คันดิน หรือ ตลิ่ง (อังกฤษ: levee) หรือทำนบกั้นน้ำ คือลักษณะของความชันของพื้นที่หรือทางกั้นที่สามารถควบคุมระดับน้ำที่จะเอ่อล้นขึ้นมาจากแม่น้ำ หรือชายหาดได้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นมา โดยปกติแล้วมักจะเกิดขึ้นจากดินหรือตะกอนต่างๆ บนพื้นผิวโลก และวางตัวขนานไปกับเส้นทางน้ำหรือตามแนวชายฝั่ง

บริเวณด้านข้างของคันดินที่แม่น้ำซาคราเมนโต ในประเทศสหรัฐอเมริกา

ที่มาของคำ แก้

คำว่า levee หรือ คันดิน นั้น มาจากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษที่เคยใช้ในสหรัฐอเมริกา (เป็นภาษาที่ใช้แพร่หลายในบริเวณตะวันตกตอนกลาง และ บริเวณตอนใต้ในสหรัฐอเมริกา) และถูกนำเข้ามาใช้ในประเทศอังกฤษประมาณปี ค.ศ. 1720

คันดินเทียม แก้

วัตถุประสงค์หลักในการสร้างคันดินเทียมขึ้นมาก็เพื่อป้องกันน้ำท่วมเข้าไปในเขตพื้นที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตามเรายังสามารถจำกัดทิศทางการไหลของแม่น้ำได้ แต่ผลคือน้ำจะไหลเร็วและแรงขึ้น คันดินอาจจะพบได้ตามแนวชายหาด ในส่วนที่สันทรายยังอ่อนตัว อีกทั้งยังสามารถพบได้ตามแนวเส้นทางน้ำ ที่มีไว้สำหรับป้องกันน้ำท่วม หรือพบได้ตามแนวทะเลสาบ รวมถึงที่ราบลุ่ม นอกจากนี้การสร้างคันดินยังมีจุดประสงค์ในด้านอุทกภัย ส่งผลให้เกิดการควบคุมการท่วมของน้ำทางด้านการทหาร หรือการคาดเดาบริเวณพื้นที่น้ำท่วมใกล้เคียงโดยประเมินจากคันดินที่สร้างขึ้น คันดินยังสามารถใช้ในด้านการกำหนดขอบเขตและด้านการป้องกันเขตพื้นที่ทางการทหาร อีกทั้งคันดินประเภทนี้จะพบในลักษณะของกำแพงดินที่เป็นหินแห้งและแข็ง คันดินอาจมีลักษณะที่เป็นกำแพงดินถาวร หรือสิ่งก่อสร้างที่ทำขึ้นเพื่อการป้องกันภาวะน้ำท่วมอย่างฉุกเฉิน (ส่วนใหญ่จะเป็นถุงกระสอบทราย)

ในช่วงแรกๆ ที่มีการปรากฏของคันดินนั้น อาจเป็นไปได้ว่าถูกสร้างขึ้นโดยอารยธรรมอินเดียโบราณในแถบประเทศปากีสถานและทางเหนือของประเทศอินเดีย ประมาณ 2,600 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงที่เริ่มมีการเพาะปลูกของชนเผ่าหะรัปปา อีกทั้งคันดินเหล่านี้ยังถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ 3,000 ปีก่อนในยุคอียิปต์โบราณ บริเวณที่ราบลุ่มแถบแม่น้ำไนล์ ซึ่งมีความยาวมากกว่า 600 ไมล์ (970 กิโลเมตร) โดยเริ่มสร้างจากเมืองอัสวานไปจนถึงบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ซึ่งติดกับแนวชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อารยธรรมเมโสโปเตเมีย และอารยธรรมจีนโบราณก็มีการสร้างคันดินเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อป้องกันน้ำท่วมเช่นเดียวกัน คันดินที่ถูกสร้างขึ้นจะมีความแข็งแรงมาก และต้องมีการวางแผนคำนวณในเชิงของความสูงและความยาวด้วย แต่อย่างไรก็ตามเราพบหลักฐานของคันดินที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันน้ำท่วมตั้งแต่ก่อนยุคการปกครองของราชาสกอร์เปี้ยน ในสมัยก่อนราชวงศ์อียิปต์

คันดินอาจเกิดขึ้นจากกระบวนการทางธรรมชาติได้เช่นกัน ซึ่งเกิดจากการท่วมของน้ำในแม่น้ำเข้ามาในพื้นที่ลุ่ม โดยกระแสน้ำได้พัดพาตะกอนมาสะสมตัวในบริเวณด้านข้างทั้งสองฝั่งของเส้นทางน้ำ ตะกอนที่ถูกพัดพามาจะมีขนาดเล็กเช่น พวกตะกอนทรายแป้ง มาตกสะสมตัวเป็นชั้นๆ และในบริเวณชายหาดก็สามารถเกิดคันดินขึ้นได้ โดยจะเกิดเชื่อมต่อกันหลายคันดิน เนื่องจากกระบวนการทางทะเล เราเรียกว่า สันทราย คันดินจะประกอบไปด้วยหินและตะกอนตกสะสมตัวตามแนวราบเป็นชั้นๆ และอาจถูกปกคลุมด้วยพืชพรรณ

  • การป้องกันน้ำท่วมจากแม่น้ำ
 
คันดินป้องกันน้ำท่วมที่แม่น้ำมิสซิสซิปปี ในรัฐหลุยส์เซียนา เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ.2005

คันดินที่มีชื่อเสียงในด้านการป้องกันน้ำท่วมอยู่ในบริเวณแนวแม่น้ำมิสซิสซิปปี และแม่น้ำซาคราเมนโต ในประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงแม่น้ำโป แม่น้ำไรน์ แม่น้ำเมิซ แม่น้ำลัวร์ และแม่น้ำวิสทูรา การเกิดเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเกิดจากแม่น้ำไรน์ แม่น้ำมาร์ แม่น้ำเมิซ และแม่น้ำสเกลต์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ รวมถึงแม่น้ำดานูบในทวีปยุโรป

คันดินที่แม่น้ำมิสซิสซิปปีนับได้ว่าเป็นคันดินที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่งก็ว่าได้ มีแนวยาวถึง 3,500 ไมล์ (5,600 กิโลเมตร) และได้แผ่ขยายกว้างออกไปประมาณ 1,000 กิโลเมตร ตามแนวแม่น้ำ ซึ่งขยายมาจากเมืองเคปกิราร์โด ที่รัฐมิซซูรี ไปจนถึงบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี คันดินนี้เริ่มมีการสะสมตัวในรัฐหลุยส์เซียนา ในศตวรรษที่ 18 โดยมีส่วนช่วยในการป้องกันอุทกภัยในเมืองนิวออร์ลีนส์ คันดินที่รัฐหลุยส์เซียนาเกิดขึ้นเป็นที่แรกสูงประมาณ 3 ฟุต ( 0.91 เมตร) และครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 50 ไมล์ (80 กิโลเมตร) ตลอดแนวด้านข้างของแม่น้ำ ช่วงกลางศตวรรษที่ 1980 คันดินนี้ได้ขยายแผ่กว้างมีความสูงโดยเฉลี่ย 24 ฟุต (7.3 ฟุต) คันดินที่แม่น้ำมิสซิสซิปปี้บางคันดินอาจสูงเกินกว่า 50 ฟุต ( 15 เมตร ) ซึ่งเป็นคันดินที่มีความยาวต่อเนื่องมากที่สุดในโลก โดยขยายตัวมาจากทางใต้ของ เมืองไพน์บลัฟฬ ในรัฐอาร์คันซอส์ เป็นระยะทางประมาณ 380 ไมล์ (610 กิโลเมตร)

คันดินธรรมชาติ แก้

คันดิน หรือตลิ่ง โดยปกติจะถูกสร้างจากมนุษย์ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติได้ เนื่องจากแม่น้ำพาตะกอนต่างๆ มาตามความแรงและความเร็วของกระแสน้ำ เมื่อเกิดน้ำท่วมเข้ามาในพื้นที่ลุ่ม น้ำจะแผ่ตัวเป็นบริเวณกว้าง และค่อยๆ ไหลแผ่ออกไป จึงสามารถพาตะกอนไปสะสมตัว เวลาผ่านไป ที่ลุ่มบริเวณนั้นจะเกิดการพอกตัวขึ้นเรื่อยๆ บนพื้นที่ที่เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง ท้ายที่สุดจะเกิดเป็นเนินดินขึ้นมา เรียกว่า คันดินธรรมชาติ[1]

โดยปกติแล้ว แม่น้ำที่ไม่เกิดการท่วมมักจะนำแร่ต่างๆ มาสะสมภายในร่องน้ำ ขึ้นอยู่กับความแรงของกระแสน้ำ คันดินธรรมชาติไม่จำเป็นต้องเกิดบนพื้นดิน แต่อาจจะเกิดบริเวณท้องน้ำ รวมถึงรอบๆ ขอบเมืองก็ได้ ซึ่งคันดินที่มีลักษณะเด่นมากเกิดจากแม่น้ำเหลือง (Yellow river) ในประเทศจีน ในบริเวณที่อยู่ติดกับทะเล จึงได้รับอิทธิพลจากการล้ำเข้ามาของน้ำทะเล คันดินธรรมชาติมักจะเกิดขึ้นในบริเวณแม่น้ำคดเคี้ยวต่างๆ ทั่วโลก

ดูเพิ่ม แก้


อ้างอิง แก้

  • Neuendorf,K.K.E.,Mehl,J.P.,Jackson,J.A.2005.Glossary of Geology.Fifth Edition.American Geological Institute.
  • Monroe Jame S.,Wicander Reed and Hazlett Richard.2007.Physical Geology:Exploring the Earth.Overbank area.Sixth edition.USA.467p.
  1. Reading H.G..1996.Sedimentary Environments:Processes,Facies and Stratigraphy.Deposition by running water.Third edition.Department of Earth Sciences,University of Oxford,p.53-55.