คัชรุต (ฮีบรู: כַּשְׁרוּת) เป็นข้อกำหนดการบริโภคและการเตรียมอาหารที่ต้องเป็นไปตามหลักศาสนายูดาห์ อาหารที่ผ่านข้อกำหนดนี้เรียกว่า โคเชอร์ (ยิดดิช: כּשר, "เหมาะสม") คัชรุตมีรายละเอียดมากมายและซับซ้อน แต่มีหลักพื้นฐานดังนี้

อาหารทุกชนิดที่เป็นโคเชอร์สามารถจัดหมวดได้ดังนี้

  • หมวดเนื้อสัตว์ (b'sari หรือ fleishig) ประกอบด้วยเนื้อวัว เนื้อแกะหรือเนื้อกวาง, สัตว์ปีกที่เป็นโคเชอร์ เช่น ไก่ ห่าน เป็ดหรือไก่งวง, ผลพลอยได้จากสัตว์อย่างเจลาติน ทั้งนี้หากเตรียมผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่สัตว์ด้วยอุปกรณ์ที่เคยใช้เตรียมเนื้อสัตว์จะถือว่าผลิตภัณฑ์นั้นอยู่ในหมวดเนื้อสัตว์ (b'chezkat basar)
  • หมวดนม (chalavi หรือ milchig) ประกอบด้วยนมและผลิตภัณฑ์นม เช่น เนย ชีส โยเกิร์ต ทั้งนี้หากเตรียมผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่นมด้วยอุปกรณ์ที่เคยใช้เตรียมนมจะถือว่าผลิตภัณฑ์นั้นอยู่ในหมวดนม (b'chezkat chalav)
  • พาเรเว (pareve) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ทัั้งเนื้อสัตว์และนม เช่น ปลา ไข่ เห็ด ธัญพืช ผักและผลไม้[7] ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะถือเป็นพาเรเวตราบเท่าที่ยังไม่ได้ผสมหรือเตรียมบนอุปกรณ์ที่ใช้เตรียมเนื้อสัตว์หรือนม[8]

ผลผลิตที่เติบโตจากพื้นดินเช่น ธัญพืช ผัก ผลไม้และเห็ดถือเป็นโคเชอร์และรับประทานได้ กระนั้นศาสนายูดาห์มีข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับผลผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เติบโตในดินแดนอิสราเอล เช่น ทศางค์และปีสะบาโตซึ่งจะส่งผลต่อการอนุญาตในการบริโภค[9][10]

หลักพื้นฐานส่วนใหญ่ของคัชรุตมาจากชุดคัมภีร์โทราห์เล่มเลวีนิติและเฉลยธรรมบัญญัติ[11] อย่างไรก็ตามรายละเอียดและหลักปฏิบัติคัชรุตปรากฏอยู่ในโทราห์แบบมุขปาฐะ (Oral Torah) ที่ภายหลังประมวลเป็นคัมภีร์มิชนาห์และทาลมุดก่อนจะขยายความเพิ่มเติมในวรรณกรรมรับบียุคต่อมา แม้ว่าโทราห์ไม่ได้ให้เหตุผลถึงคัชรุต แต่บางส่วนเชื่อว่าเป็นการทดสอบการเชื่อฟัง[12] ขณะที่บางส่วนเสนอว่าเป็นเหตุผลด้านปรัชญาและสุขอนามัย[13][14][15]

มีหน่วยงานจำนวนมากทำหน้าที่รับรองผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิตและร้านอาหารโคเชอร์ตลอดศตวรรษที่ผ่านมา หน่วยงานเหล่านี้จะมอบเครื่องหมายหรือประกาศนียบัตรเรียกว่าเฮชเชอร์ (hechsher) เพื่อรับรองร้านอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่ผ่านเกณฑ์ เครื่องหมายรับรองนี้เป็นประโยชน์ต่อบุคคลหลายกลุ่ม เช่น ผู้เคร่งครัดต่อหลักศาสนา ผู้ที่แพ้ผลิตภัณฑ์นม ผู้เป็นวีกันและผู้ที่ใช้เครื่องหมายรับรองโคเชอร์ในการประเมินส่วนประกอบของอาหารว่ามีเนื้อสัตว์หรือนมหรือไม่

อ้างอิง แก้

  1. Foley, Elizabeth; Coates, Beth (2009). Homework for Grown-ups: Everything You Learnt at School...and Promptly Forgot. New York City, New York, United States: Crown. p. 236. ISBN 9780767932400.
  2. Deuteronomy 12:21
  3. Genesis 9:4, Leviticus 17:10–14, Deuteronomy 12:23–24
  4. "Meliḥah ("salting")". Jewish Encyclopedia. 1906. สืบค้นเมื่อ February 21, 2013.
  5. "What Does Kosher Mean? - section 2.4". koshercertification.org.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-01. สืบค้นเมื่อ 2022-05-08.
  6. "Meat and Milk: Keeping a Kosher Kitchen". Kosher.com. สืบค้นเมื่อ May 8, 2022.
  7. "Kosher 101". MK Kosher. สืบค้นเมื่อ May 8, 2022.
  8. "Kosher Food: Everything You Need to Know". Healthline. December 25, 2017. สืบค้นเมื่อ May 8, 2022.
  9. Blech, Zushe Yosef (2008). Kosher Food Production. Hoboken, New Jersey, United States: John Wiley & Sons. p. 119. ISBN 9780470752647.
  10. Kornbluth, Doron (1999). Jewish Matters: A Pocketbook of Knowledge and Inspiration. Nanuet, New York, United States: Targum/Feldheim. p. 63. ISBN 9781568711881.
  11. "Rules and customs in world religions: Judaism". Britannica. สืบค้นเมื่อ May 8, 2022.
  12. Maimonides, Guide for the Perplexed (ed. M. Friedländer), Part III (chapter 26), New York 1956, p. 311
  13. Maimonides, Guide for the Perplexed (ed. M. Friedländer), Part III (chapter 48), New York 1956, p. 371
  14. Rashbam, commentary to Leviticus 11:3
  15. Sefer ha-Chinuch, commandments 73 and 148

แหล่งข้อมูลอื่น แก้