ความสุขมวลรวมประชาชาติ

วลีความสุขมวลรวมประชาชาติ (อังกฤษ: Gross National Happiness, ย่อ: GNH) เป็นวลีที่สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก พระมหากษัตริย์ภูฏานพระองค์ที่สี่ ทรงประดิษฐ์ในปี 2515 เป็นสัญลักษณ์ของการผูกพันการสร้างเศรษฐกิจซึ่งจะตอบสนองวัฒนธรรมภูฏานโดยยึดค่านิยมจิตวิญญาณแบบศาสนาพุทธแทนการพัฒนาเชิงวัตถุแบบตะวันตกที่วัดโดยผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP)

ข้อวิจารณ์ แก้

นักวิจารณ์ในประเทศแย้งว่าการเน้นการทดลองกับ GNH ของภูฏานเบี่ยงเบนความสนใจของโลกจากการปราบปรามของรัฐบาลซึ่งชนกลุ่มน้อยใหญ่สุดของประเทศ ชาวโลตชัมปา (Lhotshampa) ฮินดู ซึ่งเดิมประกอบเป็นประชากรหนึ่งในหกของภูฏาน

จากแง่มุมเศรษฐกิจ นักวิจารณ์แถลงว่า เนื่องจาก GNH ขึ้นอยู่กับกลุ่มการตัดสินอัตวิสัยเกี่ยวกับความกินอยู่ดี รัฐบาลอาจสามารถนิยาม GNH ในทางที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของตนได้ ศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์ เดียร์เดร แม็กคลอสกี (Deirdre McCloskey) วิจารณ์การวัดเช่นนี้ว่าไม่เป็นวิทยาศาสตร์ โดยว่า "การบันทึกร้อยละของผู้ที่กล่าวว่าพวกเขามีความสุขจะบอกคุณ... [แค่]ว่าวิธีที่บุคคลใช้คำ" โดยให้แนวเทียบว่าสังคมไม่สามารถ "ยึดคุณสมบัติกายภาพโดยถามบุคคลว่าวันนี้ 'ร้อน พอดีหรือเย็น'" แม็กคลอสกียังวิจารณ์ลัทธิต่อต้านบริโภคนิยมของขบวนการเพื่อวางนโยบายรัฐบาลบนความสุข โดยประเมินว่า "วัฒนธรรมสูงแท้จริงแล้วรุ่งเรืองในสมัยที่มีการค้าคึกคักเสมอ ตั้งแต่กรีซศตวรรษที่ห้า ผ่านราชวงศ์ซ่งและอิตาลีสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา จนถึงยุคทองของดัตช์"[1]

นักวิจารณ์อื่นกล่วาว่า การเปรียบเทียบความเป็นอยู่ดีระรหว่างประเทศจะยากในแบบจำลองนี้ ผู้สนับสนุนว่า แต่ละประเทศสามารถนิยามการวัด GNH ได้ตามเลือก และการเปรียบเทียบระหว่างประเทศตามเวลาจะมีความสมเหตุสมผล GDP ให้มาตราระหว่างประเทศที่สะดวก การวิจัยแสดงว่าตัววัดความเป็นอยู่ดีของสังคมและปัจเจกบุคคลมีความแตกต่างกันในแต่ละวัฒนธรรมอย่างมาก บุคคลโดยทั่วไปรายงานความพึงพอใจชีวิตอัตวิสัยสูงกว่าหากพวกเขามีความสัมพันธ์ทางสังคมเข้มแข็งและบ่อย อาศัยอยู่ในระบบนิเวศสุขภาพดี ได้รับธรรมาภิบาล ฯลฯ กระนั้น ก็ยังเป็นจริงว่าการพึ่งพาการวัด GNH ของประเทศจะทำให้การเปรียบเทียบความเป็นอยู่ดีโดยสัมพัทธ์เป็นปัญหามากขึ้น เนื่องจากไม่มีและไม่คาดว่าจะมีมาตราร่วมที่ "สะดวก" เหมือน GDP[2][3] แต่เป้าหมายที่แถลงของภูฏานคือเพื่อเพิ่มสิ่งที่มองว่าเป็น GNH ให้สูงสุด โดยไม่เปรียบเทียบตัวเลขกับประเทศอื่น

GNH มีการใช้อย่างเป็นทางการเฉพาะในภูฏาน ที่ซึ่งคณะกรรมการความสุขมวลรวมประชาชาติได้รับหน้าที่ให้ทบทวนการตัดสินใจนโยบายและการจัดสรรทรัพยากร[4] ในปี 2556 ด้วยรัฐบาลใหม่ ประเทศภูฏานหันความสนใจจากการเผยแพร่ GNH ทั่วโลกไปเป็นความเป็นอยู่ดีของประชาชนในภูฏาน[5] การหันนี้ถูกบางคนตีความว่าเป็นการสละ GNH โดยหันไปสนับสนุนการริเริ่มพัฒนาที่เป็นมาตรฐานมากขึ้น[6]

อ้างอิง แก้

  1. McCloskey, Deirdre N. (28 June 2012). "Happyism: The Creepy New Economics of Pleasure". The New Republic: 16–23. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ le.ac.uk
  3. http://psycnet.apa.org/journals/psp/69/5/851/ Factors Predicting the Subjective Well-Being of Nations
  4. Sonam. "Gross National Happiness Commission - The Planning Commission of Bhutan, Development for Happiness". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-30. สืบค้นเมื่อ 23 October 2014.
  5. "Bhutan's New Prime Minister Says Happiness Isn't Everything". NPR.org. 3 August 2013. สืบค้นเมื่อ 23 October 2014.
  6. http://www.nytimes.com/2013/10/05/world/asia/index-of-happiness-bhutans-new-leader-prefers-more-concrete-goals.html