ความเบื่อหน่าย (อังกฤษ: boredom) เป็นภาวะอารมณ์หนึ่งของมนุษย์ที่รู้สึกขาดกิจกรรม หรือเมื่อมนุษย์รู้สึกไม่สนใจต่อโอกาสที่อยู่รอบตัว ไม่พึงพอใจกับสภาวะที่เป็นอยู่ หรืออยากเปลี่ยนแปลงสภาวะแต่เปลี่ยนไม่ได้ หรือการไม่มีสิ่งเร้าหรือแรงบันดาลใจมากระตุ้น หรือเป็นสภาวะที่ไม่ยินดียินร้ายกับสิ่งใด จึงทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ซึ่งภาวะอารมณ์นี้จะเกิดแต่เพียงช่วงหนึ่ง แต่ก็อาจหายไปได้เอง

จิตวิทยา แก้

ความเบื่อหน่ายซึ่งได้จำกัดความโดย ซี.ดี.ฟิชเชอร์ ในพจน์ของกระบวนการจิตวิทยาส่วนกลางว่า: "สถานะอารมณ์ไม่น่าพึงพอใจอันส่งผลเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งมนุษย์รู้สึกขาดความสนใจและพบความยากลำบากในการเอาใจจดจ่อกับกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน"[1] เอ็ม.อาร์.เลียรี ได้อธิบายว่าความเบื่อหน่ายเป็น "ประสบการณ์เกี่ยวกับอารมณ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการการรับรู้เกี่ยวกับความน่าสนใจ"[2] จิตวิทยาเชิงบวกได้อธิบายว่าความกังวลเป็นการตอบสนองต่อความท้าทายระดับกลางต่อประเด็นที่หนักหนาสาหัสกว่าทักษะที่มีอยู่[3] คำจำกัดความเหล่านี้ทำให้เป็นที่กระจ่างว่าความเบื่อหน่ายมิได้เกิดมาจากขาดการทำกิจกรรม แต่มาจากความไม่สามารถเข้าถึงกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งได้

ความเบื่อหน่ายสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ประเภท ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวข้องกับปัญหาของการรับมือความสนใจ นี่รวมไปถึงเมื่อเราถูกห้ามมิให้ความสนใจในบางสิ่งบางอย่าง เมื่อเราถูกบังคับให้สนใจกับกิจกรรมบางอย่างที่เราไม่ต้องการ หรือเมื่อเราไม่สามารถรักษาระดับความสนใจในกิจกรรมอย่างหนึ่งโดยปราศจากเหตุผล[4] ความโน้มเอียงเบื่อหน่าย (boredom proneness) เป็นความชอบที่จะได้รับประสบการณ์ความเบื่อหน่ายทุกประเภท ซึ่งประเมินได้โดยมาตรวัดความโน้มเอียงเบื่อหน่าย (Boredom Proneness Scale)[5]

จากคำจำกัดความที่ระบุไว้ข้างต้น การวิจัยสมัยใหม่ค้นพบว่าความโน้มเอียงเบื่อหน่ายได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความล้มเหลวของการให้ความสนใจอย่างชัดเจน[6] ทั้งความเบื่อหน่ายและความโน้มเอียงเบื่อหน่ายมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเศร้าใจและอาการเศร้าทั้งทางหลักวิชาและตามหลักการสังเกต[7][8][9] ถึงแม้ว่าความเบื่อหน่ายมักจะถูกมองว่าเป็นสิ่งกวนใจที่ไร้สาระและไม่รุนแรงนัก ความโน้มเอียงไปในทางเบื่อหน่ายได้เชื่อมโยงเข้ากับปัญหาจิตวิทยา กายภาพ การศึกษาและสังคมอย่างกว้างขวาง

อ้างอิง แก้

  1. Fisher, C. D. (). Boredom at work: A neglected concept. Human Relations, 46, 395–417, p. 396.
  2. Leary, M. R., Rogers, P. A., Canfield, R. W., & Coe, C. (1986). Boredom in interpersonal encounters: Antecedents and social implications. Journal of Personality and Social Psychology, 51, 968–975, p. 968.
  3. Csikszentmihalyi, M., Finding Flow, 1997
  4. Cheyne, J. A., Carriere, J. S. A., & Smilek, D. (2006). Absent-mindedness: Lapses in conscious awareness and everyday cognitive failures. Consciousness and Cognition, 15, 578-592.
  5. Farmer, R. & Sundberg, N. D. (1986). Boredom proneness: The development and correlates of a new scale. Journal of Personality Assessment, 50, 4–17.
  6. Fisher, C. D. (1993). Boredom at work: A neglected concept. ‘’Human Relations, 46’’, 395–417
  7. Carriere, J. S. A., Cheyne, J. A., & Smilek, D. (in press). Everyday Attention Lapses and Memory Failures: The Affective Consequences of Mindlessness. Consciousness and Cognition.
  8. Sawin, D. A. & Scerbo, M. W. (1995). Effects of instruction type and boredom proneness in vigilance: Implications for boredom and workload. Human Factors, 37, 752–765.
  9. Vodanovich, S. J., Verner, K. M., & Gilbride, T. V. (1991). Boredom proneness: Its relationship to positive and negative affect. Psychological Reports, 69, 1139–1146.