คำพ้องเสียง (อังกฤษ: homophone) คือคำที่ออกเสียงเหมือนกัน (ในระดับต่าง ๆ) กับอีกคำหนึ่ง แต่มีความหมายต่างกัน คำพ้องเสียงอาจสะกดเหมือนกัน เช่น มัน ('คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง') และ มัน ('มีรสอย่างรสกะทิหรืออย่างถั่วลิสงคั่ว') หรือสะกดต่างกัน เช่น หาญ ('กล้า') และ หาร ('แบ่งส่วนเท่า ๆ กัน') ศัพท์ "พ้องเสียง" ยังอาจใช้กับหน่วยที่ยาวหรือสั้นกว่าคำ เช่น วลี ตัวอักษร หรือกลุ่มตัวอักษรที่ออกเสียงเหมือนกับวลี ตัวอักษร หรือกลุ่มตัวอักษรอื่น

ป้ายภาษาอังกฤษเขียนว่า Trespassers will be shot on site. ('ผู้บุกรุกจะถูกยิงในสถานที่') แทนที่จะเขียนว่า Trespassers will be shot on sight. ('ผู้บุกรุกจะถูกยิงทันทีที่เห็น') ทั้งนี้ คำ site เป็นคำพ้องเสียงของคำ sight

คำพ้องเสียงที่สะกดเหมือนกันถือเป็นทั้งคำพ้องรูป (homograph) และคำพ้องรูปพ้องเสียง (homonym) ด้วย[1]

ตัวอย่างในภาษาไทย แก้

คำพ้องเสียงในภาษาไทยนั้นมีไม่มากนัก เช่น

เสียง รูปเขียนความหมายที่หนึ่ง ความหมายที่หนึ่ง รูปเขียนความหมายที่สอง ความหมายที่สอง
/mān/ มัน 'คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง' มัน 'มีรสอย่างรสกะทิหรืออย่างถั่วลิสงคั่ว'
/kòt/ กด 'ใช้กำลังดันให้ลง' กช 'ดอกบัว'
/kʰâ:/ ค่า 'จำนวนเงินที่เป็นราคาสิ่งของหรือบริการ' ฆ่า 'ทำให้ตาย'
/kʰān/ ครรภ์ 'ท้อง' (ใช้แก่หญิงที่มีลูกอยู่ในท้องของเธอ) คันธ์ 'กลิ่น'
/rót/ รด 'ราดของเหลวไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง' รถ 'ยานที่มีล้อสำหรับเคลื่อนไป'
/hǎ:n/ หาญ 'กล้า' หาร 'แบ่งส่วนเท่า ๆ กัน'
/t͡ɕān/ จันทร์ 'ชื่อวันที่สองของสัปดาห์' จันทน์ 'ชื่อพรรณไม้หอมบางชนิด'
/wān/ วัน 'ระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง' วรรณ 'สี'
/kān/ กัน 'คำต่อท้ายกริยาเพื่อบอกว่า กระทำกริยานั้นร่วมกันตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป' กรรณ 'ใบหู'
/pi/ พี่ 'บุคคลที่เกิดก่อน, เรียกคนที่อายุมากกว่าเรา' ผี้ว์ 'ผิว่า,แม้ว่า'
/rak/ รัก 'ชอบพอ' รักษ์ 'ดูแล, รักษา'

อ้างอิง แก้

  1. ตามความหมายอย่างแคบของคำ homonym กล่าวคือ เป็นคำที่สะกดและออกเสียงเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม homonym ตามความหมายกว้าง ๆ ซึ่งพบบ่อยในบริบทที่ไม่ใช่เรื่องเฉพาะทาง คือ คำที่สะกดหรือออกเสียงเหมือนกัน ตามนิยามนี้ homophone ทั้งหมด (ไม่ว่าจะสะกดเหมือนกันหรือไม่) จะเป็นคำพ้องรูปพ้องเสียง Random House Unabridged Dictionary entry for "homonym" at Dictionary.com