว่าค่าสูงสุด 8 ถ้าเราเพิ่มจำนวนในรายการเป็น 2, 8 และ 11 มัชฌิมเลขคณิตจะหาได้จากการแก้สมการหาค่า A ในสมการ 2 + 8 + 11 = A + A + A จะได้ A = (2 + 8 + 11)/3 = 7

มัชฌิมเรขาคณิต แก้

มัชฌิมเรขาคณิตของจำนวนบวก n ตัวหาได้จากการคูณตัวเลขทุกตัว แล้วถอดรากที่ n ในเชิงพีชคณิต มัชฌิมเรขาคณิตของ a1, a2, ..., an จะนิยามได้ว่า

 

มัชฌิมเรขาคณิตอาจคิดได้เป็นแอนติลอการิทึมของมัชฌิมเลขคณิตของลอการิทึมของตัวเลข

ตัวอย่าง: มัชฌิมเรขาคณิตของ 2 และ 8 คือ  

มัชฌิมฮาร์มอนิก แก้

มัชฌิมฮาร์มอนิกของรายการตัวเลขที่ไม่ว่าง a1, a2, ..., an ที่ไม่ใช่ 0 ถูกนิยามว่า ส่วนกลับของมัชฌิมเลขคณิตของส่วนกลับของ ai :

 

ตัวอย่างหนึ่งที่่มัชฌิมฮาร์มอนิกมีประโยชน์คือ เมื่อหาความเร็วของการขับรถที่มีระยะทางคงที่ เช่น ถ้าความเร็วจาก A ไป B คือ 60 km/h และความเร็วจาก B ไป A คือ 40 km/h แล้วความเร็วมัชฌิมฮาร์มอนิกคือ