คุรุนานักชยันตี

คุรุนานักเทพจีคุรปุรับ หรือชื่ออื่น ๆ เช่น ปรกาศอุตสัพแห่งคุรุนานัก และ คุรุนานักเทพจีชยันตี คือวันเฉลิมฉลองวันเกิดของคุรุซิกข์ท่านแรก คุรุนานักเทพ ศาสดาแรกของศาสนาซิกข์[1] ถือเป็นเทศกาลที่ชาวซิกข์และชุมชนศาสนาซิกข์ให้การเคารพบูชาสูงสุดเทศกาลหนึ่ง[2]

คุรุนานักเทพจีคุรปุรับ
ขบวนแห่เกี้ยวปัลกิ (Palki) ภายในตั้งคุรุครันถสาหิบ ในขบวนเทศกาลคุรุนานักคุรปุรับเมื่อปี ค.ศ. 2010 ที่เมืองปูเน รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย
ชื่อทางการคุรุนานักชยันตี
ชื่ออื่นปรกาศคุรุนานักเทพจี
จัดขึ้นโดยศาสนาซิกข์, สิกขิสิม และ นานักปันถิ
ความสำคัญชาตกาลของคุรุนานักเทพจี
การถือปฏิบัติเทศกาลเฉลิมฉลอง
วันที่Kartik Purnima

เทศกาลต่าง ๆ ในศาสนาซิกข์นั้นเกี่ยวข้องกับการครบรอบต่าง ๆ ของคุรุซิกข์ทั้ง 10 ท่าน ผู้มีส่วนสร้างความเชื่อซิกข์ให้เกิดเป็นรูปเป็นร่างขึ้น วันเกิดของคุรุซิกข์นั้นเรียกว่า “คุรปุรับ” ถือว่าเป็นโอกาสสำคัญที่จะเฉลิมฉลองและสวดภาวนากันในหมู่ซิกข์ คุรุนานัก ผู้ก่อตั้งศาสนาซิกข์ เกิดที่เมือง Rai-Bhoi-di Talwandi หรือในปัจจุบันตั้งอยู่ในคุรุนานกาสาหิบ อำเภอเศขูปุระ (Shekhupura District) ประเทศปากีสถาน[3] ในประเทศอินเดียกำหนดให้วันนี้เป็นวันหยุดในประเทศอินเดีย

ในภาอีพล ชนามสาขี (Bhai Bala Janamsakhi) ซึ่งเป็นที่ถกเถียงระบุว่าคุรุนานักเกิดในวันพระจันทร์เต็มดวง (ปุรนิมา) เดือนกติกตามปฏิทินจันทรคติอินเดีย[4] ชาวซิกข์เฉลิมฉลองคุรุนานักคุรปุรับในช่วงเดือนพฤศจิกายนด้วยเกตุที่กล่าวข้างต้น และปฏิบัติอย่างฝังแน่นในธรรมเนียมปฏิบัติซิกข์[1][5] อย่างไรก็ตามมีนักวิชาการและหน่วยงานบางส่วนเชื่อว่าวันเกิดของคุรุนานักควรจะเฉลิมฉลองในเทศกาลไวสาขี ซึ่งตรงกับวันที่ 14 เมษายน ตามปฏิทินนานักศาหิดั้งเดิม ซึ่งระบุไว้โดยศรีอกาลตัขต์ในปี 2003 อย่างไรก็ตามผู้คนและองค์กรจำนวนมากยังคงฉลองตามธรรมเนียมในวันพระจันทร์เต็มดวง (ปุรนิมา) ของเดือนการติก ตามประสงค์ของสันตะซิกข์หลายองค์[6]

เทศกาล แก้

 
คุรุทวารานานกานาสาหิบ ประเทศปากีสถาน ที่เกิดของคุรุนานัก

การเฉลิมฉลองโดยทั่วไปเหมือนกันหมดในชาวซิกข์ อาจมีเพลงสวดที่แตกต่างกันไป การเฉลิมฉลองมักเริ่มด้วย “ปรภัตเผริส“ (Prabhat Pheris) ซึ่งคือพิธีช่วงเช้าตรู่ จัดที่คุรุทวาราและขยายไปยังชุมชนโดยรอบขับร้องเพลงสวด โดยทั่วไปแล้วสองวันก่อนวันงานจะมีการ “อขันตปาถะ“ (Akhand Path) คือการอ่านคัมภีร์ศรีคุรุครันถสาหิบ ต่อเนื่องยาว 48 ชั่วโมงในคุรุทวารา

หนึ่งวันก่อนวันงานจะมีพิธีที่เรียกว่า “นครกิรตัน” (Nagarkirtan) [7] นำโดยปัญจปียาร์ (Panj Pyara)[8][9] เป็นผู้นำขบวนถือธงซิกข์ (ธงนิศานสาหิบ; Nishan Sahib) และแห่เกี้ยว (ปัลกิ; Palki) ที่ภายในตั้งคุรุครันถสาหิบ ตามด้วยขบวนนักขับร้องบทสวด[9] และศาสนิกชนร้องคอรัส ในขบวนยังมีวงเครื่องทองเหลือง และกลุ่ม “คัตกา” (Gatka) แสดงดาบ ศิลปะการป้องกันตัว และจำลองการทำศึกโดยใช้อาวุธแบบดั้งเดิม[8][7] ขบวนนี้มักแห่ไปตามถนนของเมือง ทางเดินที่ผ่านจะคลุมด้วยป้ายต่าง ๆ ประตูก็จะประดับด้วยธงและดอกไม้เพื่อเฉลิมฉลองโอกาสพิเศษนี้[8]

ในวันงานคุรปุรับ การเฉลิมฉลองเริ่มแต่เช้าตรู่ ราวตี 4-5[7][8] เวลาซึ่งเรียกว่าเป็นช่วง “อมฤตเวลา” (Amrit Vela) โดยเริ่มจากการขับร้องบทสวดตอนเช้า (อสา-กี-วาร์; Asaa-Ki-Vaar)[7][8] ตามด้วยรูปแบบต่าง ๆ ของ “กฐา” (Katha[7]; การนำคัมภีร์ออกมาแสดง) และ “กีรตัน” (Kirtan; บทสวดจากคัมภีร์) เพื่อสรรเสริญคุรุศาสดา[8] หลังจากนั้นจะมีการจัดอาหารมื้อกลางวันอย่างพิเศษให้กับชุมชนภายในลังเกอร์ (Langar) ในคุรุทวาราโดยจิตอาสา ภายใต้แนวคิดที่ว่าทุกคน ทุกเพศ ทุกชนชั้นวรรณะ[10] ควรจะได้รับอาหารด้วยจิตวิญญานของเสวา (Seva)

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Singh Purewal, Pal. "Birth Date of Guru Nanak Sahib" (PDF). Purewal's Page. Pal Singh Purewal. สืบค้นเมื่อ June 16, 2017.
  2. "Guru Nanak Sahib". SGPC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2012.
  3. "Guru Nanak Dev ji (1469–1539)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-30. สืบค้นเมื่อ 2019-11-09.
  4. Singh Mehboob, Harinder. As the Sun of Suns Rose: The Darkness of the Creeds Was Dispelled.
  5. Singh Purewal, Pal. "Movable Dates of Gurpurbs" (PDF). www.purewal.biz. www.purewal.biz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-22. สืบค้นเมื่อ 4 November 2017.
  6. "Sikhism Religion of the Sikh People". www.sikhs.org. sikhs.org. สืบค้นเมื่อ 22 November 2018.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 "GURPURBS". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 มิถุนายน 2009.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 "Gurpurab".
  9. 9.0 9.1 "Guru Nanak".
  10. "Guru Purab". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-24. สืบค้นเมื่อ 2019-11-12.