คืนมีดยาว (เยอรมัน: Nacht der langen Messer นัชแดร์ลังเงินเม็สเซอร์) ยังได้เป็นที่รู้จักกันคือ ปฏิบัติการโคลิบรี (เยอรมัน: Unternehmen Kolibri) หรือในเยอรมันเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กบฏเริม (Röhm Putsch) เป็นการกวาดล้างเมื่อเกิดขึ้นในนาซีเยอรมนี ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน ถึง 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 เมื่อพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมันหรือนาซีได้ดำเนินการของหนึ่งในกระทำการวิสามัญฆาตกรรมทางการเมืองด้วยวัตถุประสงค์ในการรวบรวมอำนาจเอาไว้อย่างเบ็ดเสร็จในเยอรมนีของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ จำนวนมากมายที่ถูกฆ่านั้นล้วนเป็นผู้นำระดับสูงของหน่วยชตวร์มอัพไทลุง(เอ็สอา) องค์กรกำลังกึ่งทหารของนาซี ที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า "พวกชุดกากี" เนื่องจากสีของชุดเครื่องแบบของพวกเขา เหยื่อที่ได้เป็นที่รู้จักกันดีของการกวาดล้างคือ แอนสท์ เริม ผู้นำของหน่วยเอ็สอาและเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนและพันธมิตรของฮิตเลอร์ สมาชิกชั้นนำของฝ่ายซ้าย ฝ่ายลัทธิชตรัสเซอร์ของพรรคนาซีพร้อมกับผู้นำในนามเกรกอร์ ชตรัสเซอร์ ได้ถูกสังหาร เช่นเดียวกับฝ่ายอนุรักษ์นิยมและฝ่ายต่อต้านนาซี เช่น อดีตนายกรัฐมนตรี พลเอกควร์ท ฟ็อน ชไลเชอร์ และนักการเมืองบาวาเรีย กุสทัฟ ริทเทอร์ ฟ็อน คาร์ ที่ได้ยับยั้งฮิตเลอร์ในช่วงกบฏโรงเบียร์ที่มิวนิก ในปี ค.ศ. 1923 การสังหารผู้นำเอ็สอายังได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงภาพลักษณ์ของรัฐบาลฮิตเลอร์ให้กับสาธารณชนเยอรมันที่วิกฤตอันตรายเพิ่มมากขึ้นของกลยุทธ์อันธพาลพวกชุดกากี

คืนมีดยาว
ชื่อพื้นเมือง Unternehmen Kolibri
ระยะเวลา30 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1934
ที่ตั้งนาซีเยอรมนี
ชื่ออื่นปฏิบัติการฮัมมิ่งเบิร์ด, การก่อกบฏเริม (โดยนาซี), การกวาดล้างเลือด
ประเภทรัฐประหาร และ การกวาดล้าง
สาเหตุความขัดแย้งระหว่างสตรัสเซริสท์และฮิตเลอร์
จัดโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์
โยเซฟ เกิบเบลส์
ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์
ไรน์ฮาร์ด ฮายดริช
ผู้เข้าร่วมชุทซ์ชตัฟเฟิล (ฝ่ายฮิตเลอร์)
ชตวร์มอัพไทลุง (ฝ่ายเริม)
ฝ่ายศัตรูทางการเมืองในระบบการปกครองที่ยังไม่ได้รวบรวมกัน
ผล
  • อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้ยึดกุมอำนาจได้อย่างเบ็ดเสร็จ
  • ฝ่ายศัตรูทางการเมืองของรัฐบาลนาซีถูกกวาดล้างหมดสิ้น
ความสูญเสีย
เสียชีวิตอย่างเป็นทางการ 85 คนและยอดรวมอาจสูงถึง 150-200 คน

ฮิตเลอร์ได้หันต่อต้านกับหน่วยเอ็สอาและผู้นำ แอนสท์ เริม เพราะเขาได้เห็นว่าความเป็นอิสระของหน่วยเอ็สอา และความนิยมของเหล่าสมาชิกในการใช้ความรุนแรงบนท้องถนนเป็นภัยคุกคามโดยตรงต่ออำนาจทางการเมืองที่เพิ่งได้รับมา ฮิตเลอร์ยังต้องการจะผูกมิตรกับผู้นำกองกำลังไรชส์แวร์ (กองกำลังป้องกันประเทศ) ซึ่งมีความหวาดกลัวและชิงชังต่อหน่วยเอ็สอา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเป้าหมายของเริมนั้นเพื่อรวมกองทัพไรชส์แวร์และหน่วยเอ็สอามาอยู่ภายใต้การนำของเขา นอกจากนี้ฮิตเลอร์เกิดความรู้สึกอึดอัดกับการให้การสนับสนุนอย่างเปิดเผยของเริมสำหรับ "การปฏิวัติครั้งที่สอง" เพื่อจัดสรรความมั่นคั่ง ในมุมมองของเริม การที่ประธานาธิบดีฮินเดินบวร์คได้แต่งตั้งให้ฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเยอรมัน เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1933 ได้สำเร็จอย่างลุล่วงในการปฏิวัติ "ชาตินิยม" แต่ยังไม่ได้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ทาง "สังคมนิยม" ของลัทธิชาติสังคมนิยม จนในที่สุด ฮิตเลอร์ได้ใช้การกวาดล้างเพื่อโจมตีหรือกำจัดนักวิจารณ์เยอรมันในระบอบใหม่ของเขา โดยเฉพาะผู้ที่ภักดีต่อรองนายกรัฐมนตรีฟรันทซ์ ฟ็อน พาเพิน เช่นเดียวกับการชำระแค้นกับศัตรูเก่า

อย่างน้อย 85 คนเสียชีวิตในช่วงการกวาดล้าง แม้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตในช่วงสุดท้ายอาจจะมีในจำนวนนับร้อย และบางประมาณได้ดำเนินสูงถึง 700 คน ถึง 1,000 คน[1] ฝ่ายตรงข้ามกว่าพันคนถูกจับกุม[2] การสังหารส่วนใหญ่ได้ถูกดำเนินโดยหน่วยชุทซ์ชตัฟเฟิล (เอ็สเอ็ส) และเกสตาโพ (ตำรวจลับของรัฐ) โดยมีกองกำลังไรชส์แวร์เป็นผู้อำนวยความสะดวก คืนมีดยาวยังเป็นจุดเริ่มต้นของระบอบกฎหมายนาซี เนื่องจากศาลเยอรมันและคณะรัฐมนตรีได้ทำลายกฎข้อห้ามวิสามัญฆาตกรรมที่อยู่มาหลายศตวรรษ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความจงรักภักดีของพวกเขาที่มีต่อระบอบการปกครอง คืนมีดยาวถือเป็นจุดหักเหต่อระบบรัฐบาลเยอรมัน[3] มีการสถาปนาฮิตเลอร์ให้เป็น "ผู้ทรงธรรมสูงสุดของประชาเยอรมัน" ในขณะที่เขาได้กล่าวสุนทรพจน์ที่อาคารรัฐสภาไรชส์ทาค การประกอบพิธีประทับตรารัฐสภาของไรช์ที่สาม ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1933 ถึง 1945

ก่อนที่จะมีการดำเนินการ นักวางแผนบางครั้งในการเรียกของการกวาดล้างว่า โคลิบรี (Kolibri "นกฮัมมิงเบิร์ด") รหัสนามที่ใช้ในการส่งทีมสังหารไปสู่การปฏิบัติของวันกวาดล้าง รหัสนามสำหรับปฏิบัติการดูเหมือนจะถูกเลือกโดยไร้เหตุผล คำว่า "คืนมีดยาว" ในภาษาเยอรมันได้เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการสังหารและอาจหมายถึงการกระทำของการชำระแค้น นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมันส่วนใหญ่ยังคงใช้คำว่า กบฏเริม เพื่อบรรยายการสังหาร คำศัพท์ที่กำหนดโดยระบอบนาซี แม้ว่าจะมีความหมายที่ไม่ได้รับการยืนยันว่าการประหารชีวิตนั้นมีความจำเป็นเพื่อป้องกันการก่อกบฏ ผู้เขียนมักใช้เครื่องหมายอัญประกาศหรือดเขียนเกี่ยวกับอัญประกาศ กบฏเริม ("เรียกว่า กบฏเริม") สำหรับการเน้นย้ำ

อ้างอิง แก้

  1. Larson, Erik (2011) In the Garden of Beasts New York: Broadway Paperbacks p. 314 ISBN 978-0-307-40885-3; citing:
    - memoranda in the W. E. Dodd papers;
    - Wheeler-Bennett, John W. (1953) The Nemesis of Power: The German Army in Politics 1918-1945, London: Macmillan p. 323;
    - Gallo, Max (1972) The Night of the Long Knives New York: Harper & Row, pp. 256, 258;
    - Rürup, Reinhard (ed.) (1996) Topography of Terror: SS, Gestapo and Reichssichherheitshauptamt on the "Prinz-Albrecht-Terrain", A Documentation Berlin: Verlag Willmuth Arenhovel, pp. 53, 223;
    - Kershaw Hubris p. 515;
    - Evans (2005), pp. 34–36;
    - Strasser, Otto and Stern, Michael (1943) Flight from Terror New York: Robert M. McBride, pp. 252, 263;
    - Gisevius, Hans Bernd (1947) To the Bitter End New York: Houghton Mifflin, p. 153;
    - Metcalfe, Phillip (1988) 1933 Sag Harbor, New York: Permanent Press, p. 269
  2. Evans 2005, p. 39.
  3. Johnson 1991, pp. 298–299.